ข้อควรรู้เมื่อเกิด "แผลในผู้ป่วยเบาหวาน" เหตุผลที่รักษายากเสี่ยงลุกลาม
“เบาหวาน”เป็นโรคที่มีความเรื้อรังและยากต่อการรักษาเสี่ยงต่อภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย อีกทั้งต้องระวังเรื่องแผล เพราะอาจเกิดการติดเชื้อที่ลุกลามได้ง่ายกว่าปกติ
แผลของผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นหายยากกว่าปกติ เพราะไขมันและน้ำตาลที่ไม่ถูกย่อยสลายจะไปจับเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบและแข็งกระทั่งเกิดการอุดตัน อาจทำให้เกิดแผลขึ้นเองโดยเฉพาะที่เท้าเนื่องจากขาดเนื้อเยื่อไปเลี้ยง ซึ่งหากเป็นแผลก็จะหายยากเพราะหลอดเลือดตีบ ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง หรือเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่พอ ทำให้อาจเสียขาและเสียชีวิตได้
ประเภทแผลเบาหวาน แบ่งเป็น 3 ประเภท
- แผลเส้นประสาทเสื่อม
- แผลติดเชื้อ
เบาหวานลงไต แนะนำอาหารจำกัดโปรตีนชะลอการเสื่อม
ไตวายเพราะเบาหวาน เช็กปัจจัยเสี่ยง แนะวิธีชะลอการเกิดภาวะเสื่อม
- แผลขาดเลือด นั้นหายยากและอันตรายที่สุด ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดแดงในส่วนต่างๆของขาอุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่พอ มักเกิดบริเวณนิ้วเท้าและลุกลามสูงขึ้นมาเรื่อยๆ โดยแผลจะแห้ง ก้นแผลซีด ยิ่งหากมีการติดเชื้อในแผลขาดเลือด อาจถึงกับต้องตัดขา
ทั้งนี้ หากเป็นแผลจากของมีคมหรือรอยขีดข่วน ควรล้างแผลให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อเช่นเบตาดีนเจือจาง แล้วปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่แห้งและผ่านการฆ่าเชื้อ หากแผลบวมแดงและมีน้ำหนอง ควรรีบพบแพทย์ ซึ่งการรักษาของแพทย์นั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผล ดังนี้
- ทำแผล แพทย์จะเปิดแผลให้กว้างเพื่อระบายหนองออก ตัดเนื้อที่เน่าหรือตายออก ทำแผล 2-4 ครั้งต่อวัน และรักษาแผลให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
- ใช้ยาปฏิชีวนะ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาจากลักษณะและความรุนแรงของแผล
- เลี่ยงการใช้อวัยวะที่เป็นแผล หากเป็นที่เท้าควรเดินเท่าที่จำเป็นหรือสวมรองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณแผล
รู้จัก CGM ตัวช่วยผู้ป่วยเบาหวานวัดระดับค่าน้ำตาลได้แบบเรียลไทม์
- ผ่าตัดหลอดเลือด จะทำในกรณีที่แผลนั้นมีการขาดเลือดเนื่องจากมีเส้นเลือดตีบแข็งแต่การขาดเลือดที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดฝอยนั้นไม่สามารถผ่าตัดแก้ไขได้
- ผ่าตัดเท้าทิ้ง แพทย์จะทำเมื่อไม่สามารถรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
จะเห็นได้ว่า เรื่องแผลเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานอย่างมาก ดังนั้น ควรดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดให้ห่างไกลโรคนี้
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
ผู้ป่วยเบาหวาน กับการรับประทานอาหารในหน้าร้อน
“น้ำอัดลม” ดื่มเกิดลิมิตเสี่ยงโรครุมเร้า ร่างพัง อัตราหัวใจล้มเหลวเพิ่ม 23%