พ่อแม่รับมืออย่างไร? ให้ลูกน้อยไม่เสี่ยง "ภูมิแพ้กำเริบ" ช่วงหน้าฝน
หน้าฝนนอกจากไข้หวัดที่ต้องระวังแล้ว ยังมีโรคภูมิแพ้ที่พ่อแม่ต้องใส่ใจเพื่อไม่ให้โรคกำเริบด้วย
ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก เด็กๆ ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วจะมีความเสี่ยงอาการภูมิแพ้กำเริบเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเยื่อบุโพรงจมูกของเด็กๆ กลุ่มนี้มีความไวต่ออากาศที่มีความเปลี่ยนแปลง ซึ่งนอกจากอุณหภูมิอากาศ “ไรฝุ่น” ที่เติบโตได้ดีในช่วงหน้าฝนที่มีอุณหภูมิประมาณ 25-27 องศาเซลเซียส ก็ยังเป็นสารก่อภูมิแพ้อันดับหนึ่งที่พบได้ในไทย รวมถึงเชื้อโรคและไวรัสที่ปะปนในอากาศ ทำให้การติดเชื้อก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กๆ อาการภูมิแพ้กำเริบง่ายในช่วงฤดูฝนแบบนี้
6 โรคยอดฮิต "เด็ก" เสี่ยงเป็นมากที่สุดในหน้าฝน
ฝนตกอากาศเปลี่ยนระวัง "ไข้หวัด" แนะพ่อแม่คุมเข้มสุขภาพ "เด็กเล็ก - วัยเรียน"
หน้าฝนแบบนี้! โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจยิ่งน่าเป็นห่วง
ในช่วงที่ฝนตกแทบทุกวันจนความชื้นในอากาศสูง ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจจำเป็นต้องระมัดระวังตนเองมากกว่าปกติ โดยโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบน เช่น เยื่อบุโพรงจมูก และส่วนล่าง เช่น หลอดลม ถุงลม ซึ่งทำให้เกิดโรคหอบหืดกำเริบได้ เนื่องจากโรคหอบหืดจะมีภาวะหลอดลมที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้ ต่ออากาศชื้น ทำให้เกิดอาการหลอดลมตีบ มีอาการไอ และหายใจไม่สะดวกได้
อาการภูมิแพ้ในเด็ก...ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
- กลุ่มภูมิแพ้เยื่อบุโพรงจมูก จะมีอาการเยื่อบุภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ ทำให้มีอาการคันจมูก คันตา มีน้ำมูก คัดจมูก จามในช่วงเช้าหรือช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงได้
- กลุ่มภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด มีอาการไอ หายใจไม่สะดวก
- กลุ่มภูมิแพ้ผิวหนัง ถ้าเด็กๆ กลุ่มนี้มีภาวะไวต่อไรฝุ่น และไปสัมผัสกับตัวไรฝุ่น ก็มีโอกาสที่อาการจะแย่ลงได้
สำหรับเด็กที่ผ่านการวินิจฉัยและตรวจหาสารก่อภูมิแพ้โดยแพทย์แล้ว จำเป็นต้องเฝ้าระวังอาการกำเริบในช่วงหน้าฝนเป็นพิเศษ แต่สำหรับเด็กบางรายที่วินิจฉัยจากอาการเบื้องต้น เช่น คัดจมูก คันจมูก จาม น้ำมูกไหล โดยยังไม่เคยผ่านการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ ควรเข้ามารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม ให้ทราบแน่ชัดว่ามีความเสี่ยงที่อาการภูมิแพ้จะกำเริบในช่วงฤดูฝนหรือไม่
เปิดวิธีปฏิบัติเมื่อ "เด็ก" ป่วยโควิด-19 ยาบรรเทาอาการระหว่างรอรักษา
รู้ก่อนแพ้ ทดสอบภูมิช่วยควบคุมอาการให้ถูกจุด
การตรวจวินิจฉัยหาสารก่อภูมิแพ้ มีวิธีอะไรบ้าง
- การทดสอบโดยการเจาะเลือดตรวจค่าการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้โดยตรง (Specific IgE) ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งภูมิแพ้อาหาร เช่น นมวัว ไข่แดง ไข่ขาว แป้งสาลี ถั่ว และภูมิแพ้ทางอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสุนัข ขนแมว
ข้อดีของการทดสอบโดยการเจาะเลือด คือ สามารถทดสอบในเด็กที่ไม่สามารถทำการทดสอบโดยการสะกิดทางผิวหนังได้ เช่น เด็กที่มีอาการแพ้รุนแรงจำเป็นต้องใช้ยาแก้แพ้ต่อเนื่องไม่สามารถหยุดยาได้ หรือเด็กที่มีผิวที่ไวต่อการสะกิด โดยผลตรวจเลือดจะใช้เวลาในการทดสอบ และทราบผลตรวจภายใน 3-5 วัน
- การทดสอบโดยการสะกิดผิว (Skin prick Test) โดยการนำสารสกัดภูมิแพ้มาหยอดลงบนผิวหนัง โดยตำแหน่งที่นิยมทำ คือ ท้องแขนหรือหลัง หลังจากนั้นใช้ปลายเข็มสะกิดเพื่อให้น้ำยาสามารถซึมเข้าสู่ใต้ผิวหนัง สังเกตปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ ประมาณ 15-20 นาที
วิธีเตรียมตัว "เด็ก-ผู้ปกครอง" ก่อนพาลูกน้อยไปหา "หมอฟัน"
หวั่น "โรคมือ เท้า ปาก" แนะ "ศูนย์เด็กเล็ก - โรงเรียน" คัดกรองเข้ม
ข้อดีของการทดสอบโดยการสะกิดผิว คือ หลังจากทำการทดสอบสามารถรู้ผลได้ทันที แต่มีข้อจำกัด คือ ต้องหยุดยาแก้แพ้ก่อนทำการทดสอบประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อป้องกันผลลบลวง หรือเด็กต้องมีผิวที่สามารถทำการทดสอบได้ เช่น ไม่ใช่ผิวที่ไวต่อการสะกิด เพราะอาจทำให้เกิดผลบวกลวงได้
การป้องกันภูมิแพ้กำเริบในช่วงฤดูฝน...ทำได้อย่างไร?
- ในเด็กที่เป็นภูมิแพ้และใช้ยารักษาอยู่แล้ว ให้ใช้ยาอย่างต่อเนื่อง มาพบแพทย์ตามนัด ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
- ถ้าอาการภูมิแพ้แย่ลง ให้รีบกลับมาพบแพทย์ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น ไซนัสอักเสบติดเชื้อ หรือเยื่อแก้วหูอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น
- ควรรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้อาการภูมิแพ้กำเริบได้
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท