ภาวะ Quiet Quitting ลาออกเงียบคนรุ่นใหม่ ไม่เชื่อทำงานหนักแล้วจะได้ดี
ภาวะQuiet Quitting การลาออกแบบเงียบๆ ของคนรุ่นใหม่หมดไฟใช้ชีวิตแบบขอไปที ลบความเชื่อ“ทำงานหนักแล้วจะได้ดี”
ภาวะQuiet Quitting ศัพท์ใหม่ที่คนรุ่นใหม่แปลตรงตัวว่า การลาออกเงียบที่ไม่ได้หมายความถึงการลาออกจริงๆ แต่เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงและขีดเส้นเลือกทำตามเฉพาะหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะกลุ่ม Gen YและGen Z ที่มองหา "งานที่แฟร์" และ "Work Life Balance" มากกว่าการเติบโตอย่างโดดเด่นในองค์กรที่ต้องแลกมาด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจเหมือนคนในเจเนอเรชันก่อนๆ ถือคติ “ทำงานหนักแล้วจะได้ดี” ไม่ต้องการความก้าวหน้าก็ได้ เพื่อลดความเครียดและความกดดันจากสังคมการทำงาน
“สุขภาพจิต”วัยทำงาน สาเหตุการสูญเสียระดับโลก ภัยเงียบไม่ควรมองข้าม
โรคคาโรชิ สาเหตุการเสียชีวิตจากการทำงานหนัก แนะสูตรบาลานซ์ชีวิต
รายงานสถานที่ทำงานทั่วโลกของ Gaiiup ปี 2022 พบว่ามีเพียง 9% ของคนงานในสหราชอาณาจักรที่มีส่วนร่วมหรือกระตือรือร้นในการทำงาน ขณะที่การสำรวจพนักงานของ NHS ซึ่งดำเนินการในฤดูใบไม้ร่วงปี 2564 แสดงให้เห็นว่าขวัญกำลังใจลดลงจาก 6.1 จาก 10 เป็น 5.8 และความผูกพันของพนักงานลดลงจาก 7.0 เป็น 6.8 นี้อาจจะเป็นสัญญาณของการหมดไฟ ของวัยทำงานในปัจจุบัน
ปัจจัยที่ทำให้เกิด Quiet Quitting
- ไม่มีความสุขกับการทำงาน
- เครียดสะสม-เบื่อหน่ายกับงานที่ทำ
- ข้อจำกัดของงานที่ไม่เปิดกว้างตีกรอบไม่ให้อิสระ
- มองว่าค่าตอบแทนไม่คุ้มกับที่ต้องลงแรง
- ไม่พอใจในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน
- หาจุดสมดุลในชีวิตไม่ได้
- ภาวะเบิร์นเอาท์ (Burn Out)หมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟการทำงาน ไม่ใช่ซึมเศร้าแต่บั่นทอนจิตใจไม่อยากทำงาน!
ภาวะ Quiet Quitting แสดงถึงความเครียดในที่ทำงาน ซึ่งปัญหาอาจจะไม่ได้เกิดแบบทันทีทันใด แต่เป็นในลักษณะของความเครียดสะสม อย่างที่ทราบโดยทั่วไปว่า ความเครียดคือจุดเริ่มต้นของทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ
วิธีการจัดการในมุมมองของคนทำงาน แนะนำว่า
- การจัดลำดับความสำคัญและบริหารจัดการงานในมือ
- อย่าให้งานมาแย่งเวลาชีวิต หาเวลาพักผ่อนกับตนเองและครอบครัว
- พักผ่อนเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า
- สร้างแพชชั่นในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
- รู้จักปฎิเสธบ้าง คำว่า ได้ครับ ได้ค่ะ ถือเป็นเส้นกั้นบางๆ ระหว่างการทำงานและการรับงานที่ไม่ใช่ของตัวเองมาเป็นภาระ (ดูเป็นงานๆไปก็ได้ค่ะ)
- รู้จักขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานบ้างเมื่อเกิดปัญหา
นี้ไม่ใช่ปัญหาของคนเพียงคนเดียวแต่คือปัญหาขององค์กรที่ต้องอยู่ร่วมกันของคนในหลายเจเนอเรชัน หัวหน้างานและผู้บริหารเอง ควรให้ความใส่ใจ เพราะสุดท้ายแล้ว ปัญหา Quiet Quitting จะคลี่คลายลงได้ ต้องมาจากการร่วมกันหาทางออก
- มองว่าพนักงานเป็นเพื่อนร่วมงานไม่ใช่ลูกน้อง
- สร้างบรรยากาศในสถานที่ทำงานอย่างเป็นกันเอง
- ลงมาพูดคุยถึงปัญหาต่างๆด้วยตัวเอง
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจตามมาในอนาคต
- หากพนักงานมีปัญหาอะไร ต้องไม่ปิดกั้นที่จะให้พนักงานเข้ามาเล่าเรื่องราวให้ฟังด้วยตนเอง
เพราะสุดท้ายสังคมนี้ต้องอยู่ร่วมกันของคนในหลายเจนเนอเรชั่นถ้าหาต่างฝ่ายต่างไม่ยอมปรับ ไม่มีสมดุลในชีวิต ก็ไม่เกิดผลดีอะไร แต่ถ้าหากยอมกันสักนิดสักหน่อย "งานที่แฟร์" และ "Work Life Balance" ก็จะเกิดขึ้นอย่าง WIN WIN โดยไม่มีใครต้องฝืน ทั้งคนทำงานและองค์กรเพื่อพัฒนาไปพร้อมกัน
ข้อมูลจาก : hays,entrepreneur
“ความเครียดสูง” เสี่ยงพัฒนาซึมเศร้า-วิตกกังวล อันตรายถึงขั้นฆ่าตัวตาย
เช็กสัญญาณ“นอนกัดฟัน” สาเหตุเกิดจากอะไร? ปรึกษาทันตแพทย์ช่วยรักษาได้