“เอาตัวรอด-ช่วยเหลือผู้อื่น” เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ เบียดเสียด-เหยียบกันเสี่ยงเสียชีวิต
เรื่องต้องรู้ ถอดบทเรียน “อิแทวอน”ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ช็อกโลกและอุทาหรณ์ที่ทั้งโลกต้องจดจำ ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจและรู้วิธีการดูแลตัวเองเพื่อเอาตัวรอดเพราะไม่รู้เมื่อไหร่ที่เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นกับเรา
ไทยเข้าสู่ปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลที่ทุกคนออกมาสังสรรค์ พบปะกัน และปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจจะสุ่มเสี่ยงการตกอยู่ในสถานการณ์ที่เบียดเสียดจนหายใจไม่ออก และอาจเลวร้ายกว่าหากเกิดการเหยียบกันจนเป็นเหตุสูญเสียและเสียชีวิตตามมาได้ เรื่องต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ต้องรู้และรับมือได้อย่างทันท่วงทีเพื่อปลอดภัยทั้งตนเองและช่วยเหลือคนรอบข้างได้
การเบียดกันจนเสียชีวิต (Crowd Crush หรือ Crowd Surge) แม้อยู่ในพื้นที่โล่งอากาศถ่ายเท แต่การที่คนจำนวนมากเบียดเสียดกันแน่นมากในพื้นที่แคบ ทรวงอกจะถูกบีบอัดจนทำให้หายใจได้ลำบาก
วิธีเอาตัวรอด หนีจากฝูงชนแสนแออัด
“วูบขณะยกน้ำหนัก” เกิดจากพฤติกรรม กินน้อย-นอนน้อย แพทย์แนะตรวจสุขภาพหาโรคแฝง
ส่งผลให้หมดสติและเสียชีวิตได้ และอาจจะเกิด การเหยียบกันจนเสียชีวิต (Stampede) ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีความแตกตื่นและถูกเหยียบจนเสียชีวิต- ภาวะขาดออกซิเจนจากการถูกกดทับ (Compressive Asphyxia) การที่ร่างกายถูกกดทับจากภายนอกจนหายใจเข้า-ออกไม่ได้ และการไหลเวียนเลือดผิดปกติจนหมดสติ หากหายใจไม่ได้นานเกิน 3 – 5 นาทีจะทำให้ขาดออกซิเจนจนเป็นอันตรายถึงชีวิต หัวใจหยุดเต้นได้
- ประเมินความหนาแน่นของคน
- หากไหล่ไม่ชนเนื้อไม่สัมผัสกัน แสดงว่ามีความหนาแน่นน้อยและอยู่ในสถานการณ์ปกติ
- มีการสัมผัสกับคนรอบข้างโดยไม่ตั้งใจ 1 – 2 คน แสดงว่าเริ่มมีความหนาแน่น แออัด แม้ยังไม่อันตรายแต่แนะนำให้หาทางออกจากพื้นที่
- มีการสัมผัสแบบใกล้ชิดจนไม่สามารถขยับมือหรือยกมือแตะหน้าผากตัวเองได้ แสดงว่าหนาแน่นมากและกำลังจะเข้าสู่สถานการณ์อันตราย ควรตั้งสติให้ดีและพยายามออกมาโดยเร็วที่สุด
- วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เบียดจนเสียชีวิต
- มีสติสำคัญ มองหาทางออก ตั้งเป้าหมายว่าต้องออกจากพื้นที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด อย่าลังเล มีสติ ใจเย็น มองหาทางออก สอดส่องเส้นทางเสม
- คาดการณ์ว่าจุดไหนคนอยู่เยอะที่สุดแล้วพยายามเคลื่อนไปทางที่คนน้อยกว่าหรือหากปีนได้ควรปีนขึ้นที่สูง
- หากไม่สามารถออกจากจุดนั้นได้ พยายามทรงตัวให้มั่นคง รักษาสมดุลไม่ให้ล้มลงเด็ดขาด
- ยกแขนสองข้างตั้งการ์ดบริเวณทรวงอกและใบหน้าให้มีระยะห่าง 2 – 3 เซนติเมตร เพื่อกันพื้นที่ให้สามารถหายใจได้เมื่อถูกเบียดแรงขึ้น
- ควบคุมการหายใจ สูดลมหายใจเข้าออก
- เคลื่อนตัวไปโดยเดินไปพร้อม ๆ กัน ไม่เร่ง ไม่ฝืน ไม่ผลัก เพราะอาจเสียหลักล้มลงจนถูกเหยียบได้
- ออกห่างจากสิ่งกีดขวางที่ปีนไม่ได้ เช่น รั้ว กำแพง วัตถุแข็ง ฯลฯ เพื่อไม่ให้ร่างกายถูกอัด
- ระวังไม่ให้เสียหลักล้มขณะเดิน เช่น ระวังพื้นที่ลื่น ลาดเอียง เศษวัสดุบนพื้น และสิ่งกีดขวางที่สะดุดล้ม
- ถ้าล้มลงให้รีบลุกขึ้นโดยเร็วหรือร้องขอความช่วยเหลือทันที
- โทร. 1669 หรือ 1724 หรือตะโกนให้คนที่อยู่ใกล้เคียงโทรขอความช่วยเหลือ
- นำผู้หมดสติไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย จัดท่าให้นอนหงายบนพื้นราบ
- ตรวจการตอบสนองด้วยการเรียกและกระตุ้นโดยการตบไหล่ พร้อมสังเกตการหายใจของทรวงอกและท้อง
- หากไม่ตอบสนองและไม่หายใจภายในสิบวินาทีอาจหัวใจหยุดเต้น
- จับอ้าปากและกดหน้าผากพร้อมกับยกคางให้หน้าแหงนขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจ
- ถ้าผู้ป่วยยังไม่หายใจให้เป่าปาก 2 ครั้ง หรือถ้าไม่สามารถเป่าปากช่วยหายใจได้ให้เริ่มCPRทันที
- กดหน้าอกโดยผู้ช่วยเหลือวางมือข้างหนึ่งที่กึ่งกลางหน้าอกผู้ป่วยแล้ววางมืออีกข้างซ้อนกัน กดให้ลึกลงไปอย่างน้อย 2 นิ้วฟุต อัตราการกดหน้าอก 100 – 120 ครั้ง/นาที เช่น กดตามจังหวะเพลง Baby Shark
- กดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการการเป่าปาก 2 ครั้ง ทำต่อเนื่องจนกว่าจะรู้สึกตัวหรือมีหน่วยแพทย์มาช่วยเหลือ
ผู้นำเกาหลีใต้ร่วมวางดอกไม้ไว้อาลัยเหยื่อโศกนาฏกรรม "อิแทวอน"
สาวไทยใน "อิแทวอน" เล่าวินาทีเกิดเหตุ เห็นคนล้มต่อหน้าเป็นโดมิโน่
การเตรียมพร้อมเมื่อต้องเข้าไปในเหตุการณ์ที่มีผู้คนจำนวนมาก
- หลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในบริเวณที่มีคนเบียดเสียดกันแน่นมาก
- ถ้าประเมินว่ามีคนแออัดมากเกินไปให้รีบออกจากพื้นที่
- แต่งกายรัดกุม เลี่ยงชุดยาว ผูกเชือกรองเท้าให้ดี ที่อาจสะดุดล้ม หรือถูกเหยียบ
- วางแผนการเดินทางให้ไม่เร่งรีบในการเข้า - ออกจากพื้นที่ เพื่อเลี่ยงการเบียดเสียดระหว่างทาง
การเที่ยวสังสรรค์ไม่ใช่เรื่องผิดในช่วงเทศกาล ทุกคนยังสามารถไปเที่ยวได้ตามที่อยากทำแต่ควรคำนึกถึงความปลอดภัยและรู้หลักวิธีการเอาตัวรอดและช่วยเหลือคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ