สัญญาณเตือน “โรคเบาหวาน” รู้สึกมดไต่ที่ปลายนิ้ว-แผลหายช้า
รู้ทันโรคเบาหวานด้วย 9 สัญญาณเตือน พร้อมรับมือและป้องกันโรค
เบาหวาน โรคที่ทุกคนรู้จักแต่หย่อนยานเรื่องการรับมือ โรคดังกล่าวหากเป็นแล้วมีความบอบบางและอาจเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่สามารถควบคุมอาจป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคไต จนต้องฟอกเลือด เป็นแผลติดเชื้อเสี่ยงถูกตัดขา แม้กระทั่งหากป่วยเป็นโควิดน้ำตาลในเลือดสูงก็อาจป่วยหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่หากเรารู้ถึงสัญญาณเตือนภัยเหล่านี้อาจช่วยให้คุณรู้ทันโรคและควบคุมมันไว้ได้ก่อน
ผู้ป่วยเบาหวาน กับการรับประทานอาหารในหน้าร้อน
ข้อควรรู้เมื่อเกิด "แผลในผู้ป่วยเบาหวาน" เหตุผลที่รักษายากเสี่ยงลุกลาม
9 สัญญาณเตือนโรคเบาหวาน- กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อยกว่าปกติ
- ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หรือปัสสาวะปริมาณมากกว่าปกติ
- หิวบ่อย กินอาหารมากกว่าเดิม
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- มีแผลและแผลหายช้ากว่าปกติ
- ชา ปวดแสบ ปวดร้อน หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ที่ปลายมือปลายเท้า
- ผิวหนังแห้ง คัน
สัญญาณเตือน! หลอดเลือดสมองตีบ รู้ก่อนอัมพฤกษ์อัมพาต
หากเข้าข่าย อาการหรือมีเกินครึ่งให้พบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอีกครั้ง ทั้งนี้การดูแลตัวเองเป็นเรื่องสำคัญให้ห่างไกลโรคโดยการคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนและเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน โดยการลดปริมาณพลังงานที่กินในแต่ละวัน แต่ยังต้องรับประทานอาหารให้ครบหมวดหมู่และสมดุล โดยให้ลดพลังงานลง 500 – 1,000 แคลอรี่ต่อวัน เช่น เลี่ยงอาหารทอดเปลี่ยนเป็นอาหารนึ่งและต้มแทนเพื่อลดการบริโภคน้ำมัน- เพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ หรือเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
- เน้นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ โปรตีนจากพืช เช่น ปลา อกไก่ เต้าหู้ ฯลฯ สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน ได้
- เน้นรับประทานคาร์โบไฮเดรตจากผัก ธัญพืช ถั่ว ผลไม้ และนมจืดไขมันต่ำเป็นประจำบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง เพิ่มการรับประทานผัก
- หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบลดหรือจำกัดอาหารแปรรูป
- ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลเทียม เพราะแม้น้ำตาลเทียมจะสามารถคุมน้ำตาลได้จริง แต่จะทำให้ติดหวานและอยากกินของหวานเท่าเดิมหรือมากขึ้น
อย่างไรก็ตามควรตรวจร่ายกายอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อรู้ทันโรคต่างๆด้วย
ข้อมูลสุขภาพ : โรงพยาบาลกรุงเทพ
มะระขี้นก-ฝังเข็ม ทางเลือกเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน
ข้อควรรู้เมื่อเกิด "แผลในผู้ป่วยเบาหวาน" เหตุผลที่รักษายากเสี่ยงลุกลาม