จับตาอีก 10 สัปดาห์ โควิดไทยแนวโน้มสูงขึ้น สธ.ย้ำฉีดวัคซีนสำคัญ
สธ.เผยโควิดไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่สัปดาห์นี้ไปอีก 10 สัปดาห์ ย้ำฉีดวัคซีน-สวมหน้ากากเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะบอกว่าเส้นกราฟจะสูงเพิ่มขนาดไหน
นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนภายในประเทศไทยว่า ขณะนี้มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยกำลังรักษาตัว ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะใน กทม. ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว
ส่วน อัตราครองเตียงระดับ 2-3 ในภาพรวมอยู่ที่ 10.9 % แต่หากดูเป็นรายจังหวัดจะพบว่า ใน กทม. ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเป็น 27.6-35.6% เนื่องจากมีการนำเตียงบางส่วนไปใช้รองรับผู้ป่วยโรคอื่นเพิ่มขึ้น
โควิดวันนี้ (4ก.ค.65) ยอดติดเชื้อลดฮวบไม่ถึง 4 พันราย ดับ 18 ราย
‘หมอยง’ แนะผู้ป่วยโควิดกักตัว 10 วัน แม้ผลตรวจ ATK เป็นลบแล้ว
ยืนยันว่าระบบสาธารณสุขไทยยังรองรับไหว เพราะในหลักการหากจะเพิ่มมาตรการจะต้องมีอัตราการครองเตียงตั้งแต่ 50% ขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม การระบาดขณะนี้ มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนในสถานที่เสี่ยง ได้แก่ โรงเรียน สถาบันการศึกษา ในหลายจังหวัด ทำให้มีการแพร่โรคไปสู่ครอบครัว และคนใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง 7 กลุ่ม (กลุ่ม 608)
นอกจากนี้ จากการคาดการณ์สถานการณ์โควิด หลังจากช่วง 1 กรกฏาคม เป็นต้นไป นพ.จักรรัฐ กล่าวอีกว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่สัปดาห์นี้ไปอีก 10 สัปดาห์ แต่ในช่วงตอนต้นจะไม่สูงเท่าช่วงการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ผ่านมา เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนไปจำนวนมากแล้ว และอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยบอกว่าเส้นกราฟจะสูงเพิ่มขนาดไหนอยู่ที่มาตรการส่วนบุคคล (Universal Prevention)
ดังนั้น การคงมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ แนะนำให้ประชาชนสวมหน้ากากตลอดเวลา โดยเฉพาะขณะใช้บริการขนส่งสาธารณสุขทุกประเภท และขณะร่วมกิจกรรมคนจำนวนมาก รวมทั้งเว้นระยะห่างตามความเหมาะสม
ขณะเดียวกันแนะนำให้กลุ่มเสี่ยง 608 เข้ามาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 เป็นพื้นฐาน และฉีดเข็มกระตุ้นต่อไปทุก 4 เดือน เพื่อลดอาการป่วยหนักและเสียชีวิตหากติดเชื้อ
ทั้งนี้ แม้ภาพรวมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 จะยังไม่ถึง 60% แต่หากพิจารณาในรายจังหวัดจะพบว่า มีหลายจังหวัดที่มีผู้สูงอายุได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเกิน 60% ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต ขอความร่วมมือให้จังหวัดที่ยังมีความครอบคลุมวัคซีนเข็มกระตุ้นต่ำกว่าเป้าหมายช่วยกันรณรงค์ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการรับมือกับโรคโควิด-19 ที่จะปรับมาเป็นโรคประจำถิ่น หรือโรคติดต่อทั่วไปในอนาคต และกลับมาดำเนินชีวิตใกล้เคียงปกติที่สุด
แนะอาหารผู้ป่วย "ลองโควิด" (Long COVID) เสริมวิตามินแร่ธาตุฟื้นฟูร่างกาย
ลุยน้ำเท้าเปล่าเสี่ยง"โรคฉี่หนู" ภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิตแนะวิธีรับมือป้องกันโรค