อัลไซเมอร์คืออะไร? ทำไมถึงถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามในสังคมผู้สูงอายุ
ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2564 ที่มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ อาจจะเป็นเหตุผลนี้ที่ทำไมอัลไซเมอร์ถูกพูดถึงมากขึ้นเพราะเมื่ออายุมากขึ้นพร้อมด้วยปัจจัยอื่นๆ อย่างการใช้ชีวิตที่กระตุ้นให้สมองเสื่อสภาพลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้โรคนี้อาจเป็นภัยคุกคามได้อย่างไม่ต้องสงสัย ชวนผู้จักโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุด
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer Disease) เป็นโรคที่มีการถดถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของสมองมากกว่าวัย เกิดจากการที่โปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ซึ่งเป็นผลจากของเสียที่เกิดจากการสันดาปของเซลล์ มีการตกตะกอนและไปจับกับเซลล์สมอง เส้นใยที่เชื่อมต่อของสมอง รวมถึงเซลล์พี่เลี้ยงของสมอง ส่งผลให้เกิดความเสียหายและนำมาสู่การตายของเซลล์สมอง โดยทำให้สมองเสื่อมและฝ่อลง และเกิดการสูญเสียเนื้อสมองในที่สุด
ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ! หนุ่มจีนอายุ 19 ปี ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์
บริษัทยาเผยผลทดลอง “ยาโดเนนาแมบ” ชะลออัลไซเมอร์ได้สูงสุด 60%
โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคสมองเสื่อม (Dementia) ที่พบได้บ่อยที่สุด คิดเป็น 60% - 80% ของกลุ่มผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมทั้งหมด ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากการมีอายุยืนยาวขึ้นและปัจจัยด้านอื่นๆ ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานจำนวนผู้ป่วยที่แน่ชัด แต่จากข้อมูลของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Association) ที่เก็บข้อมูลของชาวอเมริกัน พบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นทุกปี และสูงถึง 14 ล้านคนในปี 2565 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ประมาณการณ์ว่าในปี 2573 จะมีผู้สูงอายุป่วยเป็นอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,177,000 คน โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนในการเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 5 -8 และเมื่อมีอายุ 80 ปีสัดส่วนของการเป็นโรคอัลไซเมอร์สูงถึงร้อยละ 50
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
- สมองเสื่อมจากภาวะสมองขาดเลือด (Vascular Dementia), Dementia with Lewy bodies, Frontotemporal lobar dementia,
- ภาวะสมองเสื่อมในโรค Parkinson (Parkinson’s disease dementia)
- ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน
- กลุ่มโรคอื่น ๆ ที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อุบัติเหตุที่ศีรษะ ยากดการทำงานขอสมอง โรคติดเชื้อในสมอง โรคทางจิตเวช โรคขาดสารอาหารหรือฮอร์โมน
ขี้หลงขี้ลืมแบบไหนคำนึงถึงโรคอัลไซเมอร์
หากบอกว่าคนที่มีอาการขี้หลงขี้ลืมนั้นถือเป็นโรคอัลไซเมอร์ อาจไม่ถูกต้องนัก คนที่มีอาการขี้หลงขี้ลืมบ่อยๆ อาจเป็นได้จาก 2 กรณี ได้แก่
- มีอาการขี้ลืมจากการไม่ได้จดจำ ไม่ได้เก็บข้อมูลเข้าไปในความจำ เช่น ยุ่งมากมีเรื่องหลายเรื่องที่ต้องทำ ลักษณะนี้ไม่ถือว่าเป็นโรคความจำเสื่อม
- มีอาการขี้ลืมที่เกิดจากความจำถดถอย ความสามารถในการจดจำลดลง ถือว่าเป็นโรคความจำเสื่อม ซึ่งมักมีอาการอื่นในเรื่องของความจำร่วมด้วย
21 กันยายน วันอัลไซเมอร์โลก พัฒนาการวินิจฉัยและรักษาในปัจจุบัน
การป้องกัน-ชะลอการดำเนินโรค
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- รักษาปัจจัยเสียงโรคหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน ความดัน และคอเลสเตอรอล
- มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ช่น ญาติผู้ดูแล และเพื่อน
- ทำกิจกรรมที่ชอบทำ และยังทำได้ เป็นประจำ
- ติดตามข่าวสารและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ
- รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
อย่างไรก็ตามอาการของโรคอัลไซเมอร์นั้น นอกจากปัญหาเรื่องความจำที่เป็นอาการที่เด่นชัดและสังเกตได้ง่ายแล้ว ยังมีอาการอื่นๆ ที่หลากหลายแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน โดยทั่วไปแล้ว อาการเหล่านี้มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปและการเข้าสังคมด้วยเช่นกัน เช่น การสูญเสียความจำหรือข้อมูลระยะสั้น มีการหลงลืมที่รบกวนชีวิตประจำวัน ลืมของไว้ในที่ที่ไม่ควรเก็บ เช่น วางของทิ้งไว้แล้วลืม วางกุญแจรถไว้ในตู้เย็น นึกชื่อคนที่รู้จักไม่ออก ถ้าหากตัวโรคเป็นมากขึ้น ก็อาจทำให้สูญเสียความทรงจำในอดีตได้ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ซึมเศร้า เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
ภาพจาก : freepik