เปิดลิสต์ 6 อาหารดีที่สุด-ยอดแย่ กินแล้วส่งผลต่อกระดูก
กระดูกเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยพยุงร่างกายของเรา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องบำรุงให้ดีที่สุด พร้อมเปิด 6 ลิสต์อาหารที่ดีที่สุดและยอดแย่ กินแล้วส่งผลต่อกระดูก
กระดูกเป็นรากฐานสำคัญของร่างกายที่เอาไว้รองรับอวัยวะทั้งหมด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องบำรุงรักษา เพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดีเมื่อเราอายุมากขึ้น
แต่บางครั้งเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากระดูกของเรา ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากกว่าที่เราคิด จนปล่อยให้อาการบาดเจ็บของกระดูกเกิดขึ้นก่อน
แต่ทำไมต้องรอให้อาการเหล่านั้นเกิดขึ้น โดยเฉพาะ "ผู้หญิง" ที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูกหลังวัยหมดประจำเดือนมากกว่าผู้ชาย
กระดูกหักเสี่ยงอะไรบ้าง รักษาไม่ถูกอาจพิการ เช็กวิธีป้องกัน-ดูแลรักษา
20 เมนูเพื่อผู้สูงอายุ ด้วย สมุนไพรบำรุงสมอง “พรมมิ”
วันนี้เราจึงรวบรวม 6 ลิสต์อาหารที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูก และเปิดเผยอีก 6 เมนูที่ควรหลีกเลี่ยงมาฝากทุกคนกัน เพราะถ้าไม่บำรุงรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ หากร่างกายมีมวลกระดูกน้อย ประสบอุบัติเหตุกระดูกหักขึ้นมา ประกอบกับการรักษาที่ไม่ถูกต้องอีก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นพิการได้
คนเราต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน
Anjali Mukherjee นักโภชนาการแนะนำว่าผู้ใหญ่ ต้องการปริมาณแคลเซียมอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยสารอาหารที่เราควรรับประทานเพื่อดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ แมกนีเซียม วิตามินเอ และวิตามินดี
สุขภาพของกระดูกที่ไม่ดี เสี่ยงโรคมากมาย
สุขภาพกระดูกที่ไม่ดี อาจทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้แก่
- โรคกระดูกอ่อน
- โรคกระดูกพรุน
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการหักของกระดูกจากการหกล้ม
6 ลิสต์อาหารเสริมแคลเซียม
“นม” ไม่ใช่ทางออกเดียว เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ยังมีอาหารอีก 6 ชนิดที่ควรกินในทุกๆ วัน เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอต่อวัน
- แครอท 6 แก้ว พร้อมน้ำผักโขม 50 กรัมทุกวัน มีแคลเซียมสูงถึง 300 มิลลิกรัม และเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อผิวหนัง
- ธัญพืชส่วนใหญ่ เช่น ถั่วแดงหลวง (Rajma) หรือ ถั่วลูกไก่ (Kabuli chana) มีแคลเซียมระหว่าง 200-250 กรัม
- กินงาขาว และงาดำ ประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะทุกวัน
- ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า บรอกโคลี ดีต่อกระดูกมาก เพราะมีไฟเบอร์ วิตามินต่างๆ และธาตุเหล็กที่จำเป็นต่อกระดูก
- การบริโภคโปรตีนให้เพียงพอ เช่น ถั่วเปลือกแข็ง ไข่ พืชตระกูลถั่ว และถั่วเลนทิล ต่างอุดมไปด้วยโปรตีน และสารอาหารที่สำคัญต่อกระดูก
- อาหารที่อุดมด้วยซิตรัส เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ควรเป็นแผนในการรับประทานอาหารของคุณ เช่น เบอร์รี่ ส้ม และ องุ่น ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินซี และสารอาหารที่จำเป็นต่อกระดูก
6 อาหารทำลายกระดูก
- อาหารโซเดียมสูง
- อาหารว่างที่มีน้ำตาลสูง
- น้ำอัดลม ที่มีน้ำตาล คาเฟอีน และมีกรดฟอสฟอริก ที่ส่งผลต่อมวลของกระดูก
- เครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูงหรือมากเกินไปในรูปแบบของกาแฟหรือชา อาจทำให้สูญเสียแคลเซียมจากกระดูกได้
- การบริโภคโปรตีนจากสัตว์มากเกินไป
- การสูบบุหรี่และยาสูบ ทำให้สูญเสียแคลเซียม
กระดูกต้องการแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง ดังนั้นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม หรือสารอาหารที่ช่วยให้เกิดการดูดซึมแคลเซียมได้ดี อย่าง แมกนีเซียม วิตามินเอ และวิตามินดี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราควรรับประทานในทุกๆ วัน นอกเหนือจากนี้ ยังรวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันที่ระมัดระวัง พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อมวลของกระดูกด้วย เพราะถ้าปล่อยให้กระดูกหัก รักษาไม่ถูกวิธี อาจถึงขั้นพิการถาวรได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : India.com
สัญญาณ “มะเร็งกระดูก” คนอายุน้อยก็เสี่ยง! เจอเร็วรีบรักษาโอกาสหายขาดมากกว่า
เทรนด์สุขภาพ เวชศาสตร์ป้องกัน “Preventive Medicine”ดูแลตัวเองได้ไม่ต้องรอให้เกิดโรค