เปิดข้อปฏิบัติ-วิธีสังเกตอาการ “เมื่อเด็กเล็กติดโควิด-19”
แนวทางปฏิบัติในกรณีที่เด็กติดเชื้อโควิด-19 พร้อมวิธีสังเกตอาการ
นายแพทย์ธีรชัย บุญยะลีพรรณ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า แนวทางปฏิบัติในกรณีที่เด็กติดเชื้อโควิด-19 แบ่งได้ 3 กรณีคือ
เด็กเล็กติดโควิด-19 “แสนกว่าคน” เสียชีวิต 29 ราย โดยเฉพาะ 0-1 ปี
โควิดวันนี้! ติดเชื้อในไทยนิวไฮ 23,557 ราย ไม่นับรวม ATK ทะลุ 2 หมื่นกว่า
- กรณีทั้งเด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาโดยเน้นให้จัดอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว
- กรณีเด็กเป็นผู้ติดเชื้อแต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยผู้ปกครองควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ มีอายุไม่เกิน 60 ปี และไม่มีโรคประจำตัว
สามารถเข้าดูแลเด็กในสถานพยาบาลได้ แต่สำหรับโรงพยาบาลสนามควรจัดพื้นที่ให้เด็กและผู้ปกครองเป็นการเฉพาะ โดยแยกจากผู้ติดเชื้ออื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อโรคได้
- กรณีเด็กไม่เป็นผู้ติดเชื้อแต่ผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อ ให้ญาติเป็นผู้ดูแล หากไม่มีญาติหรือผู้ดูแลเด็ก ให้ส่งเด็กไปยังบ้านพักเด็กในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้ดูแล หรือพิจารณาใช้พื้นที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในชุมชนเป็นที่ดูแลเด็ก
“ติดโควิด คลิกที่นี่” แบบประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเอง บนหมอพร้อม Chatbot
UCEP คืออะไร ทำความเข้าใจทุกขั้นตอน-หลักเกณฑ์ ก่อนใช้สิทธิ
ส่วนระดับอาการของเด็กติดเชื้อโควิด-19 ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิดคือ
แบบที่ 1 อาการในระดับที่สามารถเฝ้าสังเกตที่บ้านได้ คือ
- มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก มีอาการไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหารหรือนมได้ปกติ ไม่ซึม
แบบที่ 2 อาการที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว คือ
- มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
- หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจ
- ปากเขียว
- ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94 เปอร์เซ็นต์
- ซึมลง ไม่ดูดนม และไม่กินอาหาร
ซึ่งอุปกรณ์เพื่อใช้ติดตามอาการของเด็ก ได้แก่ ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อุปกรณ์ถ่ายภาพหรือกล้องวิดีโอ และยาสามัญประจำบ้าน
โดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมืออย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับเด็กที่ติดเชื้อ
สปสช.เตรียมแจก ATK เฟส 2 ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เริ่ม 1 มี.ค.นี้
ดูแลรักษาเด็กตามอาการ ถ้ามีไข้ ให้กินยาลดไข้ และเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ถ้ามีอาการไอ มีน้ำมูกให้กินยาแก้ไอ หรือยาดลน้ำมูกได้ และดื่มน้ำมาก ๆ แต่ถ้ามีอาการถ่ายเหลว ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ
อัปเดต! 12 ข้อควรปฏิบัติ กักตัว แบบ Home Isolation (HI)
สวมหน้ากากอนามัยให้เด็กเล็ก อันตรายหรือไม่?
ส่วนเทคนิคการดูแลเด็กติดเชื้อโควิด-19 เมื่อแยกกักตัวที่บ้าน
- ชวนเด็กพูดคุยในประเด็นที่เด็กอาจมีคำถามหรือความหวาดกลัว เพื่อคลายความกังวล
- หากิจกรรมที่เด็กชอบและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
- สอนให้เด็กไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- เตรียมอาหารที่ปรุงสุกใหม่ เน้นให้เด็กกินผัก ผลไม้ 5 สี เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- ฝึกเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ การเว้นระยะห่าง ให้เป็นสุขนิสัยประจำตัว” รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กล่าว