มะเร็งต่อมไทรอยด์ สัญญาณอันตราย ก้อนที่คอแบบไหนเสี่ยง!
ก้อนที่คอ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม ถึงจะเจ็บหรือไม่เจ็บก็ควรพบแพทย์ เพราะเป็นหนึ่งในสัญญาณมะเร็งต่อมไทรอยด์ ที่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงขึ้นต่อเนื่อง!
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ เมื่อผิดปกติจะโตขึ้น และเห็นเป็นก้อนบางครั้งก็เห็นเป็นก้อนเดี่ยวๆ บางครั้งก็โตเป็นลักษณะหลายๆ ก้อนติดกัน และที่สำคัญคือ ก้อนที่เกิดบนต่อมไทรอยด์จะขยับเคลื่อนขึ้น-ลงขณะเรากลืนน้ำลาย
ก้อนที่ไทรอยด์ เป็นโรคอะไรบ้าง
ความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยกว่ากลุ่มอื่น คือ มีก้อนที่เจริญผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์เพียงก้อนเดียว ซึ่งเป็นโรคต่างๆ ได้หลายชนิด และหนึ่งในนั้น มีมะเร็งของต่อมไทรอยด์รวมอยู่ด้วย
เปิดท่ากายภาพบำบัด สำหรับมนุษย์(บ่า)ตึง ช่วยลดอาการปวดคอบ่าไหล่ได้!
“กระดูกหัก” ภาวะฉุกเฉินต้องรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง กันภาวะแทรกซ้อน!
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์จะต้องให้การวินิจฉัยแยกโรค เพื่อวางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป ผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์เพียงก้อนเดียว อาจเป็นโรคต่างๆ ได้ดังนี้
- เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ (thyroid adenoma) พบได้ประมาณร้อยละ 20-30
- เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษร่วมด้วย
- มะเร็งของต่อมไทรอยด์ (thyroid carcinoma) พบได้ร้อยละ 10-15 ในระยะเริ่มต้นจะเป็นก้อนเดี่ยว ขนาดเล็ก และโตขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายเป็นก้อนหลายก้อนในเนื้อต่อมไทรอยด์ หรือแพร่กระจายไปที่อื่น เช่น ที่ต่อมน้ำเหลืองหรือที่กระดูก ฯลฯ
- คอพอก หรือ คอหอยพอก (nodular goiter) ร้อยละ 50-60 ของก้อนเดี่ยวที่ต่อมไทรอยด์ มีความผิดปกติอยู่ในกลุ่มของคอหอยพอก
มะเร็งไทรอยด์ (Thyroid Carcinoma) เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในต่อมไทรอยด์ กลายเป็นเนื้อร้าย ซึ่งมะเร็งไทรอยด์มักจะเริ่มเป็นก้อนเฉยๆ ที่บริเวณต่อมไทรอยด์ต่อมาก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตมากขึ้น อาจมีการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเป็นก้อนขึ้นที่ด้านข้างลำคอหรือมีก้อนตามตัวที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น ศีรษะ ซี่โครง สะโพก ฯลฯ บางคนอาจมีอาการเสียงแหบ หรือก้อนใหญ่ขึ้นจนหายใจไม่สะดวก
อาการบ่งชี้ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งสูง
- ก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
- มีปัญหาเสียงแหบ หายใจไม่สะดวก
- มีปัญหากลืนอาหารลำบาก, สำลัก
- คลำได้ก้อนอื่นโตที่ด้านข้างลำคอ
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง หรือเคยได้รับการฉายแสงมาก่อน
- อายุน้อยกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 60 ปีแล้วพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์
วิธีวิ่งให้ฟิต ไม่เหนื่อยง่าย เพื่อเป้าหมายสุขภาพ แถมปอดแข็งแรง
ไม่อยากให้มะเร็งไทรอยด์ลุกลาม ?
มะเร็งไทรอยด์ เริ่มแรกมักไม่มีอาการ นอกจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ดังนั้นเมื่อพบก้อนที่บริเวณด้านหน้าลำคอ ที่เคลื่อนขึ้น-ลง ตามการกลืนน้ำลายควรพบแพทย์ แพทย์จะทำการใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเซลล์จากต่อมไทรอยด์มาตรวจ (fine needle aspiration) ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ วิธีนี้มีความแม่นยำประมาณ 90% แต่หากการเจาะเซลล์เพื่อตรวจไม่พบเซลล์มะเร็ง ก็อาจเป็นเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ หรือคอหอยพอกได้ ในกรณีดังกล่าว แพทย์จะให้ยาเพื่อรักษาโรคคอหอยพอกและนัดมาตรวจซ้ำ ในกรณีที่เป็นคอพอก ก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะมีขนาดเล็กลง และหายได้ในที่สุด แต่หากก้อนนั้นไม่หาย ก็ควรจะคิดถึงโรคอื่นๆ เช่น เนื้องอก หรือมะเร็งต่อมไทรอยด์ ในกรณีนี้แพทย์มักแนะนำให้ทำการผ่าตัด
โดยปกติเมื่อมีการตรวจอัลตราซาวด์จะพบว่าทุกคนมีก้อนต่อมไทรอยด์ได้ แต่ถ้ามีขนาดใหญ่เกิน 1 ซม. ต้องพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อตรวจให้แน่ชัดว่าก้อนที่พบเป็นมะเร็งหรือไม่ ปกติถ้าพบก้อนในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี หรือ อายุน้อยกว่า 16 ปี ส่วนใหญ่ก้อนที่พบมักจะเป็นมะเร็ง ดังนั้นแพทย์แนะนำว่าหากมีอาการผิดปกติ หรือผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ควรรับการตรวจอัลตราซาวด์ไทรอยด์ทุกคน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3
เอกซเรย์ฟันสำคัญอย่างไรกับการวางแผนรักษา? ขั้นตอนและวิธีเตรียมตัว
5 สัญญาณ PCOS ถุงน้ำรังไข่หลายใบ จุดเริ่มต้นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก