ทำความรู้จักอย่างเข้าใจ... “โรคอารมณ์สองขั้ว” (BIPOLAR DISORDER)
ทำความรู้จัก BIPOLAR DISORDER “โรคอารมณ์สองขั้ว” ไม่ใช่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเดี๋ยวสนุกเดี๋ยวเศร้า
การมีความรู้เกี่ยวกับโรค ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว นี้ช่วยให้สามารถเข้าใจและให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีอาการได้อย่างถูกวิธี รวมทั้งสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากอาการของโรคนี้ได้
โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) คือ โรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ระหว่างช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (Depression) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ระยะเวลาในแต่ละช่วงอาจอยู่เป็นสัปดาห์หรือเดือน โดยมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางได้
แนะวิธีสังเกตคนข้างกายมีภาวะ..."โรคซึมเศร้า" หรือไม่?
ทำความรู้จัก "Broken Heart Syndrome" เครียดเกินไปอาจทำร้ายหัวใจคุณ
ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการซึมเศร้าและคิดว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตามแพทย์จะซักประวัติและติดตามลักษณะอาการขณะรักษาเพื่อใช้วินิจฉัยในการแยกโรค
มีสาเหตุ และปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือมีสารเคมีบางอย่างในสมองผิดปกติไป ซึ่งอาการของโรคไบโพลาร์จะเกิดขึ้นเมื่อมีสารสื่อประสาทนอร์อะดรีนาลีน เซโรโทนิน และโดปามีน ในระดับที่ไม่สมดุลกัน ซึ่งจะทำให้มีอารมณ์ดี อยู่ในภาวะร่าเริงผิดปกติ และจะมีภาวะซึมเศร้า เบื่อหน่าย สลับกันไป นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุจากพันธุกรรม ผู้ป่วยไบโพลาร์มักมีญาติที่ป่วยเป็นโรคนี้หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางอารมณ์ โดยเฉพาะญาติสายตรง อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ป่วยได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกที่กระทบกระเทือนต่อสภาพจิตใจ เช่น ความผิดหวัง ความเสียใจอย่างรุนแรงหรือฉับพลัน การเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นต้น
แนะอาหารสมอง...ต้องเลือกให้เป็นป้องกันการเสื่อมได้
อาการอารมณ์สองขั้วช่วงอารมณ์ดี
มั่นใจในตัวเองเพิ่มมาก
นอนน้อย
พูดมากกว่าปกติหรือพูดอย่างไม่หยุด
ความคิดแล่นเร็ว
วอกแวกง่าย
อยากทำอะไรหลาย ๆ อย่างในช่วงเวลานั้น
หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำให้เกิดปัญหา เช่น ใช้จ่ายหรือลงทุนเยอะ ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ ฯลฯ
อาการอารมณ์สองขั้วช่วงอารมณ์ซึมเศร้า
ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง
เบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารมากเกิน
นอนไม่หลับหรือหลับมากไป
กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้ามากขึ้น
อ่อนเพลีย
รู้สึกตนเองไร้ค่า
สมาธิลดลง
คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อย ๆ
แนะวิธีสังเกตคนข้างกายมีภาวะ..."โรคซึมเศร้า" หรือไม่?
วิธีรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว
การรักษาด้วยยา
กลไกของยา คือ การปรับสารเคมีในสมอง ยาจะช่วยทำให้อารมณ์มั่นคงและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักกังวลกับผลข้างเคียงของยา ประเด็นนี้ผู้ป่วยสามารถปรึกษาและร่วมแสดงความคิดเห็นกับแพทย์ระหว่างที่ปรึกษา เพื่อปรับยาให้เหมาะสมในแต่ละราย กลุ่มยาที่ใช้ในโรคอารมณ์สองขั้ว ได้แก่ ยาควบคุมอารมณ์ ยาต้านโรคจิต ยาต้านเศร้า (มักใช้ช่วงสั้น ๆ ในระยะที่มีอาการซึมเศร้า)
การรักษาด้วยจิตบำบัด
ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วมักเจอกับปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่เป็นผลจากโรค การทำจิตบำบัดจึงมีประโยชน์มาก ผู้ป่วยจะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองและการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมบำบัดอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด และโยคะ
การรักษาด้วยไฟฟ้า
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก หรือตัวโรคตอบสนองต่อยาไม่ดีเท่าที่ควร ECT เป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพดี โดยกระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นสมองเพื่อปรับสารเคมีต่าง ๆ ผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด บางรายอาจมีปัญหาด้านความจำช่วงสั้น ๆ แต่ยังไม่พบว่า ECT มีผลเสียต่อสมองในระยะยาว
ภาวะแทรกซ้อนที่มากับโรคทางอารมณ์ไบโพลาร์
การเป็นโรคนี้ไม่ใช่แค่มีผลทางด้านอารมณ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลข้างเคียงและภาวะที่สามารถเกิดแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้มากมายไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับทางจิต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความผิดปกติที่เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือโรคเกี่ยวกับสมาธิ เป็นต้น
“SEXUAL HEADACHE” อาการปวดหัวระหว่างมีเพศสัมพันธ์
อย่างไรก็ตามคุณลองสังเกตตนเองและคนข้างกาย ถ้าเข้าข่ายโรคไบโพลาร์ให้รีบไปตรวจวินิจฉัย หากรู้เร็ว ยอมรับตัวเองได้ และเข้ารับการรักษาก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้
ขอขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ