รู้จัก “โรคหลอกตัวเอง” โกหกเก่ง เป็นโรคจิตเวช ? พร้อมวิธีสอนเด็กไม่ให้โกหก
รู้หรือไม่ ? โกหกบ่อย โกหกเก่ง ก็เป็นโรคจิตเวชได้ เช็กอาการตัวเองและคนรอบข้าง(ห้ามโกหกตัวเอง) พบแพทย์มีโอกาสหายได้
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีอาการโกหกตัวเอง ว่าโรคโกหกตัวเอง หรือ โรคหลอกตัวเอง ทางการแพทย์ไม่มีชื่อโรคดังกล่าวระบุไว้ในสารบบ เพียงแต่เป็นภาวะของคนที่มีข้อจำกัดทางจิตใจ มีความคิดที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อตัวเอง และผู้อื่น
โรคหลอกตัวเองมี 2 ลักษณะคือ
- รู้ตัวดีแค่โกหก มีจินตนาการถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่ตนเองปรารถนา กลุ่มนี้ยังรู้ถึงความจริงว่าตนเองเป็นใคร คืออะไร
ป่วยจริงไม่หงายการ์ด “ป่วยจิตเวช” แบบไหนละเว้นโทษได้
รู้จัก “ไซโคพาธ” โรคผิดปกติต่อต้านสังคม ที่มักพบในฆาตกรต่อเนื่อง
- ไม่รู้ตัวว่าโกหก คนที่มีจินตนาการถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ขณะที่มีจินตนาการอยู่นั้นก็ลืมความจริงไปเลยว่า ตนเองเป็นใคร เป็นอย่างไร
การจินตนาการถึงสิ่งที่ไม่เป็นจริงได้แบ่งเป็น 3 ขั้น
- ขั้นแรก การมีความสุขที่ได้จินตนาการในสิ่งที่ตนเองปรารถนา ตอบสนองสิ่งที่ตนเองคิด
- ขั้นที่ 2 อาจจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ ชื่นชมในสิ่งที่ตัวเองได้โกหกออกไป
- ขั้นที่ 3 เมื่อโกหกตัวเอง โกหกคนอื่น เช่น เมื่อโกหกแล้วมีชื่อเสียงเงินทองเพิ่มมากขึ้นมีคนให้ของให้เงิน ได้สิทธิประโยชน์จากสิ่งนั้น ซึ่งบุคคลจำพวกนี้หากเป็นอย่างสุดโต่ง โกหกแล้วลืมความเป็นจริงไปเลย อาจจะเป็นคนหลายบุคลิก ถือเป็นโรคทางจิตอย่างหนึ่ง เพราะไม่สามารถควบคุมความคิดให้ใช้ชีวิตอย่างปกติได้ คนที่มีอาการเช่นนี้อาจจะมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย
คนที่มีอาการพวกนี้มักจะไม่มาพบแพทย์ ไม่คิดว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติ และไม่คิดว่าหมอจะต้องรักษาอะไร ทำให้สถิติของคนที่มีอาการเช่นนี้ ไม่แน่ชัด
"อาการพวกนี้จะเกิดจากการไม่พึงพอใจในตัวเอง ไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองปรารถนา วิธีที่จะช่วยเหลือหากพบว่าคนใกล้ชิดเรามีอาการเช่นนี้ก็คือ ยอมรับในตัวตนของคนคนนั้น เช่น เขาอาจจะไม่ใช่คนรวย แต่เป็นคนดี ก็ยกย่องในความดีนั้น"
เช็ก 9 สัญญาณ “โรคซึมเศร้า” อาการแบบไหนควรพบแพทย์?
“Dead Inside” ภาวะใจพังตายจากข้างใน ปล่อยเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า
ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่า พื้นฐานครอบครัวมีอิทธิพลอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเอง ที่แยกแยะอะไรได้ตั้งแต่เกิด จึงเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่อย่างเราๆ ที่ต้องคอยช่วยเหลือแนะแนวทาง ก่อนอื่นต้องพิจารณาช่วงอายุของเด็กก่อน ถ้าเด็กอยู่ในช่วง 2 – 6 ขวบ อาจยังไม่สามารถแยกแยะได้ รวมถึงอาจมีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น และอย่างที่กล่าวตั้งแต่ต้นว่าเด็กๆ กลัวที่จะได้รับการตอบสนองในแง่ลบทั้งกับตัวเองและคนอื่นๆ พูดความจริงแล้วอาจทำให้ตัวเอง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย ผิดหวัง เสียใจ มีความรู้สึกในแง่ลบ
ดังนั้นการบ่มเพาะสอนให้เด็กรู้จักคุณธรรมศีลธรรม การสอนหรือยกตัวอย่างสิ่งที่ดีและไม่ดี มีบาปบุญคุณโทษ ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ดี แต่จะให้ดีขึ้นและเด็กจดจำไว้ประพฤติปฏิบัติให้คุ้นเคยด้วย คือควรให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ทำ และเมื่อเขาโตขึ้น พฤติกรรมและนิสัยที่ดีจะติดตัวเขาไป รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร แต่อย่าลืมว่าพ่อแม่ผู้ปกครองมีผลกับเด็ก เราจึงมีส่วนให้เกิดนิสัยที่ซื่อสัตย์ต่อความจริงด้วย ในขณะเดียวกันผู้ปกครองควรสื่อสารให้เด็กรับรู้ว่าการโกหกเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ แต่ไม่ต้องตำหนิหรือลงโทษรุนแรงจนลูกรู้สึกกลัวที่จะพูดความจริง
วิธีปราบลูกชอบโกหก
- พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเปลี่ยนวิธีการพูด ทำให้ลูกไว้ใจ เช่น เมื่อลูกทำจานระบายสีหกเลอะเทอะ พ่อแม่อาจพูดกับลูกว่า “แม่เห็นลูกทำสีหก ลูกไปหาผ้ามาเช็ดพื้นหน่อย พื้นจะได้ไม่เลอะ เดี๋ยวลูกลื่นสีหกล้มนะ” ดีกว่าที่จะต่อว่า “ลูกทำอะไรน่ะ” เพื่อไม่ให้ลูกปฏิเสธ
- อย่าตำหนิ ด่า ต่อว่ารุนแรง หรือลงโทษอย่างรุนแรงเมื่อลูกทำผิด ให้คุยกันด้วยเหตุผลอย่างที่กล่าวตั้งแต่ต้น เพราะจะได้ไม่ทำให้เด็กปิดบังความผิด เพราะบางครั้งเด็กอาจจะกลัวที่จะถูกลงโทษ สร้างพฤติกรรมโกหกให้ตัวเอง จะทำให้เด็กกลายเป็นคนชอบโกหกมากขึ้น
- ห้ามใจอ่อน พูดให้ลูกฟังว่าคนทำดีได้อะไร ให้ลูกมองเห็นผลลัพธ์ของทั้งความดีและไม่ดี คนทำไม่ดีจะไม่มีคนรักและไม่มีใครอยากยุ่งด้วย
- ฝึกความรับผิดชอบ ง่ายที่สุด คือ การตรวจเช็คการบ้าน หรืองานของโรงเรียน อาจถามคุณครูว่าลูกมีงานอะไรบ้าง พอกลับถึงบ้านก็ให้ลูกทำให้เสร็จก่อน จากนั้นค่อยให้รางวัลโดยอนุญาตให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ต้องการ เมื่อลูกได้ทำอย่างที่ต้องการก็จะรู้สึกสบายใจ ถือว่าปลูกฝังความรับผิดชอบไปในตัว และลูกก็ไม่จำเป็นต้องโกหกพ่อแม่ หรือห่วงหน้าพะวงหลัง จะได้ทำกิจกรรมอย่างที่ต้องการแบบสบายใจ ไม่ต้องกังวล
- ให้รางวัล พูดชมเชย ให้แรงเสริมเวลาที่ลูกพูดตรงกับความจริง ชมเชยในคุณสมบัติของความซื่อสัตย์ เช่น แม่ชอบที่ลูกพูดความจริง ชอบที่ลูกเป็นคนซื่อสัตย์ ให้ลูกรู้ว่าความซื่อสัตย์เป็นเรื่องสำคัญมาก ลูกจะได้รับการยกย่อง และมีแต่สิ่งดีๆ เข้ามา แ
ท้ายนี้ พ่อแม่อาจต้องสังเกตว่าลูกมีอาการป่วยทางจิตร่วมด้วยหรือไม่ ซึมเศร้าหรือไม่ มีความบกพร่องของสติปัญญา หรือมีปัญหาเรื่องภาษา เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้อาจจะพูดโกหกออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ที่พูดออกมาเพราะสาเหตุจากการป่วย ซึ่งหากสังเกตว่าลูกโกหกบ่อย หรือมีภาวะไม่ปกติที่กล่าวมา ควรพามาพบกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเพื่อวางแผนดูแลต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : สสส. และ โรงพยาบาลสมิติเวช
“คันยุบยิบตามตัว” อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงเจ็บป่วยทางกาย-โรคทางจิต
เทคนิคเพิกเฉยสำหรับพ่อแม่มือใหม่ปราบ"เด็กดื้อ ก้าวร้าว" อยู่หมัด!