10 คำแนะนำรับมือ “เวียนหัว” จากน้ำในหูไม่เท่ากัน สาเหตุ อาการต้องระวัง
“น้ำในหูไม่เท่ากัน” ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะบางคนมีอาหารที่เฉียบพลัน แม้จะเป็นขณะเดินหรือขับรถ เผยคำแนะนำของแพทย์ เปิดสาเหตุ และวิธีป้องกัน
น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคความดันน้ำในหูไม่เท่ากัน มีชื่อว่าในทางการแพทย์ว่า โรคเมเนียร์ (Meniere’s disease) พบมากในผู้ที่มีอายุ 30-60 ปี ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในที่มีภาวะความดันน้ำในหูชั้นในที่เรียกว่า Endolymph มากผิดปกติ ส่งผลให้หูขั้นในที่มีหน้าที่ในการรับเสียง และควบคุมการทรงตัวทำงานผิดปกติ จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ สูญเสียการได้ยิน และรู้สึกถึงแรงดันภายในหู เป็นต้น

สาเหตุโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
- กรรมพันธุ์ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นไมเกรน หรือมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ
- การติดเชื้อไวรัส หูชั้นกลาง หูชั้นในเกิดการอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- เป็นโรคต่างๆโรคภูมิแพ้ โรคซิฟิลิส โรคหูน้ำหนวก โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และไขมันในเลือดสูง
- ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน
- พฤติกรรม การพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด สูบบุหรี่ รวมถึงการรับประทานอาหารโซเดียมสูง และอาหารรสเค็มจัด
- สภาพแวดล้อมอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึกมากๆ
10 คำแนะนำ“เวียนหัว” จากน้ำในหูไม่เท่ากัน
- ขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพัก เพราะการฝืนเดินขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้ล้ม เกิดอุบัติเหตุได้
- ถ้าอาการเวียนศีรษะเกิดขณะขับรถ หรือขณะทำงาน ควรหยุดรถข้างทาง หรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้
- ถ้าเวียนศีรษะมากควรนอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น พื้น ควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว
- รับประทานยาที่แพทย์จัดให้
- พยายามอย่ารับประทานอาหารหรือดื่มมากนัก จะช่วยให้อาเจียนน้อยลง
- หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยทางเรือ เพราะจะทำให้มีอาการเวียนศีรษะมากขึ้นได้
- ถ้าอาการเวียนศีรษะน้อยลง ค่อย ๆ ลุกขึ้น แต่อาจรู้สึกง่วงหรือเพลียได้ แนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ถ้าง่วงหลังตื่นนอน อาการมักจะดีขึ้น
- ควรงดอาหารที่มีความเค็ม เพราะความเค็มหรือเกลือโซเดียม จะทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และในหูชั้นในมากขึ้น อาจทำให้อาการแย่ลง
- ถ้าหายเวียนศีรษะแล้ว ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
- หลีกเลี่ยงสารคาเฟอีน (ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และกาแฟ) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียด ซึ่งจะทำให้อาการแย่ลง เนื่องจากจะไปลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะไม่หาย มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นในออก แต่อาการของผู้ป่วย ส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ด้วยยา และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากไม่อยากเป็น “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” เราต้องหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้มากขึ้น จัดสรรเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ สาเหตุเลี่ยงอาการกำเริบได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ และ โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์