ล้วง "ตับ" รู้ลึกความสำคัญ แนะ 8 เคล็ดลับดูแลให้สุขภาพดี
ตับ อวัยวะสำคัญช่วยควบคุมร่างกายให้สมบุรณ์ เป็นแหล่งสะสมพลังงาน สารอาหาร การดูแลให้ดีจากภายในเพื่อสุขภาพที่ดีโดยรวม
ตับอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่หลากหลาย เสมือนเป็นโรงงานผลิตพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมทั้งยังเป็นอวัยวะสำคัญในการเผาผลาญของเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งการกินในแต่ละครั้งของเราส่งผลกับตับโดยตรง การดูแลให้ตับแข็งแรงควรเริ่มแต่แรก
การทำงานของตับ
1.ตับทำหน้าที่นำเอาสารอาหารที่ย่อยมาแล้วจากทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต จำพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน โปรตีน วิตามิน ยา
ปวดในช่องท้อง สัญญาณเตือน 9 โรคอันตราย อย่านิ่งนอนใจจนโรคลุกลาม
ไม่อยากอาหาร ผอมเร็ว อ่อนเพลีย หนึ่งในสัญญาณ "โรคมะเร็งตับ"
มาปรับเปลี่ยนให้เป็นสารอาหารที่เหมาะกับการใช้ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น สร้างโปรตีนอัลบูมิน โปรตีนที่ช่วยการแข็งตัวของเลือด ไขมันในเลือดชนิดต่างๆ เป็นต้น
2.สะสมอาหารต่างๆ เอาไว้ใช้เมื่อร่างกายต้องการ เช่น เก็บน้ำตาลกลูโคสในรูปของไกลโคเจนสะสมไว้ในตับ เมื่อร่างกายต้องการพลังงานก็จะเปลี่ยนไกลโคเจนกลับมาเป็นกลูโคส ส่งไปที่ต่างๆ ของร่างกายเพื่อเอาไปใช้เป็นพลังงานต่อไป
3.ขับถ่ายของเสียในรูปของน้ำดี ออกมาทางท่อน้ำดี แล้วลงไปออกที่ลำไส้เล็กส่วนต้น น้ำดีนอกจากจะเป็นของเสียที่ร่างกายขับออกมาแล้ว ยังช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ต้องใช้ไขมันร่วมด้วย คือวิตามิน เอ ดี อี และ เค
"วิตามินเสริม" จำเป็นต่อร่างกายแค่ไหน ทำไมใครๆ ก็กิน
"มะเร็งต่อมน้ำเหลือง" พบได้บ่อยในคนไทย หมอแนะวิธีสังเกต คลำจุดใดบ้างตามร่างกาย
8 เคล็ดลับ ดูแลตับให้สุขภาพดี
1.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน ตับอักเสบเรื้อรังและโรคตับแข็ง
2.งดการสูบบุหรี่ ทั้งการสูบเองและควันบุหรี่มือสอง
3.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการไปรับเชื้อไวรัสตับอักเสบและพยาธิใบไม้ตับ เช่น การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะเนื้อหมู อาหารทะเล ปลาร้า ปลาน้ำจืดที่ไม่สุก การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน การสักหรือใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด
4.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเก่าเก็บ อาหารแปรรูปหรืออาหารผ่านการปรุงแต่ง เพราะอาจมีสารเคมีหรือสิ่งปนเปื้อนได้ เช่น สารโลหะหนัก สารก่อมะเร็ง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรรับประทานในปริมาณน้อยหรือนาน ๆ รับประทานที
5.ไม่ควรใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้ หรือซื้อยารับประทานเองยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อตับ
6.ออกกำลังกายในระดับความหนักที่เหมาะสม ระยะเวลาที่นานพออย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
7.ควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้มีรูปร่างอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะไขมันพอกตับ
8.ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบี
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก ศูนย์โรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เฝ้าจับตา! โควิด BA.2.75 ตัวใหม่ เทียบกับ โอมิครอน BA.5 ตัวไหนจะแรงกว่า
เป็นไปตามคาด! ปอดอักเสบมีแนวโน้มสูงขึ้น รัฐยังรับมือไหว