"โรคเครียด" ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ แนะวิธีรับมือแบบสร้างสรรค์ทำตามง่าย
ความเครียดเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะส่งผลต่ออารมณ์และร่างกาย เมื่อเครียดควรจัดการที่ต้นเหตุและหาวิธีคลายเครียด
เครียด หงุดหงิด เบื่อ สามสิ่งนี้อาจกลายเป็นคำพูดติดปากของคนทำงานออฟฟิศยุคนี้ไปแล้ว จนหลายๆ คนคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติที่คนทำงานก็ต้องเครียดบ้าง มีปัญหาให้หงุดหงิด กวนใจ ทั้งจากงาน เพื่อนร่วมงาน แม้แต่เรื่องของเจ้านาย แต่ถ้าในช่วงชีวิตหนึ่งคุณไม่รู้สึกไม่เครียดเลยก็ดูจะผิดปกติเกินไป ขึ้นอยู่ที่ว่าคุณจัดการความเครียดเหล่านั้นได้หรือไม่ จัดการปัญหานั้นได้เหมาะสมหรือไม่ หากทำได้ ความเครียดที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว
โรคซึมเศร้า โรคที่ต้องการยาและคนเข้าใจ มากกว่าผู้ตัดสิน
DO’S & DON’T ควรทำตัวอย่างไร เมื่อคนใกล้ชิดเป็น “โรคซึมเศร้า”
อาการแบบไหนที่คุณกำลังเผชิญ?
- หงุดหงิด เหวี่ยงวีนใส่คนใกล้ตัวแบบไม่รู้ตัว
- รู้สึกเบื่องานเหลือเกิน
- อยู่ๆ ก็ท้องอืดแบบไม่มีสาเหตุ อาหารไม่ย่อย
- ปวดท้องเหมือนเป็นโรคกระเพาะอาหาร
- ท้องผูกสลับท้องเสียแบบไม่มีสาเหตุ
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
- บางคนมีผื่นขึ้นตามตัวคันคะเยอเหมือนเป็นลมพิษ
- บางครั้งอาจมีช่วงนอนไม่หลับติดกันหลายๆ คืน
- ชอบดึงผม กัดเล็บ เมื่อเครียดแล้วอยากดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้สัก 2- 3 อย่าง คุณอาจกำลังโดนโรคเครียดเล่นงานอยู่ และหากปล่อยให้ตัวเองมีความเครียดเรื้อรัง อาการต่างๆ ข้างต้นอาจรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะผลกระทบทางร่างกาย เช่น โรคกรดไหลย้อน ลำไส้แปรปรวน ปวดศีรษะไมเกรน ความดันโลหิตสูง หากปล่อยให้กระทบร่างกายไปนานๆ อาจเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งได้ในระยะยาว
ไขข้อสงสัยสุขภาพ ทำไม "เครียด" แล้วความดันสูง
“หมอพร้อม” มี 2 ฟังก์ชันใหม่ ประเมินภาวะลองโควิด - ตรวจสุขภาพใจ
รักษาตามอาการคือปลายเหตุ...ต้องแก้ที่ “ต้นเหตุ”
หากว่าคุณรู้ตัวว่ากำลังอยู่ในภาวะโรคเครียดจริงๆ จนเกิดอาการทางร่างกายสารพัด แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อหยุดโรคเครียดไม่ให้รุนแรงมากไปกว่าเดิม แพทย์จะทำการรักษาตามอาการทางร่ายกายที่เกิดขึ้น เช่น ให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวด รวมถึงยากลุ่มคลายเครียด เพื่อให้พักผ่อนได้ดีขึ้น และลดอาการเครียดลง
แต่สิ่งสำคัญคือต้องแก้ไขที่ต้นเหตุของความเครียด ไม่ว่าจะจากงาน ความสัมพันธ์ หรือปัญหาการเงินใดๆ ก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่าการใช้ชีวิตอาจไม่สามารถเลี่ยงความเครียดได้ ดังนั้น การเลือกรักษาด้วยการทำจิตบำบัดควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งนักบำบัดหรือนักกิจกรรมจะช่วยคุณจัดการกับความเครียดข้างในได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
ทริคง่ายๆ รับมือโรคเครียดแบบสร้างสรรค์กัน
- พักเบรคไปทริปเดินป่า หาธรรมชาติ: เพราะความธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่งนี่ล่ะช่วยให้จิตใจเราสงบและคิดทบทวนแยกแยะเรื่องเครียดในหัวได้จริง เราจะรู้จักการปล่อยวาง ธรรมชาติจะช่วยล้างอารมณ์ขุ่นมัวในใจ
- ทำงานศิลปะที่มีประโยชน์: หลายคนคิดว่าศิลปะเป็นเรื่องของเด็กๆ เท่านั้น แต่รู้ไหมว่าการทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือนี่ล่ะ คือสิ่งที่เราควรทำไปทั้งชีวิต ลองพักสมองแล้วใช้มือในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ บ้าง ถ้าอยากให้เกิดประโยชน์ลองไปเข้ากลุ่มประดิษฐ์อะไรเพื่อเด็กด้อยโอกาสก็ยังดี
- สมัครวิ่งมาราธอน: เป็นการตั้งเป้าตัวเองให้ออกกำลังกายอย่างจริงจัง เพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจนและท้าทาย นอกจากได้ไปวิ่งให้สารเอนโรฟีนหลั่งแล้ว ยังเป็นการเทรนร่างกายให้แข็งแรงขึ้นมากๆ ไปในตัวด้วย
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน