หมอธีระ เผยโควิดไทยขาลง แต่มีปัจจัยแปรผันอยู่ที่โควิด KP.3
รศ.นพ.ธีระ วิเคราะห์โควิดในไทย ขณะนี้อยู่ในช่วงขาลงถึงปลายสิงหาคม และอยู่ในระดับคงที่ราว 4-6 สัปดาห์ ปัจจัยแปรผันได้นั้น ขณะนี้อยู่ที่ KP.3 และ KP.3.11 เผยงานวิจัยเทียบสาเหตุที่ผู้สูงอายุติดโควิดแล้วอาการน่าห่วงกว่าเด็ก
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat วิเคราะห์การระบาดของไทย ข้อมูลสัปดาห์ล่าสุด 14-20 กรกฎาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยนอนรพ. 1,067 ราย เสียชีวิต 3 ราย ปอดอักเสบ 589 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 265 ราย เทียบกับสัปดาห์ก่อน ป่วยนอนรพ.เพิ่มเล็กน้อยราว 6.3% ตายลดลง 40% ปอดอักเสบลดลง 13.6% และใส่ท่อช่วยหายใจลดลง 14.2% ทั้งนี้ปัจจัยที่จะทำให้สถานการณ์แปรผันได้นั้น ขณะนี้อยู่ที่ KP.3
โควิด-19 รอบสัปดาห์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ติดเชื้อ 1,067 ราย เสียชีวิต 3 ราย
โควิดไทยอยู่ในช่วงขาลง แพทย์ย้ำเป็นการระบาดตามพฤติกรรมเสี่ยง
คาดประมาณจำนวนคนติดเชื้อใหม่ต่อวันอย่างน้อย 7,622-10,586 ราย การระบาดไทยเป็นขาลง ถูกต้องตามที่ประเมินไว้
คาดว่าขาลงจะใช้เวลาไปถึงราวกลางถึงปลายสิงหาคม และอยู่ในระดับคงที่ราว 4-6 สัปดาห์
ทั้งนี้ปัจจัยที่จะทำให้สถานการณ์แปรผันได้นั้น ขณะนี้อยู่ที่ KP.3 และ KP.3.11 ว่าจะเข้ามา take over ในไทยช้าเร็วเพียงใด และฤดูพฤติกรรมเสี่ยงที่เรามีนั้น ที่ควรระวังคือเรื่องกิจกรรมรับน้อง และการจัดกิจกรรมส่งท้ายปีงบประมาณของหน่วยงานรัฐ ทั้งการประชุมต่างๆ และงานเกษียณ
ตามธรรมชาติของการระบาด ประเมินว่าน่าจะเห็นขาขึ้นถีบตัวราวพฤศจิกายน หากไม่ตกกับดักปัจจัยแปรผันทั้งสองข้างต้นพร้อมกันไปก่อนอย่างไรก็ตาม ที่เห็นขาลง เงียบๆ ตอนนี้นั้น ย้ำอีกครั้งว่าโรคยังชุกชุม ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ใช้เทคนิคการสังเกตคนรอบข้างที่มีอาการป่วย (symptom awareness) เพื่อหลีกห่างจากเค้า ไม่คลุกคลีใกล้ชิดLong COVID นั้นความรู้การแพทย์ยืนยันชัดเจนว่าเป็นปัญหาระยะยาวผลกระทบระดับมหภาคน่าจะเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในลักษณะโรคเรื้อรัง ซึ่งคงลำบากในการแยกแยะสาเหตุ
โควิดไทยอยู่ในช่วงขาลง แพทย์ย้ำเป็นการระบาดตามพฤติกรรมเสี่ยง
รศ.นพ.ธีระ ยังเปิดเผยต่อว่า ทำไมคนสูงอายุติดโควิด-19 แล้วรุนแรงกว่าเด็ก?
นอกเหนือไปจากเหตุผลว่า คนสูงอายุมีระบบภูมิคุ้มกันที่เสื่อมถอยลง (Immunosenescence) และการมีโรคต่างๆ ประจำตัว รวมถึงกระบวนการอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นในคนสูงอายุแล้วงานวิจัยล่าสุดที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของเซลล์เยื่อบุโพรงจมูกในคนช่วงวัยต่างๆ พบว่า ชนิดของเซลล์จะเปลี่ยนไปตามช่วงวัย และมีผลต่อกระบวนการต่อสู้กับไวรัสเมื่อติดเชื้อ
กล่าวคือ วัยเด็กเซลล์เยื่อบุมักมีเซลล์ชนิด Goblet 2 inflammatory epithelial cells มาก ซึ่งเซลล์ประเภทนี้จะทำให้มีการตอบสนองของ Interferon ต่อสู้ไวรัสได้มากกว่า ในขณะที่คนสูงอายุ เซลล์ชนิดนี้ลดลงไปตามวัย และมีชนิด Basaloid-like cells มากขึ้น ต่างจากวัยเด็ก โดยการติดเชื้อและการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของไวรัสในเซลล์ของคนสูงอายุก็เร็วกว่าเด็ก การค้นพบกระบวนการเปลี่ยนแปลงของชนิดเซลล์เยื่อบุโพรงจมูก และการตอบสนองต่อไวรัสข้างต้น ถือเป็นความรู้ที่เป็นเหตุผลเพิ่มเติมในการอธิบายเรื่องความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันระหว่างวัย
อ้างอิง : Why does severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 attack the aged more severely? Journal of Internal Medicine. 19 July 2024.
ติดโควิดฉ่ำ! เปิดพิกัด 4 แอป พบหมอออนไลน์ รอรับจัดส่งยาถึงบ้านฟรี!