จิตแพทย์ แนะ ปชช.เปิดใจความเห็นต่าง หวั่นใช้วาทกรรมสร้างความเกลียดชัง
ท่ามกลางกระแสการเมืองที่ร้อนแรงย่อมมีความเห็นต่าง ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต แนะเปิดกว้างรับฟังความเห็นต่างใช้เหตุผลในการรับข้อมูลมากกว่าการใช้อารมณ์ที่อาจเกิดการกระทบกระทั่งกันได้
นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นสังคมมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ในช่วงหลังการเลือกตั้ง จนทำให้เกิดการบูลลี่ (Bully) ว่า ความตื่นตัวทางการเมืองเป็นเรื่องดี แสดงให้เห็นความเป็นห่วงบ้านเมืองของพลเมือง ก็จะทำให้ประเทศมีโอกาสเดินไปข้างหน้าโดยที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่ต้องพึงระวัง 2 ประเด็น
- อย่าเครียดจนเสียสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้าง โดยเฉพาะการแสดงความเห็นผ่านสื่อออนไลน์
- ต้องไม่สร้างความเกลียดชัง ไม่สร้างข่าวลวง (Fake News)
เผยผลสำรวจความเครียดสูงช่วงกระแสเลือกตั้ง วอนแตกต่างแต่ไม่แตกแยก
การวินิจฉัย “จิตเวช”ต้องรอบครอบ-หวั่น ปชช.รับข่าวรุนแรงเกิดการเลียนแบบ
อย่างไรก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การปรับเปลี่ยนมุมมอง (Mindset) ต้องมองว่า ความคิดต่างเป็นต้นทุนของสังคม ถ้ามีใจเปิดกว้างก็จะมีการใช้เหตุผลในการรับข้อมูลมากกว่าการใช้อารมณ์ที่อาจเกิดการกระทบกระทั่งกันได้ เช่น การใช้วาทกรรมสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) ที่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในอนาคตได้ การเผยแพร่ข่าวลวง ที่จะมีการส่งต่อไปเรื่อยๆ จาก 1 คน ก็นำไปสู่คนหลายๆ กลุ่ม
เราต้องเปิดใจกว้าง รับเหตุผลโดยไม่ใช้อารมณ์ ทางสุขภาพจิตจะมีคำแนะนำหลักคือ 1 เตือน 2 ไม่ ได้แก่ (เตือน) คนที่ส่งข้อความด้านลบที่ขาดสติ ขาดความยับยั้งชั่งใจด้วยการเตือนอย่างสุภาพ ซึ่งมีผลศึกษาแล้วว่าได้ผลดีและไม่สร้างความรุนแรง และ (ไม่) ผลิตข้อความข่าวลวง หรือเฮตสปีช (ไม่) ส่งต่อข้อความ
สัญญาณ “เครียดสะสม”นอนไม่หลับ-คิดวนเวียนละเลยเสี่ยงซึมเศร้า-วิตกกังวล