“กล้วยหอม”ผลไม้เติมความสดชื่น ป้องกันท้องผูก แต่กินเกินอาจแคลอรีพุ่ง!
กล้วยหอม ผลไม้สุดเฮลตี้ กินแต่พอดีได้ประโยชน์หลายด้านเพราะจัดเป็นผลไม้อารมณ์ดีเติมความสดชื่นให้กับร่างกาย กลับกันแคลอรี-โพแทสเซียมสูงเช่นกัน เผยควรกินวันละกี่ลูก- ใครไม่ควรกิน!
กล้วยหอม จัดว่าเป็นผลไม้ที่หากินได้ง่าย และนับเป็นตัวเลือกเพื่อสุขภาพที่คนที่ชื่นชอบการออกกำลังกายและนักกีฬาชอบกินเพื่อเพิ่มพลังงานและเอนเนอจี้ในการออกกำลังกายหนักๆ เช่นเดียวกับผู้ต้องการดูแลหุ่นด้วย ไม่ว่าจะกินสด หรือผสมลงไปในขนมเพื่อสุขภาพ และกินกับโยเกิร์ต ต่างๆ จะเห็นได้ว่านอกจากอร่อยหอมหวานแล้ว ยังเต็มไปด้วยวิตามิน ใยอาหาร แถมอิ่มท้องอีกด้วย!
ประโยชน์กล้วยหอม
- เติมความสดชื่นให้ร่างกาย
เนื่องจาก กล้วยหอม มีน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด คือ น้ำตาลซูโครส ฟรักโตส และกลูโคส
8ประโยชน์"กล้วย"ป้องกันโรคทางสมองมีฤทธิ์ต้านมะเร็งช่วยลดซึมเศร้าได้
“กล้วยน้ำว้า” สรรพคุณสมุนไพร กินได้ทั้งผลดิบและสุกช่วยสุขภาพลำไส้
ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายพร้อมนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที หากอยากเติมพลังให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า กล้วยหอมสักลูกก็ช่วยได้ โดยเฉพาะหากกินกล้วยหอมหลังออกกำลังกาย ร่างกายก็จะรู้สึกสดชื่นขึ้น
- ช่วยคลายเครียด
กล้วยหอมมีกรดอะมิโนประเภททริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีส่วนช่วยกระตุ้นเซโรโทนิน ฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย คนที่มีความเครียดหรือรู้สึกกังวลใจ ลองหยิบกล้วยหอมมากินสักลูกก็อาจจะช่วยให้เครียดน้อยลงได้ จึงมีส่วนช่วยในการนอนหลับ ไปด้วย
- ช่วยย่อยอาหาร
กล้วยหอมเป็นผลไม้ที่มีกากใยสูง เป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งมีส่วนช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหารคล่องตัวมากขึ้น แนะนำให้รับประทานผัก-ผลไม้ชนิดอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นใครมีอาการท้องผูกบ่อย ๆ ลองกินกล้วยหอมให้ได้ทุกวัน วันละ 1 ลูก แล้วพยายามดื่มน้ำให้มาก อาการท้องผูกถ่ายยากก็น่าจะดีขึ้น
- กินกล้วยหอมลดความอ้วนก็ได้
กล้วยหอมไม่ใช่ผลไม้แคลอรีต่ำ เพราะแคลอรีในกล้วยหอม 1 ลูกย่อม ๆ ก็ให้พลังงานประมาณ 132 กิโลแคลอรี ทว่า กล้วยมีวิตามิน B1 และ B2 คอยช่วยเร่งการเผาผลาญน้ำตาลและไขมัน อีกทั้งยังมีคาร์โบไฮเดรตชนิดดีต่อร่างกาย มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ ดังนั้นเมื่อกล้วยตกเข้าไปในระบบย่อยอาหารจึงดูดซับน้ำ พองตัวและช่วยทำให้ท้องรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น
- ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
กล้วยเป็นผลไม้สีขาว ที่มีสารพฤกษเคมีที่สำคัญคือ อัลลิซิน (Allicin) และแร่เซเลเนียม (Mineral Selenium) ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ส่วนหนึ่ง ทั้งนี้พฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ ได้
- ป้องกันตะคริวได้
สำหรับใครที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ มีอาการตะคริวเป็นประจำ นั่นแปลว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณว่าต้องการสารอาหารประเภทแมกนีเซียมและโพแทสเซียมอยู่ ซึ่งกล้วยหอมก็เป็นผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมค่อนข้างสูง จึงอาจมีส่วนช่วยในจุดนี้กล้วยหอมก็พอช่วยได้
“กล้วยไข่” ประโยชน์ไม่จิ๋ว สารเซโรโทนินลดความเครียด-ป้องกันโรคกระเพาะ
โทษของกล้วยหอม
- ผู้ป่วยโรคไต ควรรับประทานกล้วยหอมแต่น้อย หรือเลี่ยงไปเลยก็ได้ เพราะกล้วยหอมเป็นแหล่งของสารโพแทสเซียม อาจส่งผลกระทบต่ออาการของผู้ป่วยโรคไตได้
- ไม่ควรกินกล้วยหอมมากเกินขนาด สักวันละ 1-2 ลูกก็เพียงพอ เพราะกล้วยหอมเป็นผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตค่อนข้างสูง หากกินกล้วยหอมร่วมกับอาหารประเภทแป้งเยอะ ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้องเอาได้ โดยเฉพาะคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ฉะนั้นเลือกกินอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ รวมทั้งควบคุมอาหารไปพร้อม ๆ กันจะดีกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เอสเปรสโซ (Espresso) ต่างกับ กาแฟดำ(Black Coffee) อย่างไร?
นั่งนาน ทำงานหนัก! เลือกกินแบบไหน? บำรุงร่างกายทั้งระบบ ลดปวดหลัง-ป่วยบ่อย!