ศบค.ไฟเขียว เปิดเรียนแบบ On Site ติดเชื้อไม่มีอาการ-อาการน้อย-เสี่ยงสูง เข้าสอบได้
ศบค. ไฟเขียว เปิดเรียนแบบ On Site โรงเรียนประจำ-โรงเรียนไป-กลับ ติดโควิด-19 ไม่มีอาการ-อาการน้อย-เสี่ยงสูง มาสอบได้ตามปกติ
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันนี้ 23 ก.พ. 2565 ยอดผู้ติดเชื้อรวม 428,195,806 ราย อาการรุนแรง 80,258 ราย รักษาหายแล้ว 356,008,302 ราย เสียชีวิต 5,924,968 ราย
ส่วนประเทศไทย บผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 21,232 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 21,064 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 168 ราย ผู้เสียชีวิต 39 ราย
หมอรุ่งเรือง ยกข้อมูล WHO แจงโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 อาการไม่รุนแรง
UCEP คืออะไร ทำความเข้าใจทุกขั้นตอน-หลักเกณฑ์ ก่อนใช้สิทธิ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่วันนี้ ได้พิจารณาว่าการแบ่งพื้นที่สีแต่ละจังหวัดยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาโควิด-19 ทางสปสช.ได้เสนอขึ้นมาทำให้พบว่าในปี 2563 มีค่าใช้จ่ายจำนวน 3,841.15 ล้านบาท ปี2564 มีค่าใช้จ่ายจำนวน 97,747.94 ล้านบาท รวมแล้วประเทศไทยจ่ายไปแล้วกว่าแสนล้านบาท
ส่วนมาตรการเปิดเรียนแบบ On Site เพื่อให้อยู่ได้กับสถานการณ์โควิด-19ในสถานศึกษา จากสถิติข้อมูลจากกรมอนามัย ได้นำเสนอต่อที่ประชุมว่า การติดเชื้อในเด็กนักเรียนจำนวน 21.9 % อัตตราการเสียชีวิตก็ต่ำ และ มาตรการการเปิดภาคเรียนรวมถึงการป้องกันก็ได้ออกมาแล้ว 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้ม โดยมีการตระเตรียมระหว่างกระทรวงศึกษากับกระทรวงสาธารณสุขพอสมควร และแผนเผชิญเหตุก็ได้มีการเตรียมพร้อมแล้ว โดยทางปลัดกระทรวงศึกษาธิการก็ได้แจ้งมาว่า จากผลสำรวจโรงเรียน 120 แห่ง พบว่า โรงเรียนที่มีการติดเชื้อ 1 รายขึ้นไปมีการปิดสถานศึกษาจำนวน 28.7 % ส่วนโรงเรียนที่มีการติดเชื้อในห้องเรียนก็ปิดไปจำนวน 55.7 % ขณะที่สถานศึกษาที่ไม่มีการติดเชื้อ แต่อยู่บริเวณใกล้กัน ปรากฏว่า 9 % ปิดการเรียนการสอนไปด้วยเหมือนกัน ซึ่งสถานการณ์กับสิ่งที่เขาเผชิญเหตุไม่ค่อยสอดคล้องกันมากนัก ซึ่งเป็นภาพสะท้อนที่อาจเกิดจากแรงกดดันของผู้ปกครอง ครู หรือ นักเรียน จึงทำให้มาตรการเปิดเรียนแบบ On Site ไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
ดังนั้น จึงมีการเสนอว่ามาตรการเปีดเรียน on site อยู่ได้กับโควิด กรณีนักเรียนมีความเสียงและติดเชื้อโควิด-19 ในสถานศึกษา
อัปเดต สายด่วนโควิด 50 เขตกทม. รับผู้ป่วยเข้าสู่ระบบรักษา
โรงเรียนประจำ
-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เรียน on site ตามปกติ สังเกตอาการ และประเมิน TST
-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
- จัดการเรียน การสอน ปฏิบัติงาน ทำกิจกรรม ใน Quarantine zone ตามแนวทาง sand box safety zone in school เป็นเวลา 7 วัน และให้ติดตามสังเกตอาการอีก 3 วัน
- การตรวจคัดกรองหาเชื้อ ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที และให้ตรวจครั้งที่1 ในวันที่ 5-6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อและตรวจครั้งสุดท้ายวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ
- สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม และประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน
-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็นผู้ติดเชื้อ
- พิจารณาร่วมกับ หน่วยบริการสาธารณสุข หรือ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จัดทำ school isolation ตามแนวทาง sand box safety zone
- สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม เน้นการระบายอากาศ และ กำกับติดตาม มาตรการส่วนบุคคลขั้นสูงสุด
โรงเรียนไป-กลับ
-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เรียน on site ตามปกติ สังเกตอาการ และประเมิน TST
-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
- แยกกักตัวที่บ้าน หรือ สถานที่ตามคำแนะนำของหน่วยบริการสาธารณสุข เป็นเวลา 7 วัน และให้ติดตามสังเกตอาการอีก 3 วัน
- การตรวจคัดกรองหาเชื้อ ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที และให้ ตรวจครั้งที่1 ในวันที่ 56 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ และตรวจครั้งสุดท้ายวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ
- สถานศึกษา จัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสม และประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน
-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็นผู้ติดเชื้อ
- ปฏิบัติตามมาตรการ การรักษา ของกระทรวงสาธารณสุข
- พิจารณาจัดทำ school isolation ตามความเหมาะสม โดยคณะกรรมการโรงเรียน หน่วยงานสาธารณสุข ผู้ปกครอง ชุมชน
- พิจารณาร่วมกันให้ความเห็นชอบ และปฏิบัติตามมาตรการ
- สถานศึกษาจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ กลุ่มที่ไม่มีอาการ
“ติดโควิด คลิกที่นี่” แบบประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเอง บนหมอพร้อม Chatbot
มาตรการเปิดเรียน on site อยู่ได้กับโควิดในการสอบ กรณี สัมผัสเสี่ยงสูง และติดเชื้อโควิด-19 ในสถานที่สอบในการสอบ
-สถานที่จัดสอบ
- ประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน ในการคัดกรอง และให้คำแนะนำด้านสาธารณสุขเพื่อความปลอดภัยขั้นสูงสุดจัด ให้มี พื้นที่แยกสำหรับจัดการสอบเป็นสัดส่วน แยกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ติดเชื้อเน้นการระบายอากาศที่ดี้ จัดที่นั่งสอบมี ระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร
-ผู้เข้าสอบ
- เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือ อาการเล็กน้อย หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
- ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อนและหลังการเข้าสอบ งดการพูดคุย เว้นระยะห่าง
- การเดินทางไปสนามสอบโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือประสานหน่วยสถานที่สอบหน่วยบริการสาธารณสุขกรณีไม่มีรถยนต์ส่วนตัว
-ผู้คุมสอบ
- ปฏิบัติการคุมสอบตามมาตราฐานการป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข เช่น การใส่หน้ากากอนามัย
- ใช้เวลาในการคุมสอบในห้องสอบให้น้อยที่สุด รวมถึงการวางแผนจัดการสอบให้เหมาะสม