“Dead Inside” ภาวะใจพังตายจากข้างใน ปล่อยเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า
“เห็นยิ้มหวานๆ แต่ข้างในพังไปหมดแล้ว” ไม่ใช่แค่อาการอกหักหรือสิ้นหวังแต่คือการที่ใจพังจนปล่อยให้ชีวิตอยู่ไปวันๆ แบบไม่ต้องมีแพชชั่นหรือความมุ่งหวังก็ได้ รู้จัก “ภาวะ Dead Inside อาการใจพังที่ตายจากข้างใน”
ภาวะ Dead Inside อาการใจพังที่ตายจากข้างใน ที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้จักแต่เป็นอยู่ ไม่นับเป็นโรคร้ายแรงทางกายแต่เป็นสภาวะทางใจที่ต้องการเยียวยา อาจจะเป็นเพราะโลกที่เปลี่ยนไป ปัญหาที่เข้ามารุมเร้า แต่ก็จำใจใช้ชีวิตเอาตัวรอดไปวันๆ บางครั้งรู้อยู่แก่ใจว่าไม่ชอบสิ่งที่ทำอยู่ ไม่ได้มีแพชชั่น และไร้ความรู้สึกยินดีกับใครหรืออะไรทั้งนั้น แต่ก็ทำ ๆ ไปเพื่อให้เสร็จสิ้น และคิดว่าชีวิตเราก็เลือกไม่ได้หรือใครจะเรียกว่าปลงก็คงไม่ผิด
ไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่สน “ภาวะสิ้นยินดี”เฉยเมยแต่เจ็บปวด
สัญญาณ “ไบโพลาร์” อารมณ์ 2 ขั้ว และปัจจัยการเกิดโรคที่พบบ่อยในวัยรุ่น
แต่แตกต่างกันที่ การปลง คือความสุขไม่ยึดติดปล่อยไปตามธรรมชาติ เกิด แก่ เจ็บ และตาย แต่ภาวะ Dead Inside คือการปล่อยวางที่ยังเจ็บปวดอยู่ในใจและอาจพัฒนากลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้
สัญญาณเตือน Dead Inside
- รู้สึกไร้จุดมุ่งหมาย
- เกิดคำถามเกี่ยวกับการมีชีวิต
- รู้สึกเฉื่อยชาและด้านชา
- รู้สึกอ้างว้างทางร่างกาย
อะไรที่ทำให้รู้สึก Dead Inside
- อาการทางจิตเวช อาทิ ภาวะซึมเศร้า , PTSD หรือ โรคเครียดหลังเจอเหตุการณ์สะเทือนใจ
- ความเครียดและเหนื่อยมากเกินไป
- การใช้ยาที่จะส่งผลต่อวิธีที่สมองประมวลผลต่ออารมณ์อาทิ ยารักษาภาระซึมเศร้า
- การระงับอารมณ์ บางทีความเข้มแข็งและอดทนกับทุกเรื่องไม่ยอมอ่อนแอหรือมีน้ำตาบ้างอาจนำไปสู่ Dead Inside ได้
เกิดได้กับทุกคน! เช็กสัญญาณเตือนเป็น “โรคซึมเศร้า” ไม่รู้ตัว
วิธีรับมือกับความรู้สึกที่ตายแล้วข้างใน
เมื่อความรู้สึกที่คุณกำลังดิ้นรนคือความสิ้นหวังหรือความมึนงง เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจถึงแรงจูงใจในการทำตามขั้นตอนเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น ไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญผ่านการบำบัดเป็นหนึ่งในวิธีที่น่าเชื่อถือที่สุดในการจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตเพราะมันจะสามารถช่วยให้คุณเข้าใจต้นตอของความรู้สึกสิ้นหวัง และช่วยให้คุณรู้สึกผูกพันและมีชีวิตมากขึ้น
การดูแลสุขภาพควบคู่กับการดูแลจิตใจนับเป็นเรื่องที่จำเป็นเพราะจะช่วยให้คุณเบี่ยงเบนความสนใจจากความว่างเปล่าและอาจจะทำให้ค้นพบแพชชั่นใหม่ๆ อาทิ ออกกำลังกาย ทำสมาธิ และจดบันทึก ที่จะสามารถช่วยปรับปรุงสภาวะทางอารมณ์ได้ ที่สำคัญอย่าลืมรักตัวเองจากใจจริง เพื่อให้ชีวิตนี้ สามารถยิ้มได้จากใจจริงๆ นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : verywellmind
รู้จัก PTSD สภาวะเครียด หลังเจอเหตุกระทบจิตใจขั้นรุนแรง แพทย์เตือนเด็กก็เป็นได้
“โรคดึงผมตัวเอง” ป่วยจิตเวชแบบย้ำคิดย้ำทำ หายได้หากรู้ตัวทัน