รู้ทัน “โรคต้อ” เช็กปัจจัยเสี่ยง-วิธีการรักษา ก่อนสูญเสียการมองเห็น
เปิดข้อมูล 4 “โรคต้อ” ปัญหาสายตาที่ไม่ควรมองข้าม เช็กอาการ ปัจจัยเสี่ยง แนวทางการรักษา ก่อนสูญเสียการมองเห็น
เมื่ออายุมากขึ้น การเสื่อมของดวงตาถือเป็นเรื่องปกติธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน หรือสภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว ก็สามารถส่งผลเป็นปัจจัยสำคัญเร่งให้ดวงตาเสื่อมก่อนเวลาได้
“โรคต้อ” ถือเป็นกลุ่มโรคตาที่พบได้บ่อย เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลต่อประสิทธิการมองเห็น และอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และจากปัจจัยภายนอกเป็นตัวกระตุ้น
“โรคตาในผู้สูงอายุ” ความเสื่อมที่คุณต้องเตรียมรับมือ
แสงแดดทำร้าย "ดวงตา" มากกว่าที่คิด เลือกแว่นให้ถูกวิธี หนี UV ตัวร้าย
โดยมีลักษณะอาการ สาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของโรคต้อนั้น ๆ
สำหรับโรคต้อแต่ละชนิด มีอาการ และสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันไปอย่างไรนั้น ทีมข่าวนิวมีเดียพีพีทีวี ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
รับมือ 5 โรคที่มากับอากาศร้อน แดดแรงแค่ไหนก็สุข
รู้ทัน “โรคลมพิษ” เกิดจากอะไร รักษา และป้องกันอย่างไร
ต้อลม
ต้อลม ถือเป็นของโรคต้อชนิดที่ไม่มีความอันตรายรุนแรงมากนัก เกิดจาก ฝุ่นละออง ควัน ความร้อน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ โดยมีลักษณะอาการเยื่อบุตาแดง มีการแสบเคืองตา น้ำตาไหล สามารถดูแลรักษาอาการดังกล่าวได้ดังนี้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หยอดน้ำตาเทียม ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดวงตา
- แนะนำสวมแว่นตาป้องกันเมื่อต้องออกไปในพื้นที่สาธารณะที่มีฝุ่น หรือลมแรง
ต้อเนื้อ
ต้อเนื้อ คือ ภาวะที่มีเนื้อหนาเกิดขึ้นมาบริเวณตา ทั้งหัวตา และหางตา โดยต้อเนื้อนี้จะค่อย ๆ ลุกลามเข้าตาดำ และปิดรูม่านตา ทำให้ปิดบังการมองเห็น และทำให้เกิดตามัว โดยมีปัจจัยสำคัญกระตุ้นให้เกิดต้อชนิดนี้ คือ การที่สายตาสัมผัสกับ ฝุ่น ควัน ลมแรง การทำงานกลางแจ้งที่มีอากาศร้อนจัด สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดลอกออก ทั้งนี้หากทำการรักษาไปแล้วผู้ป่วยยังคงอยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบเดิม ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้
ต้อกระจก
สาเหตุเกิดได้จากหลายอย่าง เช่น การได้รับแรงกระแทกรุนแรง จากโรคตาเสื่อมบางชนิด จากโรคทางร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน หรือเกิดจากความเสื่อมตามธรรมชาติเมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้น โดยเลนส์ตาจะเริ่มขุ่น ไม่ใสเหมือนเดิม ซึ่งโรคต้อกระจกในระยะแรกไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่หากประสิทธิภาพการมองเห็นลดลงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ อาจต้องพิจาณาการผ่าตัดทำการรักษา
ต้อหิน
ต้อหิน สามารถพบได้มากในช่วงอายุ 40 ปี ขึ้นไป เนื่องจากความดันลูกตาที่มีค่าสูงขึ้น จากค่าความดันปกติที่ 20 มิลลิเมตร/ปรอท เพิ่มขึ้นสูงอย่างช้า ๆ จาก 20 มิลลิเมตร/ปรอท เป็น 30 – 40 มิลลิเมตร/ปรอท ทำให้กดประสาทตาจนฝ่อไปจนกลายเป็นต้อหินในที่สุด โดยต้อหินมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. ชนิดเฉียบพลัน ความดันลูกตาจะสูงขึ้นอย่างกระทันหัน ทำให้มีอาการตาบวม ปวดตามาก เยื่อบุตาแดง การมองเห็นพร่าเลือน ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์ภายในระยะเวลา 6 -12 ชั่วโมง เพื่อจักษุแพทย์ทำการรักษาโดยการหยอดตาลดความดัน หรือพิจารณาการทำเลเซอร์ เพื่อทำให้สายตากลับสู่สภาวะปกติดังเดิม และหากเข้ารับการรักษาช้า จะไม่สามารถกู้สายตาให้กลับมาเป็นปกติได้
2. ชนิดเรื้อรัง ความดันตาจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัว เนื่องจากไม่มีอาการแสดงจากภายนอกหรือไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ ความดันลูกตาที่ค่อย ๆ สูงขึ้นจาก 20 มิลลิเมตร/ปรอท เป็น 30 – 40 มิลลิเมตร/ปรอท อย่างช้า ๆ ใช้เวลาหลายปี จะกดประสาทตาส่วนที่อยู่รอบนอก ทำให้ลานสายตาเสีย
ส่งผลต่อประสิทธิภาพการมองเห็นที่แคบลง สามารถสังเกตความผิดปกติได้ชัดเจนในช่วงระยะเวลากลางคืน ซึ่งผู้ที่มีปัญหาสายตาอาจเดินชนสิ่งกีดขวางโดยไม่ตั้งใจ หากปล่อยอาการทิ้งไว้นานขึ้นสายตาส่วนกลางจะดับสนิท ซึ่งหากมาพบจักษุแพทย์ในระยะนี้ ก็ไม่สามารถแก้ไขหรือฟื้นฟูประสาทตาให้กลับมาปกติได้ ผู้ป่วยจะสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
ดังนั้นการตรวจสุขภาพดวงตา ถือเป็นเรื่องดี ที่ควรใส่ใจให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการตรวจวัดความดันลูกตา ที่ควรได้รับการตรวจปีละ 1 ครั้ง ซึ่งค่าความดันลูกตานั้น จะเป็นตัวบ่งชี้ความผิดปกติของดวงตา ช่วยวินิจฉัยจำแนกแยกโรคได้ โดยเฉพาะ โรคต้อ ซึ่งหากทราบความผิดปกติได้รวดเร็ว หรือในระยะแรกเริ่ม ก็จะสามารถวางแผนการดูแลรักษาได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
เช็กอาการ “โรคกระดูกคอเสื่อม” รักษาช้า เสี่ยงพิการ
ระวัง! "โรคต้อลมต้อเนื้อ" หยุดพฤติกรรมเสี่ยงเป็นแล้วหายขาดยาก