อาหารกระตุ้นไมเกรน ผู้ป่วยควรเลี่ยงไปก่อน เสี่ยงเรื้อรังหายยาก!
เปิดลิสต์ 7 อาหาร ที่คนเป็นไมเกรนควรเลี่ยงไปก่อน มีส่วนประกอบของสารไทรามีน-ฮีสตามีน และไนเตรต ที่มีผลทำปวดไมเกรนหากผู้ป่วยมีความไวอาการก็อาจกำเริบได้ทันที
ไมเกรน (migraine) โรคปวดหัวชนิดหนึ่ง ะอาการสำคัญ คือ ปวดตุ้บๆ ที่บริเวณขมับข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางครั้งเป็นๆหายๆ หรือลากยาวหลาย ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงที่มีปัญหาความเครียดต่างๆ หรือในสถานการณ์ที่มีแสงจ้า เสียงดัง แต่รู้หรือไม่? อาหารก็มีส่วนกระตุ้นอาหารได้ ซึ่งหากวันไหนเป็นหนักเป็นถี่ควรเลี่ยงในช่วงนั้นไปก่อน
อาหารที่กระตุ้นให้ไมเกรน
- กล้วยและผลไม้ตระกูลซีตรัส การกินกล้วยแก้หิวระหว่างวันอาจจะดีต่อสุขภาพ แต่ในกล้วยมีส่วนประกอบของสารไทรามีนและฮีสตามีนที่มีผลทำปวดไมเกรน
รวมไปถึงผลไม้ตระกูลซีตรัส อย่าง ส้ม มะนาว ก็ทำให้เกิดอาการปวดหัวรุนแรงได้เช่นกัน
- ช็อกโกแลต โดยเฉพาะขนมที่มีส่วนผสมทั้งนม เนย น้ำตาล ทำให้ยังไม่มีการวิจัยที่ระบุแน่ชัดว่า “เพราะอะไร?” ช็อกโกแลตจึงมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน แต่เพื่อป้องกันและลดอาการปวด จึงควรหลีกเลี่ยงช็อกโกแลตไปก่อน
- เนยแข็งหรือชีส ด้วยสารไทรามีนที่เป็นส่วนประกอบของเนยแข็งและชีส ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีความไวต่อสารนี้เกิดอาการปวดไมเกรนได้ง่าย
- ขนมปัง ที่มีทั้งส่วนผสมของทั้งยีสต์และสารไทรามีนจากชีส กระตุ้นไมเกรนได้ หากอยากกินขนมปังแนะขนมที่ไม่มีส่วนผสมดังกล่าว
- เนื้อสัตว์แปรรูป อาทิ เบคอน ไส้กรอก หรือเนื้อสัตว์รมควัน คุณอาจไม่เคยรู้เลยว่าสารกันบูด อย่าง ไนเตรต มีผลกระตุ้นทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และหากผู้ป่วยมีความไวต่อสารนี้อาการก็อาจเกิดขึ้นได้ในทันที!
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นเมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกิดจากสารไทรามีนที่เข้าไปลดระดับสารเซโรโทนินในสมอง ทำให้รู้สึกปวดหัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะ “ไวน์แดง” ที่มีผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
- ชา กาแฟ บางคนเชื่อว่าดื่มชากาแฟแล้วมีอาการปวดหัว นั่นเป็นเพราะคาเฟอีนที่อยู่ในชากาแฟจะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนและไวต่อสารนี้จึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน
อย่างไรก็ตามอาหารเหล่านี้เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น! เพราะยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่สามารถกระตุ้นอาการปวดหัวได้ ทางที่ดีควรสังเกตว่าตัวเองมีอาการปวดไมเกรนหลังจากกินอะไร? เพราะการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการ จะช่วยให้คุณถอยห่างจากไมเกรนได้ในที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 1