ถอดบทเรียนเหตุ“กราดยิง”ปัญหาด้านสุขภาพจิต ความเครียดสู่ความรุนแรง
กรมสุขภาพจิตแนะอย่าปล่อยให้ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ ทุกอย่างเริ่มที่ครอบครัว หมั่นสังเกตุคนในครอบครัวหากพบสัญญาณเตือนให้เร่งแก้ไขก่อนนำไปสู่เหตุสลด
จากกรณี ส.ต.อ.ปัญญา คำราบ (ตร.นอกราชการ) คนร้าย ก่อเหตุกราดยิงหนองบัวลำภู ในศูนย์เด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ จ.หนองบัวลำภู มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และ เสียชีวิตหลายราย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ก่อนหน้านี้ ทีมข่าว พีพีทีวีออนไลน์ ได้มีโอกาสสอบถามเพื่อถอดทบเรียนความรุนแรงและปัจจัยการก่อเหตุ ไปยัง ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นและโฆษกกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่าแรงจูงใจในการทำร้ายตนเองและคนอื่นในแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไปแต่ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เริ่มต้นด้วยความเครียด
ด่วน! กราดยิง "ศูนย์เด็กเล็ก" หนองบัวลำภู เบื้องต้นเสียชีวิตหลายราย
นายกฯ สั่งการด่วน เร่งล่าคนร้ายกราดยิง “ศูนย์เด็กเล็ก”หนองบัวลำภู
รวมทั้งความรู้สึกไม่สมดุลในจิตใจการอัดอั้นความโกรธแค้นไม่มีที่ระบายออกอย่างถูกต้องซึ่งอาจจะออกมาในลักษณะการทำร้ายตัวเองจนบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมไปถึงการทำลายข้าวของหรือสิ่งมีชีวิตและคนที่อยู่รอบข้างด้วย
ดร.นพ.วรตม์ ได้วิเคราะห์ต่อว่าในการการทำร้ายคนอื่นจนเสียชีวิตขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และอาวุธที่ใช้โดยในต่างประเทศเราจะเห็นภาพข่างกราดยิงโดยใช้อาวุธแบบหมู่เพราะอาจจะมีการเปิดอิสระทางอาวุธค่อนข้างมาก ซึ่งในไทยมีความแตกต่างจึงทำให้พบกรณีกราดยิงจากผู้ที่มีอาวุธติดตัวและครอบครองได้อิสระ อย่างเช่น เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายต่างๆ โดยปัจจัยการก่อเหตุไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความเครียดที่เจอจึงค่อนข้างวัดกันยาก
ทีมข่าวได้ถามต่อว่าทางกรมสุขภาพจิตได้มีการเตรียมรับมือจากพฤติกรรมลอกเลียนแบบอย่างไรนั้น ดร.นพ.วรตม์ ระบุว่า การนำเสนอของสื่อเป็นเรื่องสำคัญถ้านำเสนอความรุนแรงเป็นแค่ความรุนแรงก็จะทำให้ถูกมองว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติและทำได้และได้รับการยอมรับหรือเป็นที่รู้จักก็นับว่ามีความเสี่ยงและอันตราย ซึ่งไม่ใช่แค่เด็กแต่ผู้ใหญ่ก็มีความเสี่ยงจากสื่อได้เช่นกัน หากเปลี่ยนมานำเสนอในแง่ของการป้องกัน และตระหนักไว้เสมอว่า ความรุนแรงใหญ่ๆ มักเกิดจากสัญญาณเล็กๆ
กลุ่มเสี่ยงตามช่วงอายุ
- กลุ่มก่อความรุนแรงต่อตนเองถึงขั้นเสียชีวิต มักเกิดกับผู้ที่มีอายุ เฉลี่ย 60-70ปีขึ้นไป ปัจจัยความสัมพันธ์และโรคประจำตัวทางกายทางจิต การใช้สุราสารเสพติด
- กลุ่มก่อความรุนแรงทำร้ายคนอื่น จะเป็นพวกกลุ่มวัยกลางคน กลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและไม่ได้ทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน และมีความเครียดสูง เช่นกลุ่มอาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมเยอะ อาทิ หมอ,พยาบาล บุคลากรด้านสาธารสุขหรือว่ากลุ่มอาชีพมีกฎระเบียบเคร่งครัด ผู้บังคับใช้กฎหมายเช่น ตำรวจ,ทหาร รวมถึงผู้ที่มีระยะเวลาทำงานยาวนานและทำงานช่วงกลางคืน เช่น ศิลปิน,นักร้อง,นักแสดง โดยแนะนำว่าต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพจิตตัวเองให้มาก รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอด้วย
ดร.นพ.วรตม์ ระบุว่า คอนเทนส์ในปัจจุบันมีการควบคุมยากหลากหลาย กลับกันผู้รับชมเองก็ควบคุมได้น้อยเช่นกันซึ่งอาจจะเกิดจากช่องว่างของคนในครอบครัวที่คือจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง ซึ่งเราไม่ควรรู้สึกเฉยชากับความรุนแรงเพราะจะไม่รู้ว่าควรจัดการกับความรุนแรงได้อย่างไร ซึ่งควรนำเอากรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาถอดบทเรียนและเรียนรู้แทน
สอนลูกติดเกราะป้องกันบูลลี่และไซเบอร์บูลลี่ลดปัญหาแผลใจระยะยาว
สัญญาณในเด็กที่เสี่ยงเกิดความรุนแรงนั้นพ่อแม่สามารถสังเกตและหาต้นตอจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น
- พูดคำหยาบต่อว่ารุนแรง ว่า มาจากคนในครอบครัวที่ทำเป็นเรื่องปกติหรือไม่
- ทุบตีคนในครอบครัว ต้องสังเกตว่าคนในครอบครัวหรือคนรอบข้างทุบตีเขาหรือไม่
ซึ่งต้องหาสาเหตุต้นตอของความรุนแรงมาจากไหนและหากไม่เจอต้นตอต้องไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพราะอาจจะเกิดจากปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาทางสมอง
สัญญาณเด็กป่วยทางจิตคือการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างชัดเจนและควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
- ด้านอารมณ์ เช่น โมโหร้าย,ซึมเศร้า,เก็บเนื้อเก็บตัว,ขี้กังวล
- ความคิด เช่น พลุ่งพล่านหยุดไม่ได้,ช้าจนคิดอะไรไม่ออก
- พฤติกรรม เช่นเก็บตัว ไม่อาบน้ำ ใช้สุราสารเสพติด
สรุปสุดท้ายความรุนแรงล้วนเป็นสัญญาณจากครอบครัวและคนรอบข้างเป็นอับดับแรก ฉะนั้นหากรักใคร อย่าปล่อยให้ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ
“ภาวะหลงผิดคิดว่ารัก”มโนว่าเขามีใจจนถึงขั้นคุกคามจนอีกฝ่ายหวาดกลัว
โรคซึมเศร้า โรคที่ต้องการยาและคนเข้าใจ มากกว่าผู้ตัดสิน