มะเร็งช่องปาก ระยะลุกลามไปไหนได้บ้าง? อาการเสี่ยงสังเกตเร็วหายขาดได้!
มะเร็งช่องปาก คือมะเร็งที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆภายในช่องปาก ซึ่งเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย เผยระยะของโรค ที่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะสำคัญอื่นได้!
มะเร็งช่องปาก สามารถเกิดได้กับทุกที่ในช่องปาก อาทิ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น และเนื้อเยื่อโดยรอบๆ ลิ้นทั้งด้านข้างสองข้างและ ด้านหน้าใต้ลิ้น โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยกลางคนขึ้นไป อายุเฉลี่ยจะประมาณ 60 ปี แต่ก็พบในคนอายุ 40 ปี หรืออายุต่ำกว่าได้ประปราย
สาเหตุของมะเร็งช่องปาก
- สูบบุหรี่จัด สูบกล้อง
- บริโภคเมี่ยง หมาก ยาฉุน ยาเส้นเป็นประจำ
- ดื่มสุราจัด
- อาจมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสชนิด เฮทพีวี (HPV)
มะเร็งช่องปาก ชนิดโตเร็ว สัญญาณอันตราย อย่ามองข้ามแผลร้อนในหายช้า!
สาเหตุมะเร็งช่องปาก สูบบุหรี่-ดื่มสุราเพิ่มความเสี่ยงถึง 15 เท่า!
- มีความสัมพันธ์กับการอักเสบเรื้อรังชนิดไม่ติดเชื้อของเยื่อบุช่องปาก ซึ่งจะทำให้เยื่อบุช่องปากมีลักษณะเป็นฝ้าขาว หรือเป็นปื้นสีแดง
อาการที่พบได้บ่อยคือ เกิดเป็นก้อนเนื้อขึ้นตามตำแหน่งต่างๆ ของอวัยวะส่วนนั้น อาจลุกลามเป็นแผลหรือไม่ก็ได้ แผลอาจมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ หรืออาจเป็นแผลลึกเรื้อรัง แผลจะโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่หายด้วยการใส่ยาต่างๆ หรือการรักษาวิธีทั่วๆไป อาจมีเลือดออกได้ง่ายและถ้ามีการติดเชื้อด้วยก็จะมีกลิ่นเหม็น นอกจากนั้นถ้าเป็นโรคในระยะลุกลามจะคลำต่อมน้ำเหลืองที่คอได้ร่วมด้วย เป็นต่อมน้ำเหลืองที่โตโดยไม่เจ็บและมักอยู่ด้านเดียวกันกับก้อนเนื้อ
ระยะมะเร็งช่องปาก
- ระยะที่ 1 มะเร็งมีขนาดก้อนเล็ก ยังไม่ลุกลาม
- ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง
- ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้นและลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง มากขึ้น และมีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ
- ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียงมากขึ้น ลุกลามเข้าต่อม น้ำเหลืองมากขึ้น ปากอ้าไม่ได้ ต่อมน้ำเหลืองที่คอมีขนาด โตมาก หรืออาจมีโรคแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก เป็นต้น
ปัจจัยความรุนแรงของโรคมะเร็งช่องปาก
- ระยะของโรค ระยะสูงขึ้นความรุนแรงของโรคก็สูงขึ้น
- สุขภาพทั่วๆ ไป ถ้าแข็งแรงการรักษาจะได้ผลดีกว่า
- โรคร่วมต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคไต เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการรักษา
- อายุ ในผู้ป่วยสูงอายุมักทนการรักษาต่างๆ ได้ไม่ค่อยดี
แปรงฟันตอนเช้าหรือก่อนนอนดีกว่ากัน? ไม่ดูแลอาจไม่จบแค่ปัญหากลิ่นปาก!
การป้องกันโรคมะเร็งช่องปาก
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งช่องปาก เช่นบุหรี่ แอลกอฮอล์
- ดูแลสุขภาพอนามัยช่องปากและฟัน
- รับประทานผัก และผลไม้ งดเนื้อแดง (จะช่วยลดการเกิดมะเร็งบริเวณศีรษะและคอได้)
- หากมีแผลในช่องปากเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์
มะเร็งช่องปากหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นมีโอกาสรักษาหายขาดสูงและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตน้อยมาก แม้แต่มะเร็งช่องปากระยะท้าย หากโรคยังไม่แพร่กระจายไปบริเวณอื่นของร่างกายเช่น ปอด ยังมีโอกาสรักษามะเร็งช่องปากให้หายขาดได้เช่นกัน
ทั้งนี้หากมีความผิดปกติในช่องปาก หรือร้อนใน ควรเข้ารับการรักษาโดยทันที โดยทันตแพทย์สามารถรักษา หรือส่งมายังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางหู คอ จมูก เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาโรคต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี และ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
กลิ่นปาก นอกจากหมดความมั่นใจแล้วยังเป็นสัญญาณโรค!
5 อาหารที่ช่วยดูแลสุขภาพช่องปาก ป้องกันฟันผุ ช่วยขัดคราบหินปูน