ป่วยจริงไม่หงายการ์ด “ป่วยจิตเวช” แบบไหนละเว้นโทษได้
รู้จักอาการ "ป่วยจิตเวช" ที่แบบไหนเอาผิดทางกฎหมายได้และแบบไหนสามารถละเว้นโทษรวมทั้งการลดหย่อนโทษตามข้อกฎหมายและทางการแพทย์
กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และกังขาของสังคมถึงบทลงโทษของผู้ที่อ้างว่าป่วยจิตเวชและได้ก่อเหตุคดีความนั้นสามารถเอาผิดตามกฎหมายได้หรือไม่ ? จากการรวบรวมข้อมูลของทีมข่าว พีพีทีวี พบว่าในข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 และการแพทย์ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนถึงระดับการประเมินต่างๆ เพื่อให้เป็นธรรมกับทุกฝ่ายและไม่ขัดต่อหลักการแพทย์
ว่าด้วยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65
“กรมสุขภาพจิต”ยืนยันอ้างป่วยจิตเวชละเว้นความผิดไม่ได้
ชายอ้างเป็นพนักงานร้านหมูกระทะ ล้างจานไม่หยุด บอกอยากทำงาน ไม่ได้บ้า
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65
“ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตัวเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”
จะเห็นว่าใจความสำคัญของกรณีการไม่ต้องรับโทษเพราะมีโรคทางจิตเวช คือผู้กระทำต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าขณะที่ทำความผิดนั้น ไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือ ไม่สามารถบังคับตัวเองได้เลย จากความเจ็บป่วยเท่านั้น ซึ่งหากว่ากันตามหลักการแล้ว โรคที่จะอาการเข้าข่ายข้อกฎหมายนี้ได้ จะมีเพียงแค่บางโรคในช่วงที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น (เช่น โรคจิตเภท โรคปัญญาอ่อน หรือโรคสมองเสื่อม) ในขณะที่โรคทางจิตเวชส่วนใหญ่ เช่น กลุ่มโรควิตกกังวลหรือกลุ่มโรคซึมเศร้า มักจะไม่เข้าข่ายหลักการนี้ดังนั้นจึงได้รับโทษอยู่ตามที่ศาลวินิจฉัย
องค์การอนามัยโลก โดยได้แบ่งกลุ่มของโรคทางจิตเวชเป็น 10 กลุ่ม ดังนี้
- ความผิดปกติทางจิต ที่เกิดจากโรคทางกาย เช่น โรคของสมอง การได้รับบาดเจ็บของสมอง รวมถึงกลุ่มที่สมองทำหน้าที่ผิดปกติไป โรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคสมองเสื่อมชนิดต่าง ๆ นอกจากสมองเสื่อมแล้ว โรคในกลุ่มนี้ที่พบร่วมกับ สมองเสื่อม ก็คืออาการเพ้อคลั่ง โรคกลุ่มนี้เดิมเรียกว่า Organic Brain Syndrome
- ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม เนื่องจากการใช้สารออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ซึ่งได้แก่ อาการและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากพิษยาโดย เฉียบพลันหรืออาการติดสารเสพติด รวมทั้งอาการที่เกิดจากการถอนยาด้วย
- โรคจิตเภทและหลงผิด เป็นโรคที่มีความผิดปกติที่แสดงถึงความ ยุ่งเหยิงทางความคิดและประสาทรับรู้เป็นพื้นฐานและการแสดงออกทางอารมณ์ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ หรือไม่มีอารมณ์ที่แสดงออกไปในทางใดทางหนึ่ง ความรู้สึกและสติปัญญายังมีอยู่ตามปกติ เช่น หลงผิดคิดว่ามีคนคอยจะทำร้าย หรือปองร้าย หลงผิดคิดว่ามีคนนินทา หรือพูดเรื่องเกี่ยวกับตน หลงผิดคิดว่าตน เป็นคนสำคัญ เช่น คิดว่าตนเป็นพระเจ้า หรือมหาเศรษฐี เป็นต้น
- ความผิดปกติทางอารมณ์ เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลง พื้นฐานคือ อารมณ์ ตั้งแต่อารมณ์เศร้า จนถึงอารมณ์ครื้นเครง การเปลี่ยนแปลง ของอารมณ์ดังกล่าวจะเกิดเป็นพัก ๆ และเป็นซ้ำๆ เมื่อเกิดสภาวะเครียดและความผิดปกติทางอารมณ์ดังกล่าวอาจเกิดสลับกันไปในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เศร้า ไม่สนุก และครื้นเครง เฮฮา ผสมกันหลายอารมณ์ เรียกว่า Bipolar affective disorder โรคในกลุ่มนี้พบในคนสูงอายุเป็นส่วนใหญ่ อาจพบร่วมกับอาการของ โรคจิต คือมีอาการหลงผิด ประสาทหลอนร่วมด้วย หรือไม่มีอาการของโรคจิตก็ได้
แยกให้ออกระหว่าง "ซึมเศร้า" กับ "ไบโพลาร์" เหมือนหรือต่างอย่างไร
- กลุ่มโรคประสาท โรคที่เกิดจากความเครียดและอาการของโรค ทางกายภาพ โรคกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่มาก และพบในผู้ป่วยทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ โรคประสาทวิตกกังวล พบได้มากที่สุดมักมีอาการตกใจง่าย เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ ใจสั่น วิงเวียน อาการแน่นท้อง ท้องอืด กล้ามเนื้อเกร็ง ตัวสั่น กลัวตายหรือ กลัวการประสบอุบัติเหตุ โรคประสาทกลัว เช่นกลัวคนมาก ๆ กลัวการเข้าสมาคม กลัวที่โล่งแจ้ง กลัวเดินคนเดียว กลัวไปไหนคนเดียว
- กลุ่มพฤติกรรมที่เกิดจากความผิดปกติทางสรีรวิทยา พฤติกรรม กลุ่มนี้ ได้แก่ ความผิดปกติในการกิน ได้แก่พวกไม่อยากกินอาหาร รวมทั้งความ ผิดปกติในการนอน ได้แก่ พวกนอนไม่หลับ หรือตรงกันข้าม นอนหลับได้ทั้งกลาง คืนกลางวัน พวกขี้ละเมอ ละเมอลุกขึ้นทำอะไรโดยไม่รู้ตัว และพวกนอนฝันร้าย พฤติกรรมทางเพศไม่ปกติ ได้แก่การไม่สามารถจะมีเพศสัมพันธ์ได้ตามความ ต้องการ เช่นไม่มีอารมณ์ทางเพศ
- บุคลิกภาพและพฤติกรรมผิดปกติในผู้ใหญ่ ในกลุ่มนี้ได้แก่ เช่น บุคลิกภาพหวาดระแวง มีลักษณะเป็นคนอารมณ์หวั่นไหวมากไม่ไว้ใจใคร หวาดระแวง สงสัย อิจฉาริษยา มองโลกในแง่ร้าย แยกตัวออกจากสังคม ไม่คบหา สมาคมกับใคร ขี้อาย ชอบอยู่ลำพังคนเดียว ไม่ชอบทำงานรวมกลุ่ม บุคลิกภาพ ต่อต้านสังคม
- ปัญญาอ่อน กลุ่มปัญญาอ่อนหมายถึง ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อย หรือต่ำกว่าปกติ ซึ่งมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างการ เจริญเติบโตในวัยเด็ก ทำให้เด็กมีความสามารถจำกัดในด้านการเรียน การกรับ ตัวให้เข้ากับสังคม หรือการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย
- ความผิดปกติของการพัฒนาการทางจิต การพัฒนาการทางจิตที่ ดำเนินไปอย่างไม่ปกติส่งผลต่อความผิดปกติของพฤติกรรม เช่น พูดไม่ชัด พูด ติดอ่าง ออกเสียงคำบางคำบางกลุ่มไม่ได้ อ่านและเขียนหนังสือไม่ได้ หรือคิดเลข ไม่ได้ เป็นต้น รวมถึงโรคออติสซึม (Childhood autism)
- พฤติกรรมและความผิดปกติที่เกิดในเด็ก และวัยรุ่น ความผิด ปกตินี้เป็นโรคที่เกิดในเด็กและวัยรุ่นโดยเฉพาะ เช่น ซนเกินขนาด อยู่ไม่สุข เด็ก กลุ่มนี้ทำอะไรโดยรวดเร็วขาดความยั้งคิด ชอบเสี่ยงอย่างบ้าบิ่น ไม่ค่อยมีวินัย เปลี่ยนความสนใจบ่อย นอกจากนั้นยังมีกลุ่มโรคประสาทในเด็ก และพฤติกรรม ผิดปกติอื่น ๆ
ฉะนั้นความผิดทางอาญาของบุคคลวิกลจริตมีได้ 3 กรณี
- ไม่มีความผิดเลย เมื่อกระทำไปโดยไม่รู้สภาพ(พฤติกรรมของการเคลื่อนไหวร่างกาย) และสาระสำคัญ(ผลของการเคลื่อนไหวร่างกาย) ของการกระทำโดยไม่รู้สำนึก เช่น การกระทำขณะชักหรือมีอาการสับสน ( confusion or delerium)
- มีความผิดแต่ได้รับการยกเว้นโทษ เมื่อกระทำในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้"ไม่สามารถรู้ผิดชอบ" หมายถึง ไม่รู้ว่าการกระทำของตนถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว ควรหรือไม่ควรทำ ซึ่งครอบคลุมถึงทั้งในแง่กฎหมายและศีลธรรมรวมทั้งไม่สามารถหักห้ามจิตใจมิให้บังคับร่างกายให้กระทำ
- ความผิดแต่ได้รับการลดหย่อนโทษ เมื่อกระทำไปในนณะที่ยังสามารถรู้ผิดหรือยังบังคับตนเองได้บ้าง
ระดับความวิกลจริตและการับผิดทางอาญา
- รู้ผิดชอบและสามารถบังคับตนได้อย่างคนปกติ
- หย่อนในความรู้ผิดชอบ แต่ไม่ถึงขั้นวิกลจริต
- พอรู้ผิดชอบหรือบังคับตนได้บ้าง
- ไม่สามารถบังคับตนเองได้
- ไม่สามารถรู้ผิดชอบ
- ไม่รู้สภาพและสาระสำคัญของการกระทำ
ข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
"ไบโพลาร์ในเด็ก" แนะผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรมก่อนสายเกินแก้
เช็ก 7 สัญญาณเตือน "อาการป่วยทางจิต" ที่ควรปรึกษาแพทย์