เหล้าถูก-แพง ดื่มแล้วส่งผลต่อร่างกายอย่างไร ต่างกันหรือไม่
เหล้าถูก-แพง ดื่มแล้วส่งผลต่อร่างกายอย่างไร แม้ราคาย่อมเยาอาจทำให้คุณภาพของเครื่องดื่มต่ำกว่า แต่ใช่ว่าของราคาแพงจะไม่ใส่สารเติมแต่ง สิ่งสำคัญที่สุดคือปริมาณในการดื่มที่เหมาะสมมากกว่า
มีความเชื่อกันทั่วไปว่าแอลกอฮอล์ราคาถูก มีรสชาติรุนแรงกว่าและทำให้คุณเมาค้างหนักกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบรนด์เนมราคาแพงๆ
แต่การดื่มแอลกอฮอล์ราคาถูก จะมีผลเสียต่อร่างกายของคุณมากกว่านั้นจริงหรือไม่ มาร่วมหาคำตอบกัน!
ราคาถูกไม่ใช่คุณภาพต่ำ
แม้ว่าเรามักจะเชื่อมโยงราคาสินค้าเข้ากับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ แต่ก็มักจะไม่มีอะไรไปมากกว่าความเข้าใจผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเรื่องของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6 วิธีแก้เท้าเหม็น สร้างความมั่นใจถอดรองเท้าได้ทุกที่ไม่ต้องกลัวกลิ่น
พฤติกรรมเสี่ยง“เซ็กซ์เสื่อม” ที่ไม่ต้องรอสูงอายุก็เป็นได้
ต้องบอกว่า การได้รับความจดจำชื่อ หรือได้รับการรีวิวมาจากคนดัง อาจทำให้ผลิตภัณฑ์ราคาสูงขึ้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์จริงอาจมีคุณภาพด้อยกว่าราคาก็ตาม
การผลิตบางแง่มุม ก็มีผลโดยตรงผลต่อทุนของขวด เช่น ระยะเวลาการในการบ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งบ่มนาน สินค้าก็ยิ่งราคาแพง แต่ที่จริงแล้วระยะเวลาที่บ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นานกว่าไม่ได้แปลว่าจะดีกว่า ดังนั้นราคาที่ถูกกว่าไม่ใช่ตัวบอกมูลค่าที่แท้จริงว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะคุณภาพดีหรือด้อยกว่าได้อย่างแม่นยำเสมอไป
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากกว่า
แม้ว่าราคาจะไม่ใช่ตัวแทนของมูลค่าเสมอไป แต่ผลการวิจัยล่าสุดบางชิ้น เปิดเผยออกมาว่า อาการเมาค้างและผลข้างเคียงด้านลบๆ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายชนิด หากขวดนั้นราคาถูกที่สุดในชั้นวาง โอกาสที่คุณจะได้รับอาการเมาค้างจะสูงกว่าขวดอื่นๆ
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราคาถูกอาจส่งผลเสียที่อันตรายมากกว่า
มีงานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีส่วนประกอบของคอนเจนเนอร์สูง เช่น เหล้าดำ จะทำให้มีอาการเมาค้างรุนแรงกว่าค็อกเทลที่มีคอนเจนเนอร์น้อยกว่า
โดยทั่วไปแล้วเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีราคาแพงกว่ามักจะใช้กระบวนการกลั่นหรือกรอง เพื่อขจัดคอนเจนเนอร์เหล่านี้ ซึ่งตามทฤษฎีแล้วยิ่งกลั่นมากเท่าไร ของเหลวนั้นก็จะยิ่งมีความบริสุทธิ์มาก นั่นหมายความว่า ย่อมต้องใช้ต้นทุนสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่บริสุทธิ์จึงมักมีราคาสูงนั่นเอง
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราคาถูกอาจมีส่วนผสมที่ไม่ได้มาตรฐาน
หากผู้ผลิตตัดสินใจที่จะผลิตสุราที่คุ้มต้นทุนมากขึ้น ต้นทุนการผลิตจะต้องลดลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง และหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำเช่นนั้น คือ การลดต้นทุนด้านคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ ซึ่งส่วนผสมที่ขาดคุณภาพเหล่านี้ อาจปนเปื้อนด้วยโรคราน้ำค้างและแบคทีเรียได้
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราคาถูกอาจมีสารเติมแต่งมากกว่า
บริษัทต่างๆ อาจเติมสีย้อม สารแต่งกลิ่นสังเคราะห์ น้ำตาลแปรรูป และสารอื่นๆ ลงในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคุณ ให้มีลักษณะเฉพาะหรือเพิ่มรสชาติ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบสิ่งเหล่านี้ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราคาย่อมเยา
เพราะการใส่สารเติมแต่งในผลิตภัณฑ์อาจเป็นวิธีที่ประหยัดและรวดเร็วในการปกปิดปัญหาใดๆ ที่ผู้ผลิตอาจมีในการหมักหรือการกลั่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่น การเลือกใช้ “E150” หรือสารแต่งเติมที่ทำให้มีสีคาราเมล ลงไปในเครื่องดื่มเพื่อให้มีสีเข้มขึ้น ดูน่าดื่มมากกว่าเดิม
แม้ว่าสีย้อม อย่างที่บอกไว้ว่าอาจทำให้ดูน่าดื่มมากขึ้น แต่การวิจัยเบื้องต้นพบว่าสีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นี้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราได้ โดยมีผลการวิจัยใน “International Journal of Occupational and Environmental Health” พบว่า สีย้อมอาหารหรือเครื่องดื่มมีความสัมพันธ์ที่จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ความเป็นพิษต่อพันธุกรรม และทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงแบบฉับพลันได้ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นอีก แต่ก็ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ถูกย้อมสี เนื่องจากไม่ได้เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการใดๆ
ในทำนองเดียวกัน บางแบรนด์ยังเพิ่มรสชาติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยการใส่สารเพิ่มความหวานอย่าง “กลีเซอรีน” เข้าไปด้วย แม้ว่าสารให้ความหวานไม่ได้เป็นตัวการโดยตรงต่ออาการเมาค้าง แต่ก็สามารถทำให้ร่างกายของคุณแย่ลงได้ พูดง่ายๆ ก็คือ พวกมันทำให้อร่อยขึ้น ดังนั้นคุณจึงมีแนวโน้มที่จะดื่มมากเกินไปและดื่มมากเกินไป และถ้าคุณจิบของหวานจนติดเป็นนิสัย นอกจากจะปวดหัวเพราะน้ำตาลที่มากเกินไปแล้ว ยังสามารถเพิ่มการอักเสบในร่างกายได้
อย่างไรก็ตามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราคาแพง ก็อาจเติมสารเติมแต่งต่างๆ เพื่อให้รสชาติอร่อย หรือดูสวยงามน่าดื่มด้วยเช่นกัน
ปริมาณสำคัญกว่าคุณภาพ
แม้ว่าคุณภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ต่ำจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ แต่เมื่อเทียบกับปริมาณการดื่มแล้ว ปริมาณที่มากมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่า
เพราะนอกจากอาการปวดหัวและอาการเมาค้างแล้ว การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังทำให้เกิดอาการต่างๆ อย่าง วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ไม่สบาย ไม่มีสมาธิ ไวต่อแสงและเสียง กระหายน้ำ รวมถึงคลื่นไส้และอาเจียนได้
นอกจากนี้การดื่มหนักยังส่งผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของเราได้อีก ทำให้เสี่ยงเกิดอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล และหงุดหงิดได้
สำหรับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เหมาะสม แนะนำดังนี้
- เหล้าแดง/วิสกี้ 35% ปริมาณ 2 ฝาใหญ่
- เหล้าขาว 40 % ปริมาณ 2/3 เป๊ก
- เบียร์ 3.5 % ปริมาณ 1 กระป๋อง หรือ 1ขวดเล็ก
- เบียร์ 5 % เช่น เบียร์สิงห์ เฮเนเกน ลีโอ เชียร์ ไทเกอร์ ช้างดราฟ (ปริมาณ 3/4 กระป๋อง หรือ 3/4 ขวดเล็ก )
- เบียร์ 6.4 % ปริมาณ 1/2 กระป๋อง หรือ 1/3 ขวดใหญ่
- ไวน์ 12 % ปริมาณ 1 แก้ว (100cc)
- ไวน์คูเลอร์ 4 % ปริมาณ 1 ขวด (330cc)
- เหล้าปั่น ปริมาณ 2 ช็อท
สรุปได้ว่า แม้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในราคาย่อมเยาอาจมีกระบวนการผลิตหรือใส่สารเพิ่มเติมที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่า แต่ราคาไม่ใช่ตัวบ่งชี้คุณภาพทั้งหมด เพราะผลิตภัณฑ์ทั้งหมดต่างก็ผ่านการทดสอบ และตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคอยู่แล้ว ดังนั้นตราบใดที่กินในปริมาณที่พอเหมาะ ก็ถือว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก : Livestrong และ hd.co.th
ปลัด สธ.แจงย้าย "หมอสุภัทร" เป็นไปตามแนวทางปกติไม่ใช่เรื่องการเมือง
อย.เร่งตรวจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนำเข้าจากเกาหลีหลังพบปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง