“ควันธูป” พบปนเปื้อนสารก่อมะเร็งหลายชนิด กระตุ้นพาร์กินสันในผู้สูงอายุ
ตรุษจีน 2567 เป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่มีการจุดธูปและเผากระดาษที่มีสารเผาไหม้อันตราย ก่อสารพัดมะเร็งและสารพัดโรค เผยวิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากธูปให้น้อยลง
เทศกาลตรุษจีน หลายครอบครัวได้มีการไหว้บูชาเทพเจ้า และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการจุดธูป เผากระดาษเงิน กระดาษทอง รวมถึงสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ทำจากไม้ และกระดาษ หรือที่เราเรียกว่า “กงเต๊ก” ซึ่งผลจากการเผาไหม้ก่อให้เกิดควันที่มีสารมลพิษ อาทิ สารพิษทางอากาศ สารก่อมะเร็งรวมไปถึงสารโลหะหนัก ได้แก่ โครเมียม นิกเกิล ตะกั่ว และแมงกานีส ที่พบในขี้เถ้าธูปและขี้เถ้าของกระดาษเงิน กระดาษทอง
- สารโครเมียม และนิกเกิลจะทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด
“ตรุษจีน 2567” วันจ่าย-วันไหว้-วันเที่ยว ตรงกับวันไหน ทำไมแต่ละปีไม่ตรงกัน
วิธีแก้แพ้ “ควันธูปไหว้เจ้า” ตรุษจีน 2566 สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้-หอบหืด
- สารตะกั่วมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ทำให้เลือดจาง ไตวาย
- แมงกานีสมีผลทำให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ในผู้สูงอายุ
- สารเบนซีน1,3 บิวทาไดอี,เบนโซเอไพรีนเป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการเผาไหม้ของกาว ขี้เลื่อย และน้ำหอมในธูป สารดังกล่าว ก่อมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ในควันธูปยังมีสารมลพิษอีกหลายชนิดที่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคือง ตาและระบบทางเดินหายใจ เช่น ตาแห้ง แสบตา น้ำตาไหล ระคายเคืองจมูก จาม ไอ ระคายคอ หายใจลำบาก
ทำให้ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า ง่วงนอน และหมดสติได้หากสูดดมนาน
พันธุกรรมมะเร็ง เพิ่มโอกาสเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน? ใครบ้างควรคัดกรอง?
หลีกเลี่ยงอันตรายจากควันธูป
- หลีกเลี่ยงการจุดธูปในบริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเท หรือถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้องแอร์ ห้องที่ไม่มีประตูหน้าต่าง
- ควรใช้ธูปขนาดสั้นแทนธูปขนาดยาวเพื่อให้เกิดควันน้อยกว่า
- ศาลเจ้าควรตั้งกระถางธูปไว้นอกอาคารหรือในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อเสร็จพิธีการควรดับหรือเก็บธูปทันที
- เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในศาสนสถานควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสควันธูปเป็นเวลานานและต่อเนื่อง หลังสัมผัสควันธูป ควรล้างมือ ล้างหน้าล้างตาให้บ่อยขึ้น
หากเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก หลีกเลี่ยงการพักผ่อนหรือนอนหลับบริเวณที่จุดธูป และหมั่นทำความสะอาดบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อลดการสะสมฝุ่นละอองจากควันธูปที่อาจตกค้างได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ รวมถึงผู้ป่วยโรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคระบบหัวใจและ หลอดเลือด สำหรับประชาชนทั่วไป เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ ก็ควรระมัดระวังเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก: โรงพยาบาลเปาโล และ กรมอนามัย
ผู้ป่วยมะเร็งระหว่างขั้นตอนการรักษา ออกกำลังกายได้หรือไม่ ?
ข้อเท็จจริง! กินเปลือกมะนาว-ไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย ก่อมะเร็งจริงหรือไม่?