ประเดิมเจอแจกจบ-ราชวิถีผุด 7 สูตรยารักษา
สำหรับวันนี้เป็นวันแรกที่กระทรวงสาธารณสุข ดีเดย์เริ่มการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบ ‘เจอแจกจบ’ คือ เปิดคลินิกพิเศษรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือ โอพีดี สำหรับผู้ป่วยสีเขียว
เช่นที่ โรงพยาบาลราชวิถี ใช้พื้นที่ข้างภายนอกอาคาร ที่โปร่งโล่ง มีอากาศถ่ายเท เป็นคลินิกทางเดินหายใจ ให้บริการผู้ป่วยโควิดที่สมัครใจจะรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยตลอดทั้งวันตั้งแต่ 8.00-16.00 น. ที่เปิดมีผู้ป่วยมาใช้บริการแล้ว 200 คน ในจำนวนนี้กว่า 60-70 % เป็นผู้ติดเชื้อ และอยู่ในกลุ่มสีเขียว ไม่มีอาการ และอาการน้อย
แนวทางการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ‘เจอแจกจบ’ หากพบติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงเข้าข่ายสงสัย ช่องทางแรกให้ลงทะเบียนผ่านสายด่วน 1330
รู้จัก T-cells พระเอกที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด-19ในระยะยาว
ผลสำรวจ คนไทย 60% ยังกังวลการระบาดโควิด-19 บางส่วนเครียดกับการใช้ชีวิต
และอีกช่องทางคือ วอล์คอินมาที่คลินิคทางเดินหายใจของโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งจะมีการตรวจหาเชื้อให้ เมื่อผลเป็นบวก แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย ประเมินความเสี่ยง หากไม่มีอาการ จะแจกยา ก่อนให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านอย่างน้อย 7 วัน และระหว่างที่กักตัวจะมีแพทย์ และพยาบาลโทรติดตามอาการเพียง 1 ครั้ง ภายใน 48 ชั่วโมง
เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีน “ไฟเซอร์” เข็ม 4 เริ่ม 1- 3 มี.ค. นี้
ส่วนยาที่แจกให้กลับไปกินที่บ้าน แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายตามอาการของผู้ป่วย เช่นที่โรงพยาบาลราชวิถีจะแบ่งเป็น 7 สูตร คือ ยาตามอาการ ไข้ น้ำมูก ไม่เจ็บคอ ยาตามอาการโรคไข้หวัดใหญ่ ยาแก้เจ็บคอ ฆ่าเชื้อ ยากลุ่มผู้ป่วยแพ้ยา ยาฟ้าทะลายโจร ยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผู้ป่วยน้ำหนักตัวต่ำกว่า 90 กิโลกรัม และยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผู้ป่วยน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ยืนยันว่า การรักษาโควิดแบบผู้ป่วยนอก ‘เจอแจกจบ’ เป็นอีกทางเลือกของผู้ป่วย ไม่มีการบังคับ และไม่ได้นำมาใช้ทดแทนการรักษาแบบ HI และ CI แต่ถ้าหากผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษาแบบนี้ก็จะช่วยลดภาระของเจ้าหน้าที่ได้มาก เพราะไม่ต้องโทรติดตามอาการทุกวัน
ทั้งนี้ในพื้นที่กทม. มีคลินิกทางเดินหายใจ รักษาแบบเจอแจกจบ เปิดบริการในโรงพยาบาลรัฐ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ทั่วทุกเขต รวมถึงโรงพยาบาลในสำนักการแพทย์ กทม. และโรงเรียนแพทย์ รวมๆแล้ว 100 กว่าแห่ง ซึ่งถ้าหากมีผู้ป่วยวันละ 10,000 คน ที่ต้องการเดินเข้ามารักษาแบบนี้ก็คาดว่า จะรองรับได้
สถิติพบคนไทยเสียชีวิตจาก"โรคหัวใจ" เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน
ส่วนที่หลายคนมีความกังวลว่า การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ผู้ป่วยเดินมาพบแพทย์เอง จะมีความเสี่ยงแพร่เชื้อหรือไม่ ย้ำว่า ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามหลักการการป้องกันขั้นสูงสุด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น อย่าเปิดหน้ากากในที่แออัด แยกตัวให้ห่างจากคนอื่น เพื่อลดความเสี่ยงแพร่เชื้อ ส่วนคนที่ไม่ป่วยก็ต้องป้องกันตัวเองขั้นสูงสุดด้วยเช่นกัน