รู้จัก “ไซโคพาธ” โรคผิดปกติต่อต้านสังคม ที่มักพบในฆาตกรต่อเนื่อง
ปัจจุบันเราพบเจอคนเห็นแก่ตัวและเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางได้บ่อยในสังคม แต่รู้หรือไม่ว่า ขั้นกว่าของอาการเหล่า โรคไซโคพาธ (Psychopaths) ที่มีด้านชาทางอารมณ์เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม และแพทย์มักวินิจฉับพบในกลุ่มฆาตกรต่อเนื่อง
เรามักได้ยินข่าวการฆาตกรรมต่อเนื่องที่ผู้ต้องหาถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคไซโคพาธ (Psychopaths) หรือ ที่เรียกว่า โรคขาดความสำนึกผิด-ยับยั้งชั่งใจ เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) แต่สังสมัยนี้การพบเจอกับคนเห็นแก่ตัวเป็นเรื่องง่ายแต่ขนาดไหนจะถึงขั้นเป็นไซโคพาธ ลองพิจารณาจากอาการเหล่านี้ดู
โดยผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมแบบรุนแรง
- เย็นชา,ต่อต้านสังคม
- ไม่มีความรู้สึกผิดเมื่อทำร้ายคนอื่น
- หาเหตุผลเข้าข้างตนเองและโทษคนอื่น
- ไม่ปฎิบัติตามกฎระเบียบ,กฎหมาย
ป่วยจริงไม่หงายการ์ด “ป่วยจิตเวช” แบบไหนละเว้นโทษได้
“กรมสุขภาพจิต”ยืนยันอ้างป่วยจิตเวชละเว้นความผิดไม่ได้
- ขาดสำนึก ต่อต้านสังคม ไม่เกรงกลัว
- หลงตัวเอง
- เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง
- มักเชื่อมโยงกับพฤติกรรมความรุนแรงซ้ำๆ มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง หรือมีสิทธิ์ก่ออาชญากรรมได้
- ขาดมาตรฐานในการแยกสิ่งถูก สิ่งผิด กล่าวคือจะตัดสินถูกหรือผิดโดยอิงจากผลประโยชน์ที่ตัวเองจะได้
ทางการแพทย์แยกสาเหตุของโรคไซโคพาธ
การรักษา
โรคไซโคพาธผู้ป่วยมักไม่รู้ว่าตัวเองกำลังประสบอยู่จึงต้องอาศัยบุคคลรอบข้างหมั่นสังเกตหากพบว่าเข้าเกณฑ์ควรพามารักษาโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยา ซึ่งไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกคนจะต้องกลายเป็นอาชญากร หากรู้ตัวก่อน สามารถรักษาได้
- การกินยาควบคู่ไปกับการรักษาจิตบำบัด ซึ่งแพทย์อาจพิจารณา ให้รับยาบางตัวเพื่อปรับสารเคมีในสมอง
- ปรับพฤติกรรม เน้นพัฒนาสิ่งที่สนใจในแง่ดี และการให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมดีด้วย ทั้งนี้การลงโทษ มักไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้เนื่องจากอาการด้านชาทางอารมณ์
นอนไม่หลับแบบไหนควรพบจิตแพทย์ คลายความกังวลใจลดความเครียดเรื้อรัง
แนวทางการป้องกันโรคไซโคพาธ
- สถาบันครอบครัวสำคัญ พยายามสร้างครอบครัวที่ดี อบอุ่น เพื่อลดโอกาสที่อาจทำให้เกิดโรคไซโคพาธในเด็ก
- ในกรณีที่พบเจอผู้ป่วยไซโคพาธ พยายามหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด อย่าไปยุ่งเกี่ยว หรือพยายามบอกให้คนใกล้ชิดของผู้ป่วยทราบเพื่อหาแนงทางการรักษาร่วมกัน
จะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งไซโคพาธสามารถเกิดจากพันธุกรรมได้แต่สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูของครอบครัวก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักและหลายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดได้ มั่นสังเกตุตนเองและรอบข้างด้วยนะคะ
ข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ส่งตัว "นิ่ม แม่น้องต่อ" ตรวจสุขภาพจิต
สัญญาณ “ไบโพลาร์” อารมณ์ 2 ขั้ว และปัจจัยการเกิดโรคที่พบบ่อยในวัยรุ่น
วิจัยพบปัญหาสุขภาพจิต-สูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเร่งแก่ก่อนวัย แนะวิธีเอาชนะความโศกเศร้า