ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A หรือ B อันตรายกว่ากัน ? เผยรุนแรงไม่ต่างโควิด!
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ชื่อที่หลายคนคุ้นเคย ทำไมความกลัวลดลง และละเลย คิดว่าเป็นแล้วก็หายไม่เป็นไร แต่อันที่จริง ต้องระมัดระวังเพราะภาวะแทรกซ้อนอันตรายเกินต้าน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับวัคซีน!
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ดูเหมือนจะเป็นโรคธรรมดาที่คุ้นเคย เลยทำให้รู้สึกว่าไม่น่ากลัวเท่าไรนัก แต่อันที่จริงความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ไม่แพ้กับโควิด19โดยเฉพาะในคนที่สุขภาพไม่แข็งแรง และในเด็กเล็ก!
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza) 4 สายพันธุ์หลัก
-
เชื้อไวรัสสายพันธุ์ A
ถือเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีความอันตรายมากที่สุด เพราะสามารถกลายพันธุ์ได้ ตลอดจนแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง
รพ.นครปฐม แจงเด็กหญิง 7 ปี ติดเชื้อไข้สมองอักเสบรุนแรง ยันรักษาเต็มที่
ชวนกลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่หลังป่วย 1.6 แสน เสียชีวิต 11 ราย
ทำให้เชื้อมีความเป็นลูกผสม และมีฤทธิ์รุนแรง โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มักจะแพร่ระบาดตามฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งสามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ย่อยที่พบบ่อย คือ H1N1 และ H3N2
-
เชื้อไวรัสสายพันธุ์ B
เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีความอันตรายรุนแรงเช่นกัน ที่พบได้บ่อย คือ B Victoria , B Yamagata , B Phuket ซึ่งสามารถระบาดได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูหนาวเช่นเดียวกัน
โรคติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่าน การไอ จาม หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัส เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัว 1 – 3 วัน
ไข้หวัดใหญ่อันตรายแค่ไหน?
อาการของไข้หวัดใหญ่นั้น โดยทั่วไปก็จะไม่ต่างจากไข้หวัดสักเท่าไร หากแต่มีอาการที่รุนแรงกว่า โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาการที่เราเป็นอยู่นั้นไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดาแต่เป็นไข้หวัดใหญ่ ประกอบไปด้วย
- มีไข้สูงมากกว่าปกติ คือตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- มีอาการปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย
- มีน้ำมูกไหล คัดจมูก เจ็บคอ มีอาการไอ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามร่างกาย แขน ขา ตามตัว
- ไข้หวัดใหญ่ส่วนมากจะมีระยะเวลาอาการของโรค 5 วัน หากมีอาการนานกว่านั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียแทรกซ้อนที่พบได้ในบางราย
นอกจากอาการดังที่กล่าวไปแล้ว ไข้หวัดใหญ่ยังอาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งที่พบบ่อยมากที่สุดเลยก็คือ “ภาวะปอดบวม” และ “หลอดลมอักเสบ” ดังนั้น หากสังเกตพบอาการไข้หวัดที่รุนแรงกว่าปกติ อย่าชะล่าใจว่าเป็นแค่หวัดธรรมดา แต่ควรรีบพบแพทย์ดีกว่า จะได้รักษาได้ทันท่วงที
ชวนกลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่หลังป่วย 1.6 แสน เสียชีวิต 11 ราย
สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาต้านไวรัส เพื่อลดระยะเวลาที่เป็นและลดความรุนแรง ได้แก่ กลุ่ม neuraminidase inhibitor เช่น ยา oseltamivir, zanamivir และ peramivir หรือกลุ่ม endonuclease inhibitor เช่น ยา baloxavir และกลุ่ม adamantanes เช่นยา amantadine และ rimantadine โดยให้ภายใน 48 ชั่วโมง
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ไม่สามารถทำให้ก่อเกิดโรคได้ สามารถนำมาผ่านกระบวนการและผลิตเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคไข้ใหญ่ และลดความรุนแรงของโรคเมื่อเจ็บป่วย
สามารถฉีดได้ตลอดทั้งปี แนะนำฉีดปีละ 1 ครั้ง ในผู้ที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งสายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่จะมีการปรับเปลี่ยนส่วนประกอบของสายพันธุ์ไวรัสที่บรรจุในวัคซีน ให้เป็นไปตามคาดการณ์สายพันธุ์เชื้อไวรัสที่มีแนวโน้มระบาดในแต่ละช่วงปีนั้นๆ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มีกี่ชนิด
- วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 3 สายพันธุ์
- เชื้อไวรัสสายพันธุ์ A ตระกูล H1N1 และ H3N2 และสายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata หรือ Victoria
- วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์ ได้แก่
- เชื้อไวรัสสายพันธุ์ A ตระกูล H1N1 และ H3N2 และสายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata, Victoria
เตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
- หากมีไข้ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน
- หากมีประวัติแพ้วัคซีน หรือไข่ไก่ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน อาจพบอาการปวดบวมแดง บริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดเมื่อยไม่สบายตัว ถือเป็นอาการปกติที่สามารถพบได้ โดยอาการจะหายไปได้เองภายใน 7 วัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3 และ โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
ขั้นตอนจองคิววัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี! ผ่าน แอปฯเป๋าตัง-จุดบริการ
ไข้หวัดใหญ่ผู้สูงอายุ เสี่ยงหัวใจตีบกว่า 10 เท่า วิจัยพบวัคซีนลดการตายได้!