จ้ำเลือดตามตัว สัญญาณโรคเกล็ดเลือดต่ำ เสี่ยงรุนแรงเลือดออกในสมอง
อยู่ๆก็มีจ้ำเขียวขึ้นตามตัว หรือ กระแทกเล็กๆน้อยๆ แต่มีรอยช้ำใหญ่ อาจเกิดจากโรคเกล็ดเลือดต่ำ เผยสัญญาณและอันตรายควรรู้!
โรคเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) ITP มักพบในเด็กตั้งแต่อายุ 1-5 ปี ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกระตุ้นให้สร้างสารแอนติบอดี้ มาจับ และมาทำลายเกล็ดเลือดของตนเอง โดยส่วนใหญ่จะไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ที่มักจะทำให้มีภาวะเลือดออกง่าย มีจุดจ้ำตามตัว บางรายที่มีอาการเลือดออกมากจะทำให้มีเลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในสมอง ซึ่งรุนแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ โดยในภาวะปกติปริมาณเกล็ดเลือดในคนทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 150,000-400,000 ตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร
เม็ดเลือดขาว สูงหรือต่ำกว่าปกติ เสี่ยงอันตรายหรือเป็นมะเร็งมากแค่ไหน?
“วัณโรคเทียม”ไม่ใช่“วัณโรค” ไม่ติดต่อจากคนสู่คน ส่วนใหญ่มักโจมตีปอด

ซึ่งเกล็ดเลือดมีหน้าที่สำคัญ คือการห้ามเลือด โดยจะทำการเกาะบริเวณหลอดเลือดที่มีรอยฉีดขาด และทำให้เลือดหยุดไหล เสริมความแข็งแรงให้กับเยื่อบุหลอดเลือด
หากเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 ตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จะมีโอกาสเลือดออกมาเองโดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือน ซึ่งเป็นอันตราย ซึ่งควรเข้ารับการตรวจวินิฉัยเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง โดยโรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) หรือโรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน เกิดจากภาวะในร่างกายไปกระตุ้นภูมิต้านทานจนส่งผลกระทบเป็นการทำลายเกล็ดเลือด ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะทำการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อรุนแรงหรือไม่รุนแรงก็ได้ หรือแม้แต่การได้รับวัคซีนก็เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม โดยภูมิคุ้มกันนี้มักเกิดขึ้นภายหลัง 2-4 สัปดาห์
อาการโรคเกล็ดเลือดต่ำ
- รอยช้ำจ้ำเลือดตามร่างกาย หรือมีจุดแดงใต้ผิวหนัง โดยไม่ใช่เกิดจากอบุติเหตุ หรือกระทบกระแทก
- เมื่อได้รับการกระทบกระแทก จะมีจ้ำเลือดขนาดใหญ่ หรือกระจายตามร่างกาย
- เลือดกำเดาไหลบ่อย เลือดออกตามไรฟัน
- มีจุดจ้ำเลือดสีแดงขนาดเล็กเท่าปลายเข็มกระจายตามร่างกายทั้งที่ไม่ได้รับการกระทบกระเทือน จุดเลือดออกตามกระพุ้งแก้ม ในช่องปาก
- เลือดกำเดาออก
- เลือดออกตามไรฟัน
- มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
- อาจพบภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือระบบประสาท ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อย
- อาเจียนเป็นเลือด
- ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
การรักษาแพทย์จะซักประวัติ เช่น เด็กมีอาการเฉียบพลัน ก่อนหน้านี้มีการติดเชื้อ หรือมีการฉีดวัคซีนมาก่อน 2-4 สัปดาห์หรือไม่ ทำการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ถ้าผลเลือดไม่มีภาวะซีดหรือเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ โดยมีเกล็ดเลือดต่ำเพียงอย่างเดียว แพทย์จะทำการรักษาโดยใช้ยา IVIG เป็นการจับแอนตี้บอดี้ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายหรือยาสเตียรอยด์ ซึ่งการตอบสนองต่อยาของคนไข้ในแต่ละรายจะแตกต่างกันไป ในเด็กที่อายุมากกว่า 5 ปี มีเม็ดเลือดขาวผิดปกติ ภาวะซีดโดยไม่ทราบสาเหตุ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมก่อนการรักษา เช่น ตรวจเจาะไขกระดูก เป็นต้น
สัญญาณเบาหวานในผู้สูงอายุ ต้องรีบใส่ใจลดภาวะแทรกซ้อน!
การดูแลผู้ป่วยโรคเกล็ดเลือดต่ำไอทีพี
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอาการฟกช้ำ กระทบกระแทก หรือเลือดออกได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่มีการติดเชื้อ เพราะอาจจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันทำให้เกล็ดเลือดต่ำลงอีกได้
- การกินยาทุกชนิดโดยเฉพาะยาแก้ปวดลดไข้ควรใช้พาราเซตามอล แอสไพรินและไอบูโพรเฟนต้องอยู่ภายใต้แพทย์สั่งเท่านั้น
โรคเกล็ดเลือดต่ำไอทีพีในเด็กสามารถรักษาได้ หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ควรพาเด็กเข้ารับการตรวจวินิฉัยเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี และ โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
4 พฤติกรรมควรเลี่ยง ช่วยคุมความดันและน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเรื้อรัง
ชาย 75 ปี ป่วย “วัณโรคเทียม” มีประวัติเคยป่วยวัณโรคปอด คาดสาเหตุจากน้ำประปา