วัคซีนโควิด19 จำเป็นกับผู้สูงอายุ ลดอาการแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้
5 ธันวาคม 2565 วันพ่อแห่งชาติ บอกรัก คุณพ่อคุณแม่วัย 50+ ด้วยการสร้างภูมิต้านทานโควิด19 อาจจะเป็นของขวัญที่ดีที่สุดในยุคโควิด-19 แบบนี้ งั้นลองมาทำความเข้าใจว่า ทำไม วัคซีนโควิดจึงจำเป็นแก่ผู้สูงอายุ ?
ผู้สูงอายุ และ กลุ่ม 608 ถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดโควิด19 ที่ยังอยู่กับเรา และคาดว่าจะแปรสภาพคล้ายไข้หวัดใหญ่ที่ยังต้องฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง เพราะร่างกายได้เสื่อมถอยไปตามธรรมชาติ และหากมีโรคประจำตัวหรือภาวะผิดปกติในร่างกายยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ ผู้สูงอายุจึงนับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ที่อาจมีโอกาสการเสียชีวิตได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุกลุ่มมีโรคประจำตัว
รายการตรวจสุขภาพที่จำเป็น ในวัย 50+ ให้ของขวัญผู้สูงอายุด้วยการใส่ใจ
เข็มกระตุ้นต้องมา! เช็กจุดปักธง ฉีดวัคซีนต้านโควิด19 ฟรี ทั่วประเทศ
ผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่อาการคงที่
- โรคความดันโลหิตสูง
- เบาหวาน
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- สมองเสื่อม
- โรคไตเรื้อรัง
- โรคตับ
- โรคหอบหืด
- ถุงลมโป่งพอง
- โรคมะเร็ง
- ผู้สูงอายุที่เพิ่งมีอาการเจ็บป่วยที่อาการยังควบคุมอาการไม่ได้ มีอาการไม่คงที่ หรือได้ยากดภูมิคุมกันที่อาการของโรคยังไม่สงบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19
- ผู้สูงอายุระยะท้ายของชีวิตที่คาดว่าจะเสียชีวิตภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน การพิจารณาการฉีดวัคซีนจะเป็นรายกรณีไป เนื่องจากวัคซีนต้องฉีด 2 ครั้งในระยะเวลาห่างกัน 10-12 สัปดาห์ (ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์) และยังไม่มีข้อมูลในผู้ป่วยกลุ่มนี้มากนัก
สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อของโรคอื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ อาจเว้นระยะการฉีดให้ห่างจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อย 1 สัปดาห์ แต่หากเป็นวัคซีนที่จำเป็นต้องรีบฉีดตามที่แพทย์แนะนำ เช่น วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนบาดทะยัก ไม่จำเป็นต้องเว้นระยะเวลากับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่ให้ฉีดคนละตำแหน่งกัน
- เมื่อผู้สูงอายุได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 เข็มแรกแล้วแต่ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อนี้ได้ โดยเฉพาะในสัปดาห์แรกๆ ของการฉีดวัคซีนที่ภูมิคุ้มกันยังค่อยๆ เพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับการฉีกวัคซีน จึงยังควรป้องกันการติดโควิด-19 ด้วยวิธีมาตรฐานอื่นๆ ด้วย คือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่างและการล้างมือบ่อยๆ
- เมื่อได้รับเข็มที่ 2 แล้ว จะสามารถป้องกัน COVID-19 โดยปกติหลังฉีดครบ 2 เข็มจะป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 60-90 และป้องกันการเกิดอาการจากการติดเชื้อได้ร้อยละ 65-90 ป้องกันการต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลได้ร้อยละ 83-95 และป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้ร้อยละ 83-99
กทม. ขยายเวลาให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 เดือน ธ.ค. เฉพาะเสาร์-อาทิตย์
นอกจากวัคซีน โควิด-19 ยังมีวัคซีนอื่นๆที่จำเป็นสำหรับผู้งอายุ ได้แก่
- วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
- วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
- วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
- วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส
- วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี
ข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19,กรมสุขภาพจิต,โรงพยาบาลพญาไท
อัปเดต! จุดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ฟรี! ตลอดเดือนธันวาคม 2565
5 วัคซีน ที่ผู้สูงอายุไม่ควรละเลย เสริมภูมิคุ้มกันลดความเสี่ยง