วิจัยพบปัญหาสุขภาพจิต-สูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเร่งแก่ก่อนวัย แนะวิธีเอาชนะความโศกเศร้า
ปัจจุบันมลภาวะต่างๆมักมีผลกับผิวหน้าได้โดยตรงเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ที่ทำให้แก่ก่อนวัย ทั้งภายในและภายนอกเช่นเดียวกับมีงานวิจัยพบว่า ปัญหาสุขภาพจิตส่งผลโดยตรงกับการเร่งความชราภาพด้วยเช่นกัน
ความจริงที่สวยงามแต่น่าสะพรึงกลัวของชีวิตในขณะที่มนุษย์กำลังแก่ชราเราทุกคนค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการชราภาพตามปกติ เช่น ความสามารถในการมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้น้อยลง เกิดผมหงอก หรือแม้แต่การสูญเสียความเฉียบแหลมทางจิตใจเล็กน้อย ขณะที่ นิสัยและทางเลือกในการใช้ชีวิตของคุณก็มีส่วนช่วยในกระบวนการสูงวัยได้เช่นกัน
"โรคเครียด" ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ แนะวิธีรับมือแบบสร้างสรรค์ทำตามง่าย
เครียดเรื้อรังเสี่ยงซึมเศร้า แนะ 3 วิธีบำบัดความเครียด
มีแนวคิดที่ขัดแย้งกันในประวัติศาสตร์ ว่า คนสมัยใหม่มีอายุขัยยืนยาวกว่าในสมัยก่อน รายงานของ British Broadcasting Company มีแนวโน้มมากขึ้นที่อายุขัยของมนุษย์ไม่ได้ยืดออกไปอย่างมาก ความก้าวหน้าในด้านการแพทย์ การควบคุมอาหาร และรูปแบบการใช้ชีวิตโดยรวมทำให้ผู้คนสามารถยืดอายุขัยได้มากที่สุด
ผลที่ตามมาของความรู้นี้คือการระบุปัจจัยที่สามารถ "เร่ง" กระบวนการชราตามปกติได้ ตัวอย่างเช่น การสูบบุหรี่และความเครียดเชื่อมโยงกับการแก่ก่อนวัย และสุขภาพจิตที่มีส่วนทำให้แก่เร็วขึ้นด้วย
Mayo Clinic ระบุว่าการสูบบุหรี่สามารถทำร้ายผิวของคุณได้ ทำให้เกิดรอยตีนกา ถุงใต้ตาบวม หรือแม้แต่ริมฝีปากบาง ที่แย่ไปกว่านั้น ยิ่งคุณสูบบุหรี่นานเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีโอกาสแก่ก่อนวัยมากขึ้นเท่านั้น เพราะการเพิ่มการผลิตเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนเมทริกซ์ที่เรียกว่าเมทริกซ์เมทัลโลโปรตีน (MMP) ก่อให้เกิดการสลายตัวของคอลลาเจน สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ในช่วงต้นชีวิตก็เชื่อมโยงกับการแก่ก่อนวัยในภายหลังด้วย
ทำไมสุขภาพจิตถึงนำไปสู่การแก่ก่อนวัยได้ อาจจะเป็นปัจจัยจากความเครียดการขาดการออกกำลังกายรวมทั้งการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เห็นได้ชัดว่าปัญหาสุขภาพจิตและการสูบบุหรี่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นมิตรกับร่างกาย
แล้วอย่างไหนที่แย่กว่ากัน?
ภาวะสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเหงา และการนอนหลับไม่ดี ท่ามกลางปัจจัยทางจิตวิทยาอื่นๆ อาจทำให้คุณแก่เร็วกว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาในปี 2022 ที่ อ้างอิงในวารสาร Aging ใช้ "นาฬิกาแห่งการเรียนรู้เชิงลึก" ที่วิเคราะห์ตัวอย่างเลือดเพื่อพิจารณาว่าปัจจัยทางจิตวิทยาที่รวมกันเพิ่ม 1.65 ปี ทางชีวภาพให้กับอายุของบุคคล ในขณะที่การสูบบุหรี่เพิ่ม 1.25 ซึ่งหมายความว่าในขณะที่คุณสูบบุหรี่และสุขภาพจิตไม่ดี เป็นปัจจัยที่ทำให้คุณแก่เร็วขึ้นอย่างแน่นอน
ขณะที่ วารสาร JAMA Psychiatry พบว่า การประสบกับความผิดปกติทางจิตตั้งแต่อายุยังน้อยอาจส่งผลให้สุขภาพร่างกายแย่ลงและเร่งการชราภาพในวัยผู้ใหญ่ โดยการวิจัย ให้กลุ่มตัวอย่างจาก ผู้เข้าร่วมการศึกษาที่มีอาการผิดปกติทางจิตที่หลากหลายและคงอยู่มากขึ้นในวัยผู้ใหญ่หรือคะแนนจิตพยาธิวิทยาทั่วไปสูง กำลังแก่ตัวเร็วขึ้นทางชีววิทยาโดยปัจจัยประมาณ 5.3 ปีระหว่างอายุ 26 ถึง 45 ปี เมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมที่มีคะแนนต่ำสุด ความผิดปกติที่บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงพบเมื่ออายุยังน้อย ได้แก่ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า การใช้สารเสพติด และโรคจิตเภทเป็นหลัก
ป่วยจริงไม่หงายการ์ด “ป่วยจิตเวช” แบบไหนละเว้นโทษได้
ทำอย่างไรดี ถึงจะสามารถปลอบปะโลม สุขภาพจิตได้ ?
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาระบุว่าปัจจุบัน ประชากรโลกรวมถึงประเทศไทย มีความเครียดสูงและมีผู้ป่วยจิตเวชสูงขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น เป็น 3.3 หมื่นคนในปี 2564 โดยออกมาให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการรักษาโดยแพทย์
- การยอมรับความจริง เผชิญอยู่เป็นความจริงไม่ควรปิดกั้นการแสดงออกถึงความรู้สึกเศร้าโศก พร้อมทั้งควรพูดคุยกับคนรอบข้าง เพื่อสร้างกำลังใจและแรงจูงใจซึ่งกันและกัน ประคับประคองความรู้สึกให้ผ่านพ้นไปได้
-
มีสติ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ หมั่นสังเกตปฏิกิริยาทางจิตใจและพฤติกรรมของตัวเองและคนรอบข้างให้ดี ควรรีบมาพบจิตแพทย์ หากมีอาการคิดวนเวียน วิตกกังวล ไม่อยากพบเจอใคร หมกมุ่นกับความคิดของตัวเอง นอนไม่หลับ ฝันร้าย หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น เริ่มพูดพึมพำกับตัวเอง เห็นภาพหลอน หูแว่ว หรือมีความคิดว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่
-
การได้ระบายความเศร้าโศกเสียใจหรือความรู้สึกหม่น ๆ ในใจให้กับคนรอบข้างและคนใกล้ชิดบ้าง
-
พาตัวเองออกจากสิ่งที่ทำให้รู้สึกเศร้า พักผ่อนจากโซเชียลมีเดีย หากรู้สึกซึมเศร้าถาโถมจนเกินจะรับได้ไหว ควรกันตัวเองออกจากปัจจัยที่ทำให้เศร้า ให้เวลาอยู่กับตัวเองหรือกับเพื่อนและกิจกรรมที่รัก
-
พยายามคิดถึงแต่เรื่องดีๆ ที่มีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสีย หากรู้สึกคิดถึงคนที่เราเพิ่งสูญเสียไป ให้เปลี่ยนความคิดถึงไปในทิศทางบวก เช่น คิดถึงช่วงเวลาที่ดี ๆ รอยยิ้มของคนที่จากไป
-
หมั่นฝึกสมาธิ ในกรณีที่รู้สึกแย่ในขั้นที่กินไม่ได้นอนไม่หลับ ให้หมั่นนั่งสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ และเรียกคืนสติให้กับตัวเอง
ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
สำหรับคนที่มีอาการเสียใจหนักมากจนเป็นลมล้มพับ หรือรู้สึกเหมือนจะล้ม ให้หายใจลึก ๆ ช้า ๆ พยายามอย่าตื่นตระหนก พาตัวเองออกมาอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ดื่มน้ำเย็น และหาผ้าเย็นมาเช็ดเนื้อเช็ดตัว พร้อมทั้งดมยาดมด้วย ซึ่งการปฐมพยาบาลดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ดูแลผู้อื่นที่มีอาการเศร้าโศกเสียใจจนคุมสติและร่างกายไม่อยู่ได้ด้วย
ข้อมูลสุขภาพจาก : healthdigest,กรมสุขภาพจิต
รู้จักกลุ่มฮอร์โมนสำคัญรักษาสมดุลร่างกายก่อน“ผิวเครียด”แก่ก่อนวัย
ปัญหาสุขภาพจิตไทยพุ่ง 3.3 หมื่นคน สธ.เร่งขยายสิทธิด้านรักษา