โควิด19 ติดรอบ 2 ได้ จากต่างสายพันธุ์ – ภูมิตกหลังติดเชื้อรอบแรก 3-6 เดือน
ใกล้ช่วงเทศกาล อย่าคิดว่า ติดโควิด19 แล้ว จะไม่ติดอีกรอบ 2 หรือ 3 ตามมา เพราะสามารถติดได้ในเชื้อต่างสายพันธุ์ เช็กวิธีสังเกตอาการและหากติดแล้ว ให้ยึดหลัก DMH เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อ
จากข้อมูลพบว่า สามารถติดโควิดรอบ 2 ได้ โดยส่วนมากการติดโควิดซ้ำจะเกิดจากการติดเชื้อจากโควิดสายพันธุ์ที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน เช่น ผู้ป่วยที่หายจากเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า มีโอกาสติดโควิดรอบ 2 เป็นสายพันธุ์โอมิครอน เช่นเดียวกับโอมิครอนก็มีโอกาสติดรอบ 2 จากสายพันธุ์ลูกหลานโอมิครอนได้ และพบว่า โควิดสายพันธุ์โอมิครอน พบว่ามีโอกาสติดโควิดรอบ2 มากถึง 10-20 % ภายใน 1-2 เดือนหลังหายจากเชื้อที่ได้รับในการติดโควิด- 19 รอบแรก
อัปเดต! จุดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ฟรี! ตลอดเดือนธันวาคม 2565
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ไทยติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 702 เสียชีวิตวันละ 10 คน
เนื่องจากภูมิต้านทานในร่างกายตก จนทำให้มีโอกาสติดเชื้อเทียบเท่าผู้ที่ไม่เคยติดโควิด-19 มาก่อน
ผลการวิจัยจาก Imperial College London ชี้ว่าเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน มีโอกาสติดโควิดรอบสองสูงกว่าเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าสูงถึง 4-6 เท่า เท่ากับว่าโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน มีโอกาสติดโควิดรอบ 2 สูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ในปัจจุบัน
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดโควิดรอบ 2
- ช่วงภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเป็นกรณี ช่วงหลังติดโควิดรอบแรกแล้วเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง พบว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว หรือภูมิไม่ได้ขึ้นเยอะตั้งแต่รอบแรกที่ติด ก็ทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อซ้ำได้
- เชื้อโควิดคนละสายพันธุ์ หากการติดโควิดรอบสองเป็นเชื้อคนละสายพันธุ์กันกับการติดเชื้อในครั้งแรก ภูมิคุ้มกันเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับมาจากการติดเชื้อครั้งแรก อาจป้องกันได้ไม่ดีนัก อย่างในผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอน ต่อมาอาจติดโควิดรอบ 2 ได้เพราะภูมิคุ้มกันในการต้าน โอมิครอน อาจต้านสายพันธุ์ย่อย BA.2 ได้ไม่ดีนัก
- ลดมาตรการป้องกันตัวเอง อาทิ การไม่สวมหน้ากาอนามัยที่ที่สาธารณะ อยู่ในพื้นที่แออัดไม่ระบายอากาศ ไม่หมั่นล้างมือ ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำ
ติดโควิดรอบแรกภูมิอยู่กี่เดือน ?
ร่างกายจะได้รับภูมิต้านทานหลังจากติดโควิดรอบแรก แต่โดยปกติแล้ว ระดับภูมิที่ได้มานั้นจะค่อยๆ ลดลงในระยะเวลา 3-6 เดือน กลับมาภูมิคุ้มกันเทียบเท่ากับผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อโควิด19 จึงเป็นระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำเกินกว่าที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้
กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงติดโควิดรอบ 2
- ผู้ที่ผ่านการติดเชื้อรอบแรกมาแล้ว 3-6 เดือน ภูมิต้านทานลดลงเท่าผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ
- ผู้ที่ลดมาตรการการป้องกันตัวเอง
- ยังไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่ต้องล้างไต ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยากดภูมิ ผู้ป่วย HIV (ที่มี CD4 ต่ำกว่า 200 / ผู้ป่วยขาดยา)
ทั้งนี้พบว่า อาการโควิดรอบใหม่จะรุนแรงน้อยกว่าการติดโควิดในรอบแรก เพราะร่างกายจะได้ภูมิต้านทานในระดับหนึ่งจากการติดเชื้อในครั้งแรก ทำให้เมื่อติดเชื้อซ้ำอาการจะลดลงกว่าตอนที่ติดเชื้อในครั้งแรก อย่างไรก็ตาม แม้การติดโควิดรอบ 2 จะอาการไม่รุนแรงเท่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในครั้งแรก แต่ก็ต้องพึงระวังผลกระทบที่จะส่งต่อร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ อาจจะส่งผลเสียต่ออวัยวะในร่างกาย เช่น
- ไวรัสจะไปทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายอักเสบ
- เสี่ยงทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์สมอง เซลล์ประสาท ถุงลมปอด หรืออวัยวะอื่นๆ
จึงควรระมัดระวังตัวไม่ให้ติดโควิด-19 จะส่งผลดีต่อร่างกายของเราที่สุด ซึ่งการรักษารักษามาตราการดูแลตัวเองสูงสุดยังจำเป็น เช่นเดียวกับการ ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกัน ลดภาวะแทรกซ้อน ต่างๆ
วิธีรักษาการติดโควิดรอบสอง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับเมื่อตอนที่ติดโควิดรอบแรก โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- หากพบเชื้อเป็นบวก ให้ติดต่อ 1330 กด 14 สายด่วน สปสช. หรือแอดไลน์ สปสช. @nhno
- หากประเมินว่าอาการรุนแรง ให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
- หากประเมินว่าอาการไม่รุนแรง ให้ Home Isolation
- ทำการกักตัว ในห้องแยกจากสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ
- ประเมินอาการผ่านระบบ telemedicine โดยบุคคลากรทางการแพทย์ทุกวัน
- สังเกตอาการ เช่น มีผื่นแดงโควิดไหม มีอาการหอบเหนื่อยง่ายหรือไม่ หากมีอาการรุนแรงควรรีบพบแพทย์
- จัดให้ห้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก
- หากใช้ห้องร่วมกับผู้อื่น ให้จัดเตียงห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร แยกของใช้ส่วนตัว สวมหน้ากาอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
กรมวิทย์ฯ ยันชุดตรวจ ATK สามารถตรวจสอบหาโควิดได้ปกติแม้กลายพันธุ์
อย่างไรก็ตาม ร่างกายของผู้ที่ติดโควิดรอบ 2 อาจเจอกับภาวะลองโควิด ที่พบได้ถึง 30-50% ของผู้ป่วยที่หายจากโควิดแล้ว เช่น มีอาการไอเรื้อรัง ลืมง่าย ลิ้นไม่ได้รับรส จมูกไม่ได้กลื่น ผมร่วง นอนไม่หลับ หรืออาการซึมเศร้า ซึ่งควรรับการรักษาจากแพทย์โดยตรง
ด้านกระทรวงสาธารสุข ได้ระบุว่า เผย ติดโควิดไม่ว่าจะรอบแรกหรือรอบ 2 สามารถ รักษาตามอาการ หากอาการเล็กน้อยยังแนะนำแยกตัว 5 วัน ยึด DMH 100% เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายเชื้อ ควรพบแพทย์หากมีอาการรุนแรงขึ้น อาทิ
- วัดไข้ได้ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมงใน 1 วัน
- วัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94%
- มีภาวะแทรกซ้อนหรือการกำเริบของโรคประจำตัว
- มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง
- มีภาวะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
- ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการซึม กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำจากอุจจาระร่วงหรือชักจากไข้สูง เป็นต้น
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด19
- หากไม่มีอาการ จะรักษาแบบผู้ป่วยนอกไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ให้ปฏิบัติตาม DMH อย่างเคร่งครัด 5 วัน
- กรณีมีอาการเล็กน้อย หรือเอกซเรย์ปอดปกติ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโรคร่วมที่สำคัญ ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรหรือฟาวิพิราเวียร์ตามดุลยพินิจของแพทย์ ปฏิบัติตาม DMH เคร่งครัด 5 วัน
- หากมีปัจจัยเสี่ยงหรือโรคร่วมสำคัญ อาจมีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง แพทย์จะพิจารณาให้ยาแพกซ์โลวิดหรือ เรมดิซิเวียร์ หรือ โมลนูพิราเวียร์
- หากมีปอดอักเสบต้องให้ออกซิเจน หรือความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94% ให้รักษาแบบผู้ป่วยใน โดยแพทย์จะให้ยาเรมดิซิเวียร์
- ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีและหญิงตั้งครรภ์ หากไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส แต่หากมีปัจจัยเสี่ยง แพทย์จะพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือเรมดิซิเวียร์ หรือหากมีปอดอักเสบจะให้ยาเรมดิซิเวียร์ สำหรับใบรับรองแพทย์เพื่อหยุดงานหรือยื่นเคลมประกัน กรณีผู้ป่วยนอก แพทย์จะออกใบรับรองให้ 5 วัน
- ส่วนกรณีผู้ป่วยใน ซึ่งอาจจะรักษานานกว่า 5 วัน แพทย์จะออกใบรับรองแพทย์ตามระยะเวลาที่รักษา
ข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข,โรงพยาบาลสมิติเวช
อัปเดต! ไทยพบโควิดลูกหลานโอมิครอนสัดส่วนเพิ่มขึ้นเร็ว ตรวจเจอ XBB 13 ราย
โควิด19 ติดซ้ำได้ แนะกลุ่มเสี่ยงรีบรับวัคซีนเข็มกระตุ้น