อาการฝีดาษวานร ที่ไม่ได้มีพาหะแค่ลิง แพทย์เผยคนเคยปลูกฝีป้องกันได้ 85%
เปิดข้อมูลทางการแพทย์ ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร มีต้นกำเนิดจากอะไร? จริงๆแล้วไม่ได้มีพาหะแค่ลิง เผยอาการและการปลูกฝีไข้ทรพิษ สามารถช่วยป้องกันได้จริงหรือไม่? เผยอาการและวิธีรักษา
ฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร (Monnkeypox) โรคที่หลายคนให้ความสนใจและกังวลว่าจะเกิดการระบาดเป็นวงกว้าง หลังจาก WHO ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลกหลังพบการระบาดครั้งใหญ่ใน 5 ประเทศทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็น ฝีดาษวานรสายพันธุ์ Clade 1b ที่มีความรุนแรงมากกว่า สายพันธุ์ Clade 2b ที่พบนอกทวีป ขณะที่ไทย พบผู้ป่วย Clade 1b รายแรก แต่อาการไม่รุนแรง
หากย้อนกับไป โรคฝีดาษวานร มีการระบาดอยู่เฉพาะในประเทศแถบแอฟริกา
กลุ่มเสี่ยงควรฉีด“วัคซีนป้องกันฝีดาษวานร” เผยคนเคยปลูกฝีป้องกันได้!
สธ.เกณฑ์สอบสวน“โรคฝีดาษวานร”ของด่านควบคุมโรคติดต่อ
แต่หลังจากปี 2003 เริ่มมีการพบผู้ป่วยนอกประเทศแถบแอฟริกาโดยผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อจากสัตว์ที่นำมาจากทวีปแอฟริกา แม้จะไม่ทราบจำนวนที่แท้จริงแต่มีการประมาณว่าตั้งแต่ปี 2017 ประเทศไนจีเรียมีผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัย 500 รายและพบผู้ป่วยยืนยัน 200 ราย มีอัตราการเสียชีวิตที่ 3%
ตั้งแต่ปี 2018 มีการพบผู้ป่วยนอกทวีปแอฟริกามากขึ้นเรื่อยๆ และในเดือนพฤษภาคมปี 2022 มีการพบผู้ป่วยหลายรายจากหลายประเทศนอกทวีปแอฟริกา แม้จะยังไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตแต่ก็ทำให้มีความสนใจศึกษาโรคฝีดาษลิงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างมากขึ้น
ฝีดาษวานร สามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้ ซึ่งการรายงานที่พบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานรนั่นเอง ซึ่งหมายความว่าลิงไม่ใช่แหล่งกำเนิดของโรคนี้อย่างที่เข้าใจกัน แต่เชื้ออยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา อาทิ กระรอก หนูป่า เป็นต้น โดยเชื้อไวรัสนี้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น
อาการที่ควรเฝ้าระวังของโรคฝีดาษลิง
ระยะฟักตัวจะเริ่มแสดงอาการหลังรับเชื้อแล้วประมาณ 7-14 วัน
- มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายผื่นขึ้นตามตัว ซึ่งตุ่มเหล่านี้จะอักเสบและแห้งไปเองใน 2 – 4 สัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ดังนี้
- มีตุ่มนูนแดงคล้ายผื่น
- ภายในตุ่มมีน้ำใสอยู่ภายใน รู้สึกคัน แสบร้อ
- ตุ่มใสกลายเป็นหนอง เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ตุ่มหนองเหล่านั้นจะแตกออกและแห้งไปเอง
- อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย
บางรายที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัวอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้อาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้
อาการเริ่มต้นของโรคฝีดาษวานร
อาการเริ่มต้นของฝีดาษลิงจะเหมือนอาการติดไวรัสทั่วๆ ไป คือจะมีไข้ต่ำถึงไข้สูง และมีอาการปวดเมื่อยตามตัว รวมถึงมีไอเล็กน้อย สำหรับอาการที่เด่นชัด คือ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณใต้คาง ใต้คอ ซึ่งสามารถคลำได้ด้วยตัวเอง และต่อมาจึงมีตุ่มขึ้น ผลการรักษาโรคฝีดาษลิงยังไม่แน่นอน แต่ความรุนแรงมักไม่มาก เมื่อเป็นแล้วสามารถหายจากโรคเองได้
โรคฝีดาษวานร ต่างกับ อีสุกอีใส อย่างไร?
โรคฝีดาษลิงและอีสุกอีใสนั้นมีลักษณะคล้ายกัน คือ มีอาการทางผิวหนังเป็นหลัก และเป็นโรคที่มาจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แต่ลักษณะที่แตกต่างกันคือ โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ติดต่อจาก “สัตว์สู่คน” แต่โรคอีสุกอีใส ติดต่อจาก “คนสู่คน”
โรคฝีดาษวานร จะแพร่เชื้อในลักษณะใดได้บ้าง?
- ทางสารคัดหลั่ง ในการหายใจ ไอ จาม ซึ่งจะคล้ายโควิด-19 แต่การติดเชื้อจากสารคัดหลั่งดังกล่าวจะไม่ติดง่ายเหมือนกับโควิด-19
- ทางผิวหนัง หากมีสะเก็ด ตุ่ม หนอง ที่ตกสะเก็ดแล้ว สามารถแพร่เชื้อผ่านตุ่มหนองหรือสะเก็ดได้
แพทย์เผยที่มาของ “ฝีดาษวานร” ย้ำ clade 1 รุนแรงติดง่ายกว่าที่พบในไทย
โรคฝีดาษ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ ?
ยังไม่มีการยืนยันว่าโรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ แต่ระยะหลังพบผู้ติดเชื้อที่เป็นกลุ่มชายรักร่วมเพศจำนวนมากซึ่งมีรอยโรคบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และใกล้อวัยวะสืบพันธุ์ จึงทำให้มีการคาดการณ์ว่าโรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือจากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างกิจกรรมทางเพศได้
โรคฝีดาษวานร คาดว่าจะเกิดการระบาดในประเทศไทยหรือไม่ จะมีวิธีป้องกันอย่างไรได้บ้าง?
มีความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาระบาดในประเทศไทย แม้มีการคัดครอง แต่โรคนี้มีระยะเวลาฟักตัวได้ตั้งแต่ 5-7 วัน จนถึงประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงเป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการจะผ่านการคัดกรองเข้ามาประเทศไทยได้
วิธีป้องกันโรคฝีดาษวานร
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า
- หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ
- ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค
- มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะกลุ่มชายรักชาย
กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นแหล่งโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักตัวเพื่อมิให้มีการแพร่กระจายเชื้อ
การรักษาฝีดาษวานร
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงที่เฉพาะเจาะจง เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ผู้ป่วยมักหายเองได้ การรักษาจึงมักเป็นการรักษาตามอาการ เช่น
- การให้สารน้ำและอาหารให้เพียงพอ
- การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
- การป้องกันผลข้างเคียงในระยะยาว
- ในบางประเทศอาจมีการใช้ยาต้านไวรัส เช่นยา tecovirimat และ cidofovir.
ปลูกฝีมาแล้วป้องกันฝีดาษวานรได้ จริงไหม?
ในอดีตเราปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ แต่ตั้งแต่ปี 2523 ประเทศไทยไม่ได้ปลูกฝี เนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ทั้งนี้โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ เป็นคนละโรคกับฝีดาษลิง แต่การศึกษาที่แอฟริกา พบว่าการปลูกฝีป้องกันฝีดาษสามารถป้องกันการติดเชื้อฝีดาษวานรได้ถึง 85%
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์, โรงพยาบาลเปาโล รังสิต,โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และ กรมควบคุมโรค
ชัดแล้ว! สธ.ยืนยันชายชาวยุโรปเป็น ฝีดาษวานร clade 1 รายแรกในไทย!
“ชุดตรวจฝีดาษวานร”อย.พร้อมขึ้นทะเบียน รองรับการระบาด-ควบคุมโรค