สัญญาณ “เครียดสะสม”นอนไม่หลับ-คิดวนเวียนละเลยเสี่ยงซึมเศร้า-วิตกกังวล
ความเครียดไม่ใช่โรค ไม่เลือกคน เป็นได้ทุกเพศทุกวัย รู้หรือไม่ แค่จุดเล็กๆ ที่ปล่อยไว้ให้สะสมเรื้อรังอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจเสี่ยงซึมเศร้า เพิ่มอัตราฆ่าตัวตาย เช็ก 8 สัญญาณเครียดสะสม
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบันคนส่วนมากดำเนินชีวิตภายใต้ความกดดัน และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และอายุ ทำให้เกิดอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว ถึงแม้ภายนอกจะยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ข้างในมีเรื่องให้คิดอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ตอนนอนหลับก็ยังฝันถึงเหตุการณ์ที่ยังคาใจ ซึ่งจุดเริ่มต้นนี้แหละค่ะที่นำไปสู่ ปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ทั้ง โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และสภาวะทางจิตอื่นๆ ที่อาจรุนแรงมากขึ้นตามลำดับเช็กสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเกิดอาการเครียดสะสมหรือไม่
นอนไม่หลับแบบไหนควรพบจิตแพทย์ คลายความกังวลใจลดความเครียดเรื้อรัง
“ปวดหัว”ตรงไหนบอกอาการ“เครียด-ไมเกรน-ไซนัส”ประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง
สัญญาณเครียดเรื้อรัง
- นอนไม่หลับ นอนไม่อิ่มหลับไม่สนิท ตื่นเร็วเกินไป หรือ ตื่นกลางดึก และหลับต่อได้ยาก
- อารมณ์เปลี่ยนไป เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูด เบื่อหน่ายชีวิต รู้สึกกังวล หรือหงุดหงิดง่าย รวมไปถึงอารมณ์ทางเพศลดลง
- เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก หายใจถี่ ๆ หัวใจเต็นเร็ว
- เหงื่อออกมากผิดปกติ ปวดหัว ปวดเมื่อยร่างกาย ระบบการย่อยอาหารและการขับถ่ายแปรปรวนโดยที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้
- แยกตัวออกจากสังคม ไม่อยากพบปะผู้อื่น หรือเกิดความอึดอัดเป็นอย่างมาก เมื่อต้องพบปะผู้อื่นมากเกินกว่าที่เคยเป็น
- ความสามารถในการตัดสินใจ การทำงานลดลง ไม่มีสมาธิ ทำงานช้า
- มีความคิดวนเวียนว่าอยากจบชีวิตตนเอง จนกลัวว่าอาจไม่สามารถควบคุมได้
- สำหรับในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อยู่แล้ว อาจพบว่าตนเองดื่มและสูบมากขึ้น
เช็ก 9 สัญญาณ “โรคซึมเศร้า” อาการแบบไหนควรพบแพทย์?
วิธีคลายความเครียดที่สะสม จริงอยู่ที่หลายคนอาจไม่รู้ตัว ฉะนั้นควรแบ่งเวลาทำกิจกรรมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ
- หากิจกรรมที่ทำให้ตนเองผ่อนคลาย เช่น การดูหนัง ฟังเพลง วาดภาพ ออกกำลังกาย หรือการสูดกลิ่นน้ำมันหอมระเหยก็สามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายได้
- สังสรรค์กับเพื่อนบ้าง คลายเครียดหาสังคมใหม่ๆ ไม่เก็บตัว
- ปรับความคิด พยายามมองโลกในแง่บวก ไม่จมอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากจนเกินไป วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น ๆ
- ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม อาทิ เปลี่ยนการตกแต่งที่อยู่อาศัย เช่น จัดบ้าน จัดโต๊ะทำงาน รวมถึงการออกไปผ่อนคลายตามสถานที่ต่าง ๆ
- จัดสรรเวลาการใช้ชีวิตในแต่ละวันให้สมดุล (work life balance) โดยจัดสรรเวลาสำหรับการทำงาน และใช้ชีวิตส่วนตัวเพื่อสิ่งที่เป็นคุณค่าของตนเองอย่างเหมาะสม จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
วิธีการรักษาภาวะเครียดสะสม เครียดไม่รู้ตัว
- การรักษาด้วยยา เช่น การใช้ยาที่ลดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า ยาที่ช่วยให้นอนหลับพักผ่อนได้ รวมไปถึงยารักษาตามอาการที่คนไข้กำลังเผชิญ เช่น ยารักษาความแปรปรวนในทางเดินอาหาร ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- การรักษาแบบไม่ใช้ยา: เช่น การพูดคุย ปรึกษา หรือทำจิตบำบัด
หากวิธีเบื้องต้นเหล่านี้ไม่สามารถช่วยให้คุณจัดการกับความเครียดได้ รวมถึงความเครียดเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ กระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำงานและคนรอบข้าง การปรึกษาจิตแพทย์เพื่อร่วมกันหาทางจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นให้เหมาะสมกับตนเอง อาจเป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมและไม่ใช่เรื่องผิดเลยค่ะ ขอให้คุณรู้ว่าไม่ได้อยู่คนเดียวเพราะคนเราเข้มแข็งไม่ได้ตลอดอ่อนแอบ้างก็ได้นะคะ ^^
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ โรงพยาบาลสมิติเวช
“Dead Inside” ภาวะใจพังตายจากข้างใน ปล่อยเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า
วัดระดับความเครียด รับมือก่อนลุกลามอันตรายทั้งตัวเองและผู้อื่น