ไมโครพลาสมา โรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ส่งผลต่อหัวใจ-สมองแนะวิธีเลี่ยง
อีกหนึ่งสาเหตุของ โรคในระบบทางเดินหายใจ คือ เชื้อแบคทีเรีย “ไมโครพลาสมา” ที่ก่อให้เกิดอาการตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงเรื้อรังกว่าหวัดปกติ ส่งผลต่อหัวใจและเลี่ยงภาวะสมองอักเสบ
ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยสามารถทำให้เกิดเป็นไข้หวัด คออักเสบ หรือหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบก็ได้ การติดเชื้อไมโคร พลาสมาสามารถพบได้ทุกช่วงวัย แต่กลุ่มผู้ป่วยที่พบบ่อย คือ เด็ก และวัยรุ่น กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ กลุ่มที่พาตนเองไปอยู่ในที่ชุมชน มีผู้คนจำนวนมากทั้งโรงเรียน โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
รู้จัก "โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ" ซ่อนตัวเงียบแต่อันตรายถึงชีวิต
"โรคหัวใจ" ต้องใส่ใจตรวจสุขภาพ รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงป่วย รักษาได้ทัน
เมื่อได้รับเชื้อตัวนี้เข้าไปแล้ว จะใช้เวลาฟักเชื้อ 1 - 4 สัปดาห์ และจะค่อยๆ แสดงอาการข้างต้นออกมา คือ
- มีไข้เกิน 38 องศา
- ไอมาก หายใจเร็ว หายใจมีหน้าอกบุ๋ม
- ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ
- บางรายมีผื่นแดงตามผิวหนัง
ทางผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่ามากกว่า 1 ใน 10 คน ที่ป่วยจากเชื้อ Mycoplasma จอาจเป็นโรคปอดบวม ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีดังนี้
- อาการไอที่อาจทำให้เกิดน้ำมูก
- ไข้และหนาวสั่น
- หายใจถี่
- เจ็บหน้าอก
- เมื่อยล้า
ขณะที่ นพ.จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อแบคทีเรีย ไมโคพลาสมา ผ่านเฟซบุ๊กว่า Jiraruj Praise ว่า เชื้อแบคทีเรีย Mycoplasma เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้ทั่วไป ติดต่อผ่านการสัมผัส หายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อเช้าไป ทำให้เกิดอาการได้ในหลายๆ ตำแหน่งในร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ ถ้าเป็นจากตัวเชื้อเอง มักจะเล่นงานที่ระบบทางเดินหายใจเช่น ปอดอักเสบ (ปอดบวม) ซึ่งสมัยก่อน อาการของคนที่ติดเชื้อแบบนี้ มักไม่รุนแรง แต่ เรื้อรัง (walking pneumonia) แต่ปัจุุบัน เปลี่ยนไปมาก
สถิติพบคนไทยเสียชีวิตจาก"โรคหัวใจ" เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน
ส่วนอาการในระบบอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นจากความุรนแรงของตัวเชื้อ อีกส่วนเป็นเรื่องของภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อเชื้อ เช่น
- ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) อันนี้มาด้วย หมดสติจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ เหนื่อยหอบมากขึ้นจากหัวใจล้มเหลวก็เคยพบ
- ภาวะสมองอักเสบ (meningoencephalitis) ไข้สูง ชัก หมดสติ
- ผื่นผิวหนังอักเสบ รวมถึงอาการแพ้ยารุนแรงที่เรียก Steven-Johnson Syndrome (SJS) ก็มีการศึกษาพบว่าเจ้าเชื้อตัวนี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
การรักษาหลักๆ คือคือการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Azithomycin แต่ปัจจุบันมีรายงานว่าเชื้อเริ่มดื้อต่อยานี้มากขึ้น ยาอีกกลุ่ม ที่ใช้ได้ดีก็กลุ่ม quinolone เช่น levofloxacin
ส่วนการรักษาอาการในระบบต่างๆ ก็แล้วแต่ผลที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อเช่น ปอดติดเชื้อหายใจล้มเหลวก็อาจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ กล้ามเนื้อหัวอักเสบก็อาจต้องให้ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ การให้ยา IVIG หรือ ถ้ารุนแรงมากอาจต้องใช้เครื่อง ECMO เพื่อชื้อเวลารอกล้ามเนื้อหัวในฟื้นตัว
โดยประสบการณ์ของตนเองช่วง 10 ปีใน ICU เด็กเราพบการติดเชื้อ mycoplasma มากขึ้น ทั้งในเด็กเล็ก และในเด็กโต โดยสัดส่วนของเด็กโตยังมากกว่าและบ่อยกว่า แต่ความรุนแรงเปลี่ยนไปมาก เจอทุกแบบ ทั้งสมองอักเสบ กล้ามหัวใจอักเสบ ปอดติดเชื้อระดับรุนแรง ARDS แต่เริ่มต้นก็มาด้วยเรื่องของไข้นำมาก่อนนี่แหละครับ เพียงแต่อาจจะยาวนานกว่า การติดเชื้อไวรัสอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันโรคไมโครพลาสมายังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สิ่งที่ง่าย และดีที่สุดในการป้องกันก็ คือ พยายามอย่าให้บุตรหลานของท่านเข้าไปอยู่ในที่ที่มีคนจำนวนมาก หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหน้ากากอนามัย และควรล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนปรุง หรือรับประทานอาหาร รวมทั้งใช้ช้อนกลางเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ลักษณะอาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไมโครพลาสมาจะคล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ แต่ลักษณะเด่นของโรคนี้คือ จะมีอาการไอรุนแรง และมีการติดต่อได้ง่ายจากการหายใจสูดเอาละอองของเชื้อที่ปนมากับเสมหะ หรือน้ำมูก
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ติดเชื้อเฉลี่ย วันละ 142 คน เสียชีวิตวันละ 8 คน
“สถาบันโรคผิวหนัง” เปิดฉีดวัคซีนโควิดฟรี 12-20 ม.ค.นี้