เคาะร้านจ่ายยา– รพ.เอกชนจัดซื้อยาโควิดเองได้ เริ่ม 1 ก.ย.นี้
ศบค.เคาะโรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซื้อยาโควิดเองได้ และร้านยาจ่ายยาให้ผู้ป่วยได้ตามใบสั่งแพทย์ เริ่ม 1 ก.ย.นี้
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. แถลงภายหลังการประชุม ศบค. ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ว่า นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณทุกภาคส่วนรวมถึงประชาชนที่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นจนถึงขณะนี้
ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตรายสัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 22) เพิ่มขึ้นจากจำนวน 195 ราย มาเป็น 236 รายในสัปดาห์นี้ (สัปดาห์ที่ 32) โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มมีสูงอายุ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ (กลุ่ม 608) ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
กลับลำ! ศบค. ยังไม่คุยยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รอหารือนัดหน้า
“นายก” ยันคุมโควิดได้ แต่อย่าวางใจขอประชาชนฉีดเข็มกระตุ้น
ปัจจัยสำคัญที่ทั่วโลกยอมรับ คือ การฉีดวัคซีน จึงขอความร่วมมือพากลุ่มเสี่ยงดังกล่าวฉีดวัคซีน โดยเฉพาะเข็มกระตุ้น ซึ่งพบว่าช่วยได้เยอะ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงสถานการณ์ยาว่า ยายังคงมีเพียงพอ และแนวโน้มการใช้ยาหลังจากนี้ต้องใช้อย่างมีเหตุผล ซึ่งขณะนี้แนวโน้มการใช้ยาลดลง ส่วนการเตรียมความพร้อมด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พยายามเร่งรัดในการจดทะเบียน องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เตรียมสำรองยา มีกองทุนเตรียมความพร้อมบริหารจัดการค่ายาและจะพยายามให้มีการกระจายยาไปยังคลินิคเวชกรรมให้ได้
ซึ่งในเดือน ก.ย.นี้ หน่วยบริการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจะสามารถจัดซื้อยาได้ และร้านยาสามารถจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ตามใบสั่งแพทย์ ส่วนหน่วยบริการสาธารณสุขจัดซื้อยาได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เพื่อให้คล่องตัวมากขึ้น
โควิดวันนี้ (19ส.ค.65) ติดเชื้อหลัก 2 พัน ป่วยกำลังรักษาพุ่งเกิน 2 หมื่นราย
ติดโควิด เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ มากกว่าไข้หวัดใหญ่ 60-90%
ส่วนความคืบหน้าในการจัดทำกรอบนโยบายแนวทางปฏิบัติและห้วงเวลาในการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู้ภาวะหลังพ้นการระบาดใหญ่ หรือ Post-Pandemic เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันโควิด-19 ซึ่งไทมไลน์กรอบเวลา สิงหาคม-กันยายน 2565 ยังใช้ระบบตามที่เราทำอยู่
ในเดือน ตุลาคม 2565 ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้มีการเสนอให้ประกาศให้เป็น “โรคระบาดเฉพาะที่” ซึ่งบทบาทของ ศบค.จะลดลง และให้ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) กระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะเป็นคนนำไปสู่การทำงาน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยว่าเราจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ เพราะยังมีการประเมินกันต่อ และยังมีเวลาถึง ก.ย. จึงไม่ได้มีความเร่งด่วนจำเป็นใด ๆ ในการพูด เพราะมีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปถึงเดือน ก.ย.อยู่แล้ว
ทั้งนี้ที่ประชุมรับทราบแล้ว และตั้งข้อสังเกต รอดูสถานการณ์ต่อไปอีกระยะหนึ่ง รวมถึงที่ประชุมได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือ กทม.จัดทำแผนการเปลี่ยนผ่านนี้ให้สอดคล้องระหว่างที่ยังคงมี ศบค.อยู่