6 ปัญหาที่ต้องพาลูกไปพบจิตแพทย์ ไม่ต้องเป็นโรคทางจิตก็ปรึกษาได้!
พ่อแม่หลายคนต้องเจอกับปัญหาทางอารมณ์ของลูกน้อยที่บางราย ใจร้อน ก้าวร้าว ปรับตัวยาก หนึ่งในทางออกอย่างละมุนละม่อมคือการพาเด็กมาพบจิตแพทย์ ที่ไม่จำเป็นต้องป่วยทางจิต
เมื่อพูดถึง “การพบจิตแพทย์”หลายคนยังมีความเชื่อผิดๆที่เข้าใจว่าต้องเป็น “โรคจิต โรคประสาท เป็นบ้า” ถึงต้องมารักษา แต่ความจริงแล้วการพบจิตแพทย์ สามารถช่วยเด็กๆ ผู้ปกครอง และคนรอบข้างได้มากกว่านั้นโรค เพราะหากได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มเมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติ ผลการรักษาจะได้ประสิทธิภาพ ไม่ส่งผลเรื้อรังไปจนถึงตอนโตเพราะสมองเด็กยังมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ลดปัญหาหรืออาการแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมาในอนาคต เช่น การใช้สารเสพติด ติดเกม ก้าวร้าว เรียนไม่จบ
8 คำพูดที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรพูดกับบุตรหลาน เสี่ยงแผลในใจ-ต่อต้าน
เช็ค 7 สัญญาณโรคทางจิตเวช พบ 1 ข้อควรปรึกษาจิตแพทย์
ปัญหาที่จิตแพทย์เด็กสามารถช่วยได้
- ปัญหาการเรียน เช่น สอบตก ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ส่งงาน อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ สอนแล้วไม่จำ
- ปัญหาพฤติกรรม เช่น ซน ไม่นิ่ง ใจร้อน ก้าวร้าว ดื้อ ซึม แยกตัว ไม่อยากไปโรงเรียน โกหก ติดเกม ติดมือถือ ถูกเพื่อนแกล้ง หรือไปแกล้งเพื่อน ใช้สารเสพติด คบเพื่อนเกเร การกินการนอนผิดไปจากปกติ ปรับตัวยาก กัดเล็บ ดูดนิ้ว ดึงผม ปัสสาวะรดที่นอน พี่น้องทะเลาะกัน
- ปัญหาด้านอารมณ์ เช่น กังวลง่าย กลัวการแยกจาก เศร้า ดูไม่มีความสุข หงุดหงิด คุมอารมณ์ไม่ได้
- ปัญหาพัฒนาการล่าช้า เช่น ไม่พูด พูดช้า พูดไม่ชัด พูดแล้วคนอื่นไม่เข้าใจ ไม่เล่น หรือเข้ากลุ่มกับเด็กคนอื่น ใช้มือไม่คล่อง งุ่มง่าม ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยกว่าวัย เคลื่อนไหวช้าผิดปกติซ้ำๆ เช่น ขยิบตา ยักไหล่ ส่งเสียงกระแอม ฟุตฟิต
- ปัญหามีอาการทางกายเรื้อรังที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ใจสั่น หายใจเร็ว
- ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม เช่น คนในบ้านมีวิธีการเลี้ยงดูที่ต่างกัน พ่อแม่ทะเลาะกัน หย่าร้าง มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว คนใกล้ชิดป่วยหนัก หรือประสบอุบัติเหตุร้ายแรง
เตือน!“ภาวะเด็กร้องกลั้น”แนะวิธีคุณแม่รับมือไม่ตื่นตระหนกและปลอดภัย
นอกจากนี้ เด็กไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาอะไรอยู่ ดังนั้นเมื่อเด็กเครียด ไม่มีความสุข ต้องการความช่วยเหลือ เด็กจะไม่สามารถบอกอธิบายได้ตรงๆ สิ่งที่ผู้ใหญ่จะสังเกตได้ คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือมีความแตกต่างไปจากเด็กในวัยเดียวกัน เมื่อเด็กเข้าสู่กระบวนการประเมินและรักษา จิตแพทย์จะซักประวัติจากผู้ปกครอง และพูดคุยกับเด็กด้วยวิธีการที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน เช่น ผ่านการเล่น นอกจากนี้ ต้องขอข้อมูลจากโรงเรียนเพิ่มเติม เมื่อได้ข้อมูลที่มากพอต่อการวินิจฉัย และการวางแผนรักษา จิตแพทย์จะพูดคุยกับผู้ปกครองเรื่องแนวทางในการรักษา และติดต่อประสานงานกับคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือเด็กเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
ภาพจาก : freepik
รู้จักเด็ก “ดิสเล็กเซีย” (Dyslexia) อ่าน-สะกดไม่คล่อง ความบกพร่องการเรียนรู้
พฤติกรรม "ชอบพูดแทรก" เป็น 1 ในอาการของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่