สธ.หนุนครอบครัวไทยมีลูก 2 คน แก้วิกฤตเด็กเกิดน้อย
สัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี แต่จำนวนเด็กเกิดใหม่ กำลังมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ปี 2564 ที่เราเผชิญกับสถานการณ์โควิดอย่างหนัก เป็นปีที่ประเทศไทยมีเด็กเกิดเพียง 5 แสนกว่าคนเท่านั้น ซึ่งก็ทำให้เกิดความกังวลเรื่องโครงสร้างประชากร เพราะสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยทำงานลดลง ขณะที่สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มรณรงค์ให้แต่ละครอบครัวที่มีความพร้อม มีลูกไม่น้อยกว่า 2 คน
ผลสำรวจวัยรุ่นไทย เกินครึ่งมีเซ็กส์วันวาเลนไทน์ ไม่สวมถุงยาง ไม่กินยาคุม
ราชกิจจา เผยจำนวนประชากรไทย 66.1 ล้านคน กทม.มากสุด 5.5 ล้านคน
ปี 2564 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ เพียง 544,570 คน ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรในวัยอื่น และการที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ในประเทศไทยลดต่ำลงขณะที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ผลที่จะตามมามีหลายมิติ เริ่มจากจะเกิดภาระพึ่งพิงวัยแรงงานเพิ่มสูงขึ้น จากเดิม สัดส่วนวัยแรงงาน 6 คน จะดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ก็จะกลายเป็นว่า วัยแรงงาน 3 คน ดูแลผู้สูงอายุ 1 คน
ประเด็นต่อมา คือ เมื่อวัยแรงงานลดลง จำนวนผู้จ่ายภาษีก็ลดลง ทำให้งบประมาณในการพัฒนาประเทศไม่เพียงพอ เงินสำหรับอุดหนุนกองทุนต่าง ๆ ก็จะลดลง ในมิติของแรงงาน ก็จะขาดแคลนแรงงานฝีมือ ทำให้ต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีมากขึ้น ในมิติของความสัมพันธ์ ต่อไปก็จะเกิดสังคมไร้ลูกหลาน ผู้สูงอายุต้องดูแลกันเอง ซึ่งการจ้างคนมาดูแล AI หรือโรบอท ไม่สามารถทดแทนความอบอุ่นภายในครอบครัวได้ และนี่คือสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็น
นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมผู้บริหารกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันแถลงข่าว "ทางออกประเทศไทย ในยุคเด็กเกิดน้อย" หลังไทยกำลังประสบกับปัญหาเด็กเกิดน้อย เพราะวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง เช่น คนยุคใหม่แต่งงานช้าลง บ้างก็มีค่านิยมอยู่เป็นโสดผู้คนมีความหลากหลายทางเพศ ความต้องการมีลูก และจำนวนลูกที่ต้องการเปลี่ยนไป หรือบางครอบครัวก็มองว่าการมีลูกเป็นภาระ เพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง และ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมายิ่งเจอกับการระบาดของเชื้อโควิด-19 ก็ยิ่งทำให้คนชะลอการมีลูก ขณะที่บางครอบครัวมีปัญหาภาวะมีลูกยาก
เช็ก 10 จังหวัดติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด พบ กทม.ยังอันดับ 1
นั่นคือเรามาถึงจุดที่ กระทรวงสาธารณสุขต้องส่งเสริมให้คนมีลูกเพิ่มขึ้น โดยมาตรการสำคัญที่หลายหน่วยงานจะต้องเร่งดำเนินการคือ เสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่ ในการสร้างครอบครัวและมีบุตรในวัยอันควร โดยรณรงค์ให้ครอบครัวที่มีความพร้อมมีลูกครอบครัวละไม่น้อยกว่า 2 คน
ผลักดันให้รัฐบาลมีมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวที่มีเด็กอายุ 0-5 ปี ส่งเสริมจัดตั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 2 ปี เพื่อแบ่งเบาภาระพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กอ่อนกว่าวัยเรียนในเวลากลางวัน ที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงาน ช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก ให้เข้าถึงการรักษาในอายุที่น้อยลง เพิ่มโอกาสในการมีลูกมากขึ้น และส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการของภาครัฐ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมตั้งแต่อยู่ในท้อง จนถึงคลอด
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2583 สัดส่วนวัยเด็กจะเหลือเพียง 12.8 เปอร์เซนต์ วัยทำงาน 56 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนสูงถึง 31.2 เปอร์เซนต์ ทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงวัยแรงงานเพิ่มขึ้น
หนึ่งในปัจจัยทีทำให้เด้กเกิดน้อยลง ก็มาจาก ปัญหาภาวะมีลูกยาก ซึ่งล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ภาวะมีบุตรยากเป็นโรคที่ได้รับการรักษา
4 อาการ Long Covid พบบ่อย ส่งผลต่อ "ระบบหัวใจและปอด" หลังป่วยโควิด-19
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) ออกมาพูดในเรื่องนี้ว่า ในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราเด็กเกิดน้อย ดังนั้นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อส่งเสริมการเกิดคือ การจัดสิทธิประโยชน์ให้สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยรักษาภาวะมีบุตรยาก หากได้มีการบรรจุอยู่ในสิทธิประโยชน์ คนที่เหมาะสมตามข้อกำหนด ก็จะทำให้เราได้เด็กที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ในส่วนนี้สามารถทำได้ไม่ต้องรอการแก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่อาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือพ.ร.บ.อุ้มบุญ