“ต้นตีนเป็ด” พรรณไม้มากประโยชน์ แต่มักถูกมองข้ามเพราะเรื่องเข้าใจผิด
ต้นตีนเป็ดมีกลิ่นอบอวลไปไกล ทำให้เกิดข่าวลืออยู่บ่อยครั้งว่าเป็นต้นไม้มีพิษ แต่แท้จริงแล้วมีประโยชน์ทางสุขภาพหลายด้าน ซึ่งมักถูกมองข้ามไปเพราะเรื่องเข้าใจผิด
จากกรณีที่มีแพทย์แผนไทยรายหนึ่งออกมาเตือนภัยของ “ต้นตีนเป็ด” ที่มีดอกส่งกลิ่นแรง เป็นกลิ่นของ “ไซยาไนด์” ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจและการหมุนเวียนของเลือด จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสูมดมนานๆ เพราะอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว หน้ามืด บริเวณท้ายทอยจะมีอาการตึง เป็นอันตรายต่อชีวิต ระบบหัวใจอาจล้มเหลวได้นั้น
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวทิยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
การรับมือกับความผิดหวังเพราะเรื่องบางเรื่องอยู่เหนือความควบคุม
ถูก "เห็บกัด" เสี่ยงอัมพาตหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้?
ระบุใจความสำคัญว่า กลิ่นของต้นตีนเป็ดแท้จริงแล้ว ไม่ได้มีสารพิษไซยาไนด์ แค่กลิ่นแรงเท่านั้น ไม่ได้เป็นต้นไม้พิษแต่อย่างใด ซึ่งบางคนก็ว่าเหม็น บางคนก็ว่าหอม
เรื่องนี้เคยโพสต์เตือนกันทุกปี ในช่วงฤดูที่ต้นตีนเป็ดออกดอก และส่งกลิ่นแรง ว่าเป็นข่าวปลอมข่าวมั่วที่แชร์กันมานานแล้ว แต่วันนี้มีรายงานข่าวในสื่อ อ้างถึงแพทย์แผนไทยท่านนึง ที่บอกว่า ดอกที่ส่งกลิ่นแรงๆ เป็นกลิ่นของไซยาไนด์ มีผลต่อระบบหัวใจโดยตรง และการหมุนเวียนของเลือดด้วย หากสูบดมนานๆ เกิดอาการเวียนหัว หน้ามืด บริเวณท้ายทอยจะมีอาการตึง อาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ระบบหัวใจอาจล้มเหลวได้ ขอแย้งอีกครั้ง ว่าเป็นแค่ข่าวปลอม ที่แชร์กันผิดๆ
พร้อมกับรีโพสต์ให้ข้อมูล ว่า “ต้นพญาสัตบรรณ ไม่ได้ปล่อยสารพิษไซยาไนด์ แต่แค่กลิ่นเหม็น (หอม ?)” โดย “ต้นพญาสัตบรรณ” หรือ “ต้นตีนเป็ด” มักถูกอ้างหาว่าเป็นต้นไม้พิษที่กลางคืนจะปล่อยพิษ “พวกไซยาไนด์” ออกมา โดยเฉพาะในช่วงฤดูออกดอก ขอยืนยันว่าไม่จริง และมันเป็นแค่ต้นไม้ที่ดอกส่งกลิ่นแรง ซึ่งบางคนก็ว่าเหม็น บางคนก็ว่าหอม ที่สำคัญขออย่าสับสนกับ “ต้นตีนเป็ดน้ำ” ที่ยางมีพิษด้วย
รู้จัก “ต้นตีนเป็ด”
“ต้นพญาสัตบรรณ” หรือที่เรามักคุ้นหูกันว่า “ต้นตีนเป็ด” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alstonia scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE) มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย
โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล เมื่อกรีดจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
ส่วนใบพญาสัตบรรณจะออกเป็นกลุ่มที่บริเวณปลายกิ่ง โดยหนึ่งช่อจะมีใบประมาณ 5-7 ใบ โดยใบจะมีสีเขียวเข้ม ยาวรี ปลายใบมนโคนแหลม มีขนาดของใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้น เมื่อเด็ดออกจะมีน้ำยาวสีขาว
สำหรับดอกพญาสัตบรรณ จะอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ออกดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือเขียว ที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้น หนึ่งช่อจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม เป็นที่มาให้มีชื่อว่า “สัตบรรณ” เพราะ “สัต” หรือ “สัตตะ” แปลว่า 7 นั่นเอง
ผลพญาสัตบรรณ จะออกเป็นฝัก โดยมีลักษณะฝักยาว เป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยวก็ได้ ลักษณะเป็นเส้น ๆ กลมเรียว มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีขุยสีขาวสามารถปลิวไปตามลมได้ ส่วนในฝักจะมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมากลักษณะเป็นรูปขนานแบน ๆ ติดอยู่กับขุย
บัตรทองกว่า 2 แสนสิทธิ ผลกระทบ 9 รพ.เอกชนใน กทม. ยังไม่มาแจ้งเปลี่ยนสถานพยาบาล
แพทย์แผนไทย เตือน สูดดมกลิ่นต้นตีนเป็ดมากๆ เสี่ยงระบบหัวใจล้มเหลว
ประโยชน์ทางสุขภาพของต้นตีนเป็ด
เปลือกต้น
- ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
- ใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ
- นำเปลือกต้นต้มน้ำดื่ม ช่วยรักษาโรคมาลาเรีย
- รักษาโรคบิด ท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรัง โรคลำไส้และลำไส้ติดเชื้อ
- ช่วยขับพยาธิไส้เดือน
- ใช้เป็นยาสมานลำไส้ได้
- ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
- ช่วยขับระดูของสตรี
- ช่วยขับน้ำนม
- ใช้ต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาผดผื่นคัน
น้ำยาง
- ใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้
- ใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้
- ช่วยบำรุงกระเพาะ
- ในประเทศอินเดียมีการใช้ยางสีขาวนำมารักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ
- ใช้รักษาแผลที่เป็นตุ่มหนอง ช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว
ใบ
- ใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิดได้ (ใบอ่อน)
- ช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังได้
- ใบใช้พอกเพื่อดับพิษต่างๆ
- ในประเทศอินเดียมีการใช้ใบนำมารักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ
ดอก
- ช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน
- ช่วยแก้โลหิตพิการ
กระพี้
- ช่วยขับผายลม
ต้นไม้มงคล เชื่อว่าใครปลูกจะได้รับความเคารพยกย่อง
ด้วยลักษณะของต้นสัตบรรณ ที่มีทรงพุ่มดูคล้ายฉัตร หรือฉัตรบรรณ เครื่องชั้นสูงที่ใช้ในขบวนแห่ ประกอบกับชื่อที่ขึ้นต้นว่า “สัต” นอกจากแปลว่า 7 แล้ว ยังหมายถึงคุณธรรมและสิ่งดีงาม เชื่อกันว่าถ้านำมาปลูกไว้ในบ้านจะได้รับความเคารพยกย่องจากคนอื่นๆ เป็นที่มาให้เราเห็นต้นไม้พันธุ์นี้ได้ในสถานที่สำคัญต่างๆ และรั้วเพื่อนบ้านของเรามากมาย
ต้นตีนเป็ดไหนมีพิษ?
เมื่อพูดถึงต้นตีนเป็ด หลายคนอาจนึกถึงต้นไม้หลายรูปแบบ เพราะชื่อ “ต้นตีนเป็ด” นี้ เป็นคำขึ้นต้นของพรรณไม้หลากหลายต้น ที่มีความโดดเด่นแตกต่างกันออกไป แม้ว่าบางชนิดจะอยาคนละสกุล คนละวงศ์กันก็ตาม
- ต้นตีนเป็ดน้ำ หรือ ต้นตีนเป็ดทะเล (Cerbera odollam)
พรรณไม้ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม ออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ มีดอกสีขาวแต้มด้วยสีเหลืองตรงกลาง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ และมีกลิ่นหอม ผลจะมีลักษณะกลมสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีแดง แต่ต้องเตือนก่อนนำไปใช้ว่าน้ำยางของต้นนี้มีสีขาวที่เป็นพิษทุกส่วนของต้น
- ต้นตีนเป็ดทราย (Cerbera Manghas)
ต้นตีนเป็ดทรายจะมีลักษณะคล้ายกับต้นตีนเป็นน้ำ ตรงที่ใบมีเดี่ยวสีเขียวเข้ม ออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ มีดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ และมีกลิ่นหอม ส่วนที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือ ส่วนดอกของตีนเป็ดทรายจะมีแต้มสีแดงชมพูตรงกลาง ผลจะมีลักษณะกลมสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีแดง และมีน้ำยางสีขาวที่เป็นพิษทุกส่วนของต้น ส่วนใหญ่ผู้คนมักนำผลแห้งไปขัดล้างทำความสะอาด และนำไปปลูกต้นไม้ด้วย
- ตีนเป็ดแดง (Dyera costulata)
พรรณไม้ใบเดี่ยวสีเขียว แต่มีขอบใบ เส้นใบ และก้านใบจะมีสีม่วงแดง โคนใบแหลม ยอดอ่อนสีม่วงแดง ดอกจะออกเป็นช่อแบบซี่ร่มที่ปลายกิ่ง มีสีขาว 5 กลีบ เรียงตัวเป็นรูปกงล้อ บริเวณด้านนอกกลีบและกึ่งกลางดอกเป็นสีขาวถึงม่วงแดง กลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลออกเป็นฝักคู่โค้งกางออก เมล็ดรีมีปีกบางๆ นิยมปลูกประดับสวน
- ตีนเป็ดฝรั่ง (Crescentia alata)
พรรณไม้ที่มีใบ 3 ใบย่อย มักออกตามกิ่งหรือลำต้น ปลายมน โคนเรียวแหลม ขอบเรียบ ก้านใบมีปีกทั้งสองข้าง ดอกเดี่ยวรูปแตรป่องตรงกลางออกตามลำต้นและกิ่งแก่ สีเขียวอมม่วงและน้ำตาลแดง ดอกบานตอนกลางคืน กลิ่นเหม็นหืน ผลรูปรี สีเขียว ออกตามกิ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์, เมดไทย และ อุทยานหลวงราชพฤกษ์