ไตวายเพราะเบาหวาน เช็กปัจจัยเสี่ยง แนะวิธีชะลอการเกิดภาวะเสื่อม
ผู้ป่วยเบาหวานจะระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากสูงอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ไตทำงานหนักจนเกิดการเสื่อมสภาพ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย
ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่งในการดำรงชีวิต มีหน้าที่ในการกรองของเสียออกจากเลือดและขับถ่ายของเสียในรูปของปัสสาวะ โรคเบาหวานเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ไตมีการทำงานหนัก ในที่สุดก็จะมีการสูญเสียสารอาหาร และโปรตีนในปัสสาวะ เป็นเหตุให้ไตเสื่อมหรือไตวาย
เบาหวานกับโรคไตสัมพันธ์กันอย่างไร
ไตเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว มี 2 ข้าง อยู่ทางด้านหลังนอกช่องท้อง ผู้เป็นเบาหวานทำให้ไตเสื่อมได้จาก 2 สาเหตุคือ
อาหารชะลอ "ไตเสื่อม" ควบคุมอาการ-ดูแลไม่ให้ทำงานหนักไป
ปรับเกณฑ์ค่ารักษาพยาบาลตามจริง ผู้ป่วยใน "ไตวายเฉียบพลัน"
1.การเป็นเบาหวานทำให้เซลล์ต่างๆ รวมทั้งเซลล์ของไตขาดพลังงานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เซลล์เสื่อมสภาพการทำงานต่างๆ ก็ทำได้ไม่ดีดังเดิม ทำให้กลไกของไตเสื่อมไปด้วย
2.การที่ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ไตทำงานหนักจนเกิดการเสื่อมสภาพ เพราะไตมีหน้าที่กรองสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้คงไว้ในร่างกายให้มากที่สุด และน้ำตาลก็เป็นสารอาหารที่ดี ดังนั้นไตจึงต้องทำงานหนักตลอดเวลาหากน้ำตาลในเลือดสูง
ทั้งนี้ ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไตประมาณ 1 ล้านหน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้วยตัวกรอง และหลอดไต ในแต่ละวันมีเลือดไหลเวียนผ่านไตประมาณ 180 ลิตร และหน่วยไตจะกรองและคัดหลั่งสารต่างๆ และขับออกมาเป็นปัสสาวะวันละประมาณ 1 ลิตร เราจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยไตเพียงข้างเดียว
รวมยารักษาโควิด-19 เปิดเกณฑ์ ไขข้อสงสัยทำไมแต่ละคนได้รับไม่เหมือนกัน
ติดโควิด-19 มีอีกเรื่องน่าห่วง เสี่ยงป่วย "เบาหวาน" ตามมา
ความผิดปกติในการทำงานของไตทั้ง 2 ข้าง โดยสามารถแบ่งเป็น 2 แบบ
1.ไตวายเฉียบพลัน
เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อแก้ไขที่ต้นเหตุได้อาการนี้ก็หายไปได้ สาเหตุเกิดจากภาวะที่เลือด หรือสารน้ำไปเลี้ยงไตลดลง การได้รับยา หรือสารพิษที่เป็นพิษต่อไต
2.ไตวายเรื้อรัง
ถึงแม้จะทำการแก้ไขที่ต้นเหตุแล้วก็จะยังมีการเสื่อมของไตมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนนำไปสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด โดยสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน, การอักเสบเรื้อรังของตัวกรองของไต หรือหลอดไต, โรคไตจากความดันโลหิตสูง, การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ, โรคถุงน้ำโป่งพองในไตแต่กำเนิด, โรคเกาต์ เป็นต้น
อาการของไตเสื่อม
อาการของไตเสื่อม ภาวะไตเสื่อมในระยะต้นๆ จะไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่เมื่อสารพิษเหล่านี้สะสมมากๆเข้า ก็จะทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น ดังนี้
- คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เนื่องจากสารพิษสะสมในร่างกายไม่สามารถขับถ่ายออกจากร่างกายได้
- อ่อนเพลีย เป็นผลจากภาวะซีด เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง รวมทั้งสารพิษที่สะสมในร่างกาย จะกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้เพียงพอ นอกจากนี้ เมื่อไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ก็จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียมากยิ่งขึ้นอีก
- บวม เป็นผลจากมีการสูญเสียไข่ขาว หรืออัลบูมินในปัสสาวะ ทำให้อัลบูมินในเลือดลดต่ำลง นอกจากนี้ภาวะไตเสื่อมในระยะสุดท้าย ทำให้ไม่สามารถขับน้ำและเกลือออกจากร่างกายได้ เกิดภาวะน้ำและเกลือคั่งในร่างกาย
- ซึม เป็นผลจากสารพิษที่สะสมในร่างกาย จะกดการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะสมอง
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นในผู้เป็นเบาหวาน
1.ภาวะความดันโลหิตสูง ที่ไม่ได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด จะส่งผลให้ภาวะไตเสื่อมเกิดรวดเร็วยิ่งขึ้น
2.การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ คนที่เป็นเบาหวาน จะมีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะง่ายกว่าปกติ เนื่องจากระบบประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายเสื่อม ทำให้มีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นแหล่งที่เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ ระดับน้ำตาลที่สูงในผู้เป็นเบาหวาน จะกดการทำงานของภูมิต้านทานการติดเชื้อของร่างกาย
3.ภาวะร่วมอื่นๆ เนื่องจากภาวะไตเสื่อมในโรคเบาหวานเป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดฝอยในไต
ดังนั้นภาวะอื่นๆ ที่มีผลต่อเส้นเลือด ควรได้รับการควบคุมคู่กันไป ได้แก่ การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง การงดการสูบบุหรี่
รู้ทัน “โรคต้อ” เช็กปัจจัยเสี่ยง-วิธีการรักษา ก่อนสูญเสียการมองเห็น
"ตับ" ไม่ทำงานจะเกิดอะไรขึ้น เช็กสาเหตุทำร้ายอวัยวะก่อนสายเกินแก้
การป้องกัน และชะลอการเกิดภาวะไตเสื่อมในผู้เป็นเบาหวาน
- การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
- ควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ตรวจอัลบูมิน หรือไข่ขาวในปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจการทำงานของไตจากเลือดเป็นระยะ
- ในกรณีที่ไตเริ่มเสื่อม การทำงานลง ต้องจำกัดการรับประทานอาหารเค็ม คนที่ไตเสื่อมมากจนมีของเสียคั่งในร่างกาย อาจต้องจำกัดอาหารที่มีโปรตีนสูง
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน