“ธาลัสซีเมีย” โรคพันธุกรรมคนไทยเกือบครึ่งมีเชื้อพาหะ
จากสถิติพบว่ามีคนไทยป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย ประมาณ 500,000 คน หรือร้อยละ 1 ขณะที่พบความผิดปกติเป็น “พาหะธาลัสซีเมีย” ประมาณ 18 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 30 โดยไม่มีอาการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นพาหะ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณวางแผนที่จะมีลูก การเป็นพาหะธาลัสซีเมียเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ โรคดังกล่าวสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
ธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดจางชนิดหนึ่ง เกิดจาดความผิดปกติในการผลิตฮีโมโกลบิน ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์ ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้น เปราะ แตก ถูกทำลายง่าย คนที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจึงมีโอกาสที่จะมีปัญหาสุขภาพมากมายและรุนแรงกว่าคนทั่วไป ที่สำคัญสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ พบมากในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งมีคนที่เป็น โรคธาลัสซีเมีย จะได้รับยีนผิดปกติมาจากพ่อและแม่ เช่นเดียวกับคนที่เป็น พาหะธาลัสซีเมีย ต่างกันที่พาหะจะมีสุขภาพดีเหมือนบุคคลทั่วไป แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติให้ลูกได้
"ธาลัสซีเมีย" โรคทางพันธุกรรมที่ป้องกันได้
ภาวะโลหิตจาง รู้ไม่ทันสัญญาณภัยเงียบ เสี่ยงหัวใจวาย-น้ำท่วมปอด
ธาลัสซีเมีย แบ่งเป็น 2 ชนิด
- แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย เป็นพาหะที่ค่อนข้างรุนแรงกว่าอีกชนิดหนึ่ง โดยสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระดูกโดยตรง และอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือเสียชีวิตหลังคลอดได้
- เบต้า-ธาลัสซีเมีย พาหะตัวนี้จะไม่ค่อยรุนแรง แค่ทำให้มีอาการตัวเหลืองซีดเท่านั้น เกิดจากความไม่สมบูรณ์ของฮีโมโกลบิน
ความรุนแรง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
- อาการรุนแรงมากที่สุด ผู้ป่วยจะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอด ซึ่งระหว่างตั้งครรภ์ มารดาอาจมี ความดันโลหิตสูง ตัวบวม และครรภ์เป็นพิษได้
- อาการรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ผู้ป่วยจะมีอาการซีดภายใน 2 ปีแรกหลังเกิด ตาเหลือง ตัวเหลือง ตับม้ามโต หน้าตาไม่เหมือนพ่อแม่ (Thalassemic Facies) และเติบโตไม่สมวัย
- อาการน้อยถึงไม่มีอาการ ส่วนหนึ่งจะตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือเวลามีไข้สูงติดเชื้อรุนแรง จะเกิดภาวะซีดลงอย่างรวดเร็วและมีดีซ่านร่วมด้วย
โรคธาลัสซีเมียสามารถตรวจพบได้ด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเลือด โดยแพทย์จะตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ร่วมกับการตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษ ที่เรียกว่าการตรวจ "Hb typing" และการตรวจวิเคราะห์ DNA
แม้จะเป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรม แต่สามารถรักษาหายได้เพียงดูแลตนเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
- ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่
- เลือด
- ตับ เครื่องในสัตว์
- งดยาและวิตามินที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
- ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก ควรฉีดวัคซีนครบถ้วนเหมือนเด็กปกติ
- ออกกำลังกายแต่พอควร หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการกระแทกรุนแรง เพราะกระดูกอาจแตกหักได้ง่าย
- งดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากจะทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลง
- ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน เนื่องจากอาจจะมีฟันผุได้ง่าย
- ถ้ามีไข้สูง ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะอาจเสี่ยงโรคติดเชื้อรุนแรง
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะร่างกายของผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะมีการสร้างเลือดมากกว่าบุคคลทั่วไป
ใครบ้างที่ต้องใช้ยาขับเหล็ก?
- ระดับ serum ferritin มากกว่า 1,000 ng/ml
- ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดเป็นประจำมา มากกว่า 1 ปี
- ผู้ป่วยธาลัสซีเมียได้เลือดมาแล้วประมาณ 10-20 ครั้ง
- รักษาด้วยการตัดม้าม โดยแพทย์จะพิจารณาใช้การรักษาวิธีนี้ต่อเมื่อ
- ม้ามโตมากจนเกิดอาการกดเบียดอวัยวะภายในอื่นๆ หรือมีขนาดโตกว่า 6 ซม.
- ผู้ป่วยต้องรับเลือดบ่อยขึ้นกว่าที่เคยเป็น
- เม็ดเลือดขาว หรือ เกร็ดเลือดต่ำจากม้ามโต
โดยแนะนำให้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการตัดม้าม เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
สัญญาณ“โรคเกล็ดเลือดต่ำ”เป็นจ้ำเลือดตามตัว เร่งรักษาก่อนเสี่ยงต่อชีวิต
ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
เป็นวิธีเดียวในปัจจุบันที่จะสามารถรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายได้ 75-92% แต่ไม่สามารถใช้รักษาผู้ป่วยทุกรายได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงอันตรายจากการรักษาและค่าใช้จ่ายสูงมาก ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีนี้คือ ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง และมีพี่น้องบิดามารดาเดียวกัน หรือมีผู้บริจาคที่มี HLA หรือการตรวจเนื้อเยื่อตรงกับผู้ป่วย โดยโอกาสที่พี่น้องบิดามารดาเดียวกันจะตรงกันกับผู้ป่วย คือ 1 ใน 4 สำหรับผู้บริจาคมีโอกาสตรงกันกับผู้ป่วย 1 ใน 10,000 ถึง 1 ใน 100,000
ข้อควรรู้ สำหรับผู้เป็นพาหะธาลัสซีเมีย
- ผู้เป็นพาหะสามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปสู่บุตรได้ จึงควรวางแผนก่อนการมีบุตร เพื่อหลีกเลี่ยงการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย และควรพาคู่สมรสไปตรวจเลือดก่อนมีบุตร
- ถ้าคู่สามีภรรยาเป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย 25%
- ผู้เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ควรแนะนำให้ญาติพี่น้องไปตรวจเลือดด้วย
- ไม่เป็นข้อห้ามในการบริจาคเลือด สามารถบริจาคเลือดได้ตามปกติ หากค่าความเข้มข้นของเลือดถึงเกณฑ์มาตรฐาน คือ ไม่ต่ำกว่า 12.5 กรัม/เดซิลิตร ในผู้หญิง และไม่ต่ำกว่า 13 กรัม/เดซิลิตร ในผู้ชาย แต่มีข้อแนะนำว่า หลังบริจาคโลหิตควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทานยาบำรุงเลือดที่ได้รับจนหมด เพื่อปริมาณเม็ดเลือดฟื้นฟูกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
“สีประจำเดือน” แบบไหนไม่ปกติอาจแฝงโรค เช็กอาการพบ 1 ข้อ ควรพบแพทย์
เตรียมตัวก่อน “บริจาคเลือด” ให้สุขภาพดี ใครบ้างบริจาคได้ หรือควรเลี่ยง ?