รู้จัก"เดลตาครอน" โควิด-19ลูกผสมตัวใหม่ที่โลกจับตา
"เดลตาครอน" โควิด-19 ลูกผสมตัวใหม่ รุนแรงเท่าเดลตาและติดง่ายเหมือนโอมิครอน
องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมาว่า นักวิทยาศาสตร์พบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์ลูกผสมระหว่างเดลตาและโอมิครอน โดยมีการเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการการว่า "เดลตาครอน" (Deltacron) พบการระบาดแล้วในหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เยอรมนี สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และบราซิล
เช็กอาการ"โควิด-ภูมิแพ้-ไข้หวัด-ไข้หวัดใหญ่" แยกความต่าง รักษาถูกวิธี
สปสช.ดึง รพ.เอกชนทั่วประเทศร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมแจงเกณฑ์บริการใหม่
สำหรับความเป็นมาของเดลตาครอน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายดังนี้
เดลตาครอนคือ ไวรัสลูกผสมระหว่างสายพันธุ์เดลตา AY.4 และสายพันธุ์โอมิครอน BA.1 โดยส่วนหนามซึ่งมีบทบาทสำคัญในการแพร่กระจายเป็นของโอมิครอน แต่ส่วนอื่นๆ มาจากเดลตา ซึ่งในยุโรปได้สืบสวนโรคจนพบว่าการแพร่ระบาดยังไม่มากอย่างที่หลายคนกังวล แม้จะส่วนหนามจะเป็นของโอมิครอนที่สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วก็ตาม
ความรุนแรง
ไม่รุนแรงไปกว่าเดิม เนื่องจากเป็นไวรัสลูกผสมระหว่างAY.4 และ BA.1 ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมจากเดิม ดังนั้นความรุนแรงจึงไม่ต่างจากเดลตาและโอมิครอน คาดว่าการโควิดลูกผสมตัวนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ได้แพร่ระบาดออกไปวงกว้างเพราะอาจไม่เหมาะกับสิ่งแวดล้อม
การป้องกัน
ยังคงใช้มาตรการเดิมเหมือนโควิด-19 สายพันธุ์ที่ผ่านมา ได้แก่
1.สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด
2.ฉีดวัคซีน ฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็ม และเข้ารับเข็มกระตุ้นเมื่อถึงระยะเวลา โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง 608 ได้แก่
-ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
-กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
-กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
3.รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร แม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้ป่วยก็ตาม
4.ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
การ์ดไม่ตกป้องกันตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าโควิด-19 สายพันธุ์ไหน ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้มากแล้ว
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ไขข้อสงสัยฉีดกี่เข็มถึงจะเพียงพอ
กรมควบคุมโรคเตือนระวัง"ไข้เลือดออก" ติดร่วมกับโควิด ดับแล้ว 3 ราย