ค่าไตแบบไหนผิดปกติ? ใครบ้างเข้าเกณฑ์ควรตรวจสุขภาพไต ป้องกันโรคลุกลาม
การตรวจ BUN , Creatinine และ eGFR นับเป็นการตรวจสุขภาพไตที่ผู้ที่เข้าเกณฑ์ควรเข้ารับการตรวจ เช็กค่าไตแบบไหนผิดปกติ และขั้นตอนการตรวจที่ถูกต้อง!
โรคไต Kidney Disease คือ การทำงานภายในของระบบไตที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการขับสารพิษไม่หมด ทำให้บางส่วนตกค้างในร่างกาย นำไปสู่ภาวะการเสียสมดุลของน้ำ เกลือแร่ ฮอร์โมนและโรคแทรกซ้อนภายในร่างกาย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไต
- กรรมพันธุ์ ประวัติคนในครอบครัวมีโรคแทรกซ้อนที่สร้างผลกระทบให้ไตมีการทำงานผิดปกติได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต้เรื้อรัง
ปัสสาวะเตือนโรคไต! มีเลือดปน-เป็นฟอง ต้องระวัง เจอเร็วรักษาได้มากกว่า!
สัญญาณไตเสื่อม ทำงานได้น้อยลง เสี่ยงไตวายเฉียบพลัน!
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ไตในภาวะที่ถูกใช้งานเป็นเวลานานมีการทำงานที่เสื่อมสภาพลง
- พฤติกรรมการบริโภค การรับประทานอาหารที่มีรสจัดจ้านมากเกินไป ส่งผลให้การไตมีการทำงานในการคัดกรองที่หนัก ส่งผลสู่ภาวะไตเสื่อมสภาพก่อนวัยได้
การตรวจค่าไต (Renal Function Test) คือ การเช็คสภาพของเสียที่ถูกขับจากการทำงานปัจจุบันของไตอย่างการตรวจปัสสาวะ และการเจาะเลือดดูค่าไต เพื่อหาสารยูเรียรั่วไหลในกระแสเลือดนั้น มาจากการทำงานผิดปกติของไตโดยตรงหรือไม่ จึงทำให้มีเครื่องตรวจค่าไตจากผลเลือดตามมาตรฐานที่ช่วยวินิจฉัยสุขภาพไตได้แม่นยำยิ่งขึ้นได้แก่ การตรวจ BUN , Creatinine และ eGFR
ใครบ้างที่ควรตรวจค่าไต
- บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
- บุคคลที่มีมวลดัชนีวัดค่า BMI สูงกว่ามาตรฐาน
- บุคคลที่ได้รับการตรวจหัวใจ แล้วมีผลวินิจฉัยความดันเลือดสูงหรือต่ำกว่าผิดปกติ
- กินยาที่มีส่วนผสมของสมุนไพรบางชนิดที่อาจทำลายเนื้อไตได้
- ลักษณะร่างกายภายนอกของผู้ป่วย มีอาการบวมตามใบหน้า ตัว และช่วงเท้า
- บุคคลที่มีพฤติกรรมและมีประวัติการบริโภคสารเสพติดเกินขนาด เช่น สูบบุหรี่
- ประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคไตเรื้อรังผ่านพันธุกรรม เช่น เป็นโรคถุงน้ำไต
- มีอาการอยากปัสสาวะบ่อย และลักษณะของน้ำปัสสสาวะมีภาวะเลือดปน หรือเป็นฟอง
- มีอาการวินเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นำไปสู่อาการคลื่นใส้จนถึงขั้นอาเจียนออกมา
- บุคคลได้เป็นโรคประจำตัวมาก่อน เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น
การตรวจค่าไต BUN (Blood Urea Nitrogen)
การตรวจค่าเลือด BUN คือ การเจาะเลือดตรวจค่าไต เพื่อประเมินคุณภาพเลือด โดยนำไปวัดค่าไนโตรเจนจากส่วนประกอบของยูเรียว่ามีปริมาณรั่วออกมาในกระแสเลือดมากน้อยแค่ไหน
วิธีตรวจเลือด BUN คือ การวัดหาปริมาณไนโตรเจนในสารยูเรียตามกระแสเลือด มีวิธีเตรียมตัวก่อนตรวจค่าไต ดังนี้เมื่อได้รับวินิจฉัยให้ตรวจ BUN ผู้ป่วยควรงดทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ประเภทสีแดงในปริมาณให้น้อยลงผู้ป่วยต้องงดอาหารอย่างต่ำ 8 ชั่วโมง ก่อนมาตรวจค่าไต
ค่าปกติของ BUN
ค่า BUN ปกติ จากการตรวจเลือดจะถูกแบ่งเกณฑ์ตามอายุ ดังนี้
- ค่า BUN ปกติในผู้ใหญ่ อยู่ที่ประมาณ 10 - 20 mg/dL
- ค่า BUN ปกติในเด็ก อยู่ที่ประมาณ 5 - 18 mg/dL
หากค่า BUN สูง คือมีโอกาสเป็นไปได้ว่าระบบการทำงานของไตมีปัญหา อาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน
เกลือโพแทสเซียม ทางเลือกสุขภาพช่วยลดโซเดียมได้ ประโยชน์-ข้อควรระวัง!
การตรวจค่าไต Creatinine
การตรวจเลือด Creatinine คือ การเจาะเลือดตรวจค่าไตเพื่อประเมินคุณภาพของเสียจากการเผาผลาญใช้งานของกล้ามเนื้อภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง หรือการขยับทุกส่วนของร่างกาย หากค่า Creatinine ในกระแสเลือดมีปริมาณมากหรือน้อยเกินไป อาจวินิจฉัยได้ว่าค่าไตของผู้ป่วยนั้นมีการทำงานผิดปกติ
วิธีตรวจ Creatinine คือ การประเมินของเสียจากกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในของร่างกาย
ค่าปกติ Creatinine คือการขับสาร cr ผ่านทางไต 100% จะถูกแบ่งเกณฑ์ตามเพศ ดังนี้
- ค่าปกติ Creatinine ของผู้ชาย : 0.6-1.2 mg/dL
- ค่าปกติ Creatinine ของผู้หญิง : 0.5-1.1 mg/dL
หากค่า Creatinine ต่ำกว่าปกติ คือมีโอกาสเป็นไปได้ที่กล้ามเนื้อและเส้นประสาทไม่ได้รับการบริหารร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันจนถึงภาวะกล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ แต่หาก Creatinine สูงกว่าปกติ คือมีสิ่งอุดตันในระบบปัสสาวะอย่าง นิ่ว และภาวะขาดน้ำ
การตรวจค่าไต BUN / Creatinine Ratio
การตรวจค่าไต BUN / Creatinine Ratio คือ การคำนวณอัตราส่วนของการตรวจทั้ง 2 วิธี (การตรวจค่าไต BUN และ Creatinine) เพื่อหาผลเลือดในวาระเดียวกัน นำมาเป็นข้อมูลวินิจฉัยโรคแทรกซ้อนและโรคที่เกี่ยวกับไตได้อย่างใกล้เคียงมากที่สุดขั้นตอนการคำนวณ จะใช้ตัวเลขของค่า BUN หารกับตัวเลขค่า Creatinine เพื่อหาอัตราส่วน
- ค่าปกติของ BUN / Creatinine Ratio
ค่าปกติ BUN / Creatinine Ratio จากการตรวจเลือดจะถูกแบ่งเกณฑ์ตามอายุ ดังนี้
- ผู้ใหญ่ คือ 10-20 : 1
- ในทารกอายุต่ำกว่า 12 เดือน คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 : 1
หากค่า BUN / Creatinine Ratio ต่ำกว่าปกติ คือมีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยรับสารอาหารจำพวกโปรตีนน้อยเกินไป กล้ามเนื้อบางส่วนมีฉีกขาดที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบจนสุดท้ายนำไปโรคกล้ามเนื้อสลาย
หากค่า BUN / Creatinine Ratio สูงกว่าปกติ คือมีความเป็นไปได้ที่เกิดการตกเลือดในช่องทางเดินอาหารหรือช่อทางเดินหายใจ มีภาวะขาดน้ำและอาจมีนิ่วในไต นำไปสู่อาการไตวายเฉียบพลัน
การตรวจค่าไต eGFR
การตรวจค่าไต eGFR คือ การตรวจวัดอัตราการคัดกรองของกระแสเลือดในไตต่อนาที เพื่อตรวจเช็คประสิทธิภาพการกรองของไตว่า มีปัญหาหรือไม่
ค่า eGFR ปกติ คือ อัตราการคัดกรองของเสียภายในไต สามารถคัดของเสียได้มากกว่า 90 มล./นาที เป็นต้นไป จึงทำให้การตรวจค่าไตแบ่งเป็น 5 ระยะดังนี้
- การตรวจค่าไตระยะที่ 1 eGFR ≤ 90 มล./นาที/1.73 ตร.ม. การทำบงานของไตทำงานปกติแต่ค้นพบสิ่งแปลกปลอมในการทำงานของไตเช่น นิ่ว กรวยไตอักเสบ และไตบวม
- การตรวจค่าไตระยะที่ 2 eGFR 60 – 89 มล./นาที/1.73 ตร.ม. การทำงานของไตมีผิดปกติเล็กน้อย
- การตรวจค่าไตระยะที่ 3 eGFR 30 – 59 มล./นาที/1.73 ตร.ม. การทำงานของไตทำงานปานกลาง
- การตรวจค่าไตระยะที่ 4 eGFR 15 – 29 มล./นาที/1.73 ตร.ม. การทำงานของไตทำงานผิดปกติมาก
- การตรวจค่าไตระยะที่ 5 eGFR < 15 มล./นาที/1.73 ตร.ม. มี การทำงานของไตอยู่ภาวะไตวาย
การเตรียมตัวก่อนตรวจค่าไต
- ก่อนการตรวจค่าไตต้องอดอาหารและน้ำก่อนเข้าห้องตรวจ 8-12 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ทุกชนิด 24 ชั่วโมง
- สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิต สามารถรับประทานยาประจำตัวได้ปกติ
การตรวจค่าไต เป็นการตรวจเช็คระบบการคัดกรองของไต มีการทำงานขับของเสียออกไปสู่ระบบปัสสาวะและของที่มีประโยชน์ ได้มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
สาเหตุ-ระยะโรคไตเรื้อรัง ไม่กินเค็มแต่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นก็เป็นได้!