"โกหกจนเป็นนิสัย"และเทคนิค "จับคนโกหก" ตามหลักจิตวิทยา
รู้หรือไม่ ? นักจิตวิทยาแบ่งประเภทการโกหกและเหตุผลการโกหกเอาไว้พบหลายคนไม่รู้ตัวว่าตัวเองหรือคนรอบข้างโกหกจนเป็นนิสัย เผยเทคนิคง่ายๆจับผิดคนขี้โกหก 3 ข้อ
ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาการโกหก หมายถึง การที่ผู้พูดบอกข้อมูลเท็จให้กับบุคคลอื่น โดยที่ผู้พูดรู้ว่าไม่ใช่ความจริงทั้งหมดโดยจงใจ วัตถุประสงค์ของการโกหกไม่เพียงเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการหลอกลวงเท่านั้น แต่ยังเพื่อให้สำเร็จในการโน้มน้าวใจบางสิ่ง นักจิตวิทยา พบว่า มีแรงจูงใจมากมายในการโกหก เช่น รักษาหน้าตา หลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า มีอิทธิพลเหนือผู้อื่น สร้างความประทับใจ การขอความช่วยเหลือและสนับสนุน รวมถึงเพื่อทำร้ายผู้อื่น
13 ท่านั่งที่ชอบ เช็กเลยนั่งแบบไหนเป็นคนอย่างไรตามหลักจิตวิทยา
รู้จัก “โรคหลอกตัวเอง” โกหกเก่ง เป็นโรคจิตเวช ? พร้อมวิธีสอนเด็กไม่ให้โกหก
Lindgkold และ Walters (1983) จัดรูปแบบการโกหกเป็น 6 ประเภท โดยเรียงลำกับที่มีการยอมรับมากที่สุดถึงน้อยที่สุด คือ
- การโกหกเพื่อช่วยผู้อื่นจากความเจ็บปวดที่เล็กน้อย ความอับอาย หรือความละอาย
- การโกหกเพื่อปกป้องตนเองหรือบุคคลอื่นจากการถูกลงโทษหรือความไม่พอใจ สำหรับการล้มเหลวเล็กน้อย หรือการทำผิดพลาดร้ายแรงจากความสะเพร่าซึ่งทำร้ายบางคน
- การโกหกเพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อคนอื่นในตำแหน่งหน้าที่การงาน เช่น ในทางที่ได้รับการตอบสนองที่ได้ประโยชน์ต่อตนเอง แต่ไม่เป็นการทำร้ายผู้อื่น
- การโกหกเพื่อให้ตนเองดูดีกว่าความเป็นจริง หรือปกป้องผลประโยชน์บางอย่าง
- การโกหกเพื่อสิ่งหนึ่ง ซึ่งถ้าสำเร็จจะทำให้ตนเองได้ประโยชน์
- การโกหกเพื่อทำร้ายคนอื่นแต่ตัวเองได้ผลประโยชน์
อย่างไรก็ตาม สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ระบุเอาไว้ว่า ยังมี
- การโกหกตัวเอง (Pathological Liar) มีรากภาษาละตินว่า Pseudologia fantastica หมายถึงภาวะการโกหกที่ควบคุมไม่ได้ โดยการโกหกตัวเองแบบนี้ เชื่อว่าเป็นการหนีปัญหารูปแบบหนึ่ง และมักจะมีการแต่งเติมสิ่งที่ขาดไปด้วยการจินตนาการตามสภาพที่อยากเป็น ผู้ป่วยที่มีอาการโกหกตัวเอง อาจมีลักษณะต่อต้านสังคม ขาดสังคม หรือ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
- การโกหกเป็นนิสัย (Compulsive Liar) การโกหกเป็นนิสัยเป็นการลวง หรือให้ความบิดเบือนต่อผู้อื่นซึ่งเจ้าตัวยังรู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร
ภาวะสองชนิดนี้ความแตกต่างกันคือ ถ้าเป็นโรคโกหกตัวเองแล้วเขาจะหลอกแม้แต่ความทรงจำของตัวเองส่วนโรคโกหกเป็นนิสัยบุคคลเหล่านี้ ยังรู้ว่าความจริงและความเท็จต่างกันอย่างไร อาจโกหกเพื่อเอาตัวรอด โดยยังสามารถแยกแยะสิ่งที่เป็นจริงกับเรื่องที่โกหกได้ หากทำมานาน ทำไปก็คงไม่รู้สึกดี กับตัวเองเท่าไรนัก ควรจะบำบัดแก้ไขตัวเองด้วยการเริ่มพูดความจริง ในทุกเรื่อง จะสบายใจกว่ากันมาก หากรู้ตัวและไม่สามารถควบคุมได้อาจมองหาตัวด้วยอย่างนักบำบัด หรือโทร 1323 สายด่วนกรมสุขภาพจิต ก็เป็นทางออกที่ดีไม่น้อย
พฤติกรรม "การนอกใจ" ทั้งหญิงและชายตามหลักจิตวิทยาและผลการวิจัย
การจับผิดคนโกหกตามหลักจิตวิทยา
- สัญญาณด้านอารมณ์ความรู้สึก
ผู้พูดอาจเกิดความรู้สึกกลัวว่าจะถูกจับได้ว่ากำลังโกหก ย่อมมีร่องรอยของอารมณ์ความรู้สึกที่ซ่อนอยู่รั่วไหลออกมาทางสีหน้า ท่าทาง หรือแม้แต่น้ำเสียง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติที่ยากจะควบคุมไว้ให้แนบเนียนได้ตลอดเวลา เมื่อผู้พูดเกิดความรู้สึกกลัวว่าจะถูกจับได้ว่าโกหก เราอาจสังเกตเห็นสัญญาณของความกลัว ซึ่งแสดงออกมาได้หลายอย่าง เช่น พูดด้วยน้ำเสียงที่สูงกว่าปกติ พูดเร็ว และดังกว่าปกติ พูดติดขัด พูดผิดบ่อย ๆ ผู้พูดอาจเกิดความรู้สึกผิด หรือละอายที่พูดโกหก สัญญาณต่าง ๆ ที่แสดงถึงความรู้สึกละอายใจหรือรู้สึกผิดก็จะรั่วไหลออกมาให้เราสังเกตได้ เช่น มักเหลือบตามองลงต่ำบ่อย ๆ
- สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางปัญญา
คนที่กำลังพูดโกหกจึงอาจมีกิริยาท่าทางที่แสดงให้เห็นถึงการที่ต้องใช้ความพยายามทางความคิดมากกว่าปกติ เช่น การตอบสนองกลับ เช่น การตอบคำถามจะช้ากว่า มีท่าทีลังเลในการพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้มือไม้ประกอบจะน้อยลงกว่าปกติ เพราะเกิดอาการเกร็ง จดจ่ออยู่กับการตั้งใจแต่งเรื่องให้สมเหตุสมผลให้มากที่สุด และควบคุมกิริยาอาการไม่ให้มีพิรุธนั่นเอง และหากต้องทำอะไรที่ใช้ความคิดไปด้วย คนที่กำลังโกหกมักทำงานนั้นได้ไม่ดี เช่น จำข้อมูลอื่น ๆ ที่เข้ามาในขณะนั้นไม่ค่อยได้ เพราะสมองกำลังยุ่งอยู่ สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ข้อสังเกตนี้จะใช้ได้ดีก็เมื่อคนที่พูดกับคุณคือคนที่คุณรู้จักหรือเคยคุยด้วยแล้ว เพราะการตอบช้า พูดช้า ไม่มีเกณฑ์สากลตายตัว แต่เป็นการเปรียบเทียบกับเวลาปกติที่คนคนนั้นพูดความจริงมากกว่าค่ะ บางคนอาจเป็นคนคิดช้าตอบสนองช้าโดยธรรมชาติอยู่แล้วนะคะ นอกจากนั้น ท่าทีลังเลก็อาจเป็นเพราะเรื่องที่กำลังพูดเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนก็ได้
- ลักษณะของเรื่องราวและคำพูด
เรื่องราวที่เป็นเรื่องโกหก หากผู้พูดไม่มีโอกาสเตรียมตัวซักซ้อมการเล่าเรื่องมาก่อน เรื่องราวที่เล่าก็จะไม่ค่อยราบรื่น เนื้อเรื่องมักมีแต่ข้อมูลพื้น ๆ ไม่มีรายละเอียด คลุมเครือ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ไม่บอกเวลาหรือสถานที่ที่แน่ชัด นักจิตวิทยาให้เหตุผลว่า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเรื่องโกหกเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เวลาแต่งเรื่องภายในเวลาที่จำกัด คนเราก็มักสร้างเรื่องราวที่น่าจะเป็นไปได้เท่าที่นึกออกในขณะนั้น ซึ่งเมื่อไม่ได้เกิดจากประสบการณ์จริง ก็ย่อมไม่สามารถนึกถึงรายละเอียดที่จำเพาะเจาะจงอะไรได้มากไปกว่าข้อมูลคร่าว ๆ แต่บางที ถ้าผู้พูดเตรียมตัวมาดีเกินไปก็จะดูเหมือนซ้อมมา ท่องบทมา และราบรื่นเกินไปจนไม่น่าเชื่อ
ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย