สิทธิบัตรทอง 7 กลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี! เช็กเงื่อนไขได้ที่นี้!
สปสช. ย้ำ 7 กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษาอย่าลืมดูแลสุขภาพ รีบฉีด “วัคซีนไข้หวัดใหญ่” ป้องกันความเสี่ยงเจ็บป่วยรุนแรง ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เผยยอดล่าสุดมีผู้ฉีดวัคซีนฯ แล้วกว่า 2 ล้านคน ย้ำใครมาก่อนมีสิทธิก่อน ถึง 31 ส.ค. นี้ หรือจนกว่าวัคซีนฯ หมด
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ประจำปี 2566 สิทธิประโยชน์บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. ได้ร่วมดำเนินการเพื่อดูแลประชาชนไทยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรุนแรงหากได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ให้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน
ฤดูฝนมาไว ! ชวน 7 กลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี เริ่ม 1 พ.ค. นี้
ปชช.กทม. ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี! ลงทะเบียนผ่าน แอปฯ เป๋าตัง
ทั้งนี้ จากที่เริ่มบริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม จนถึง 19 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา มีประชาชนไทยกลุ่มเสี่ยง เข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว จำนวน 2,008,642 คน คิดเป็นร้อยละ 69.03 ของเป้าหมายบริการ
5 อันดับแรกของหน่วยบริการที่ให้บริการฉีดวัคซีนฯ มากที่สุด คือ
- รพ.สุรินทร์ 15,111 คน หรือร้อยละ 83 ของเป้าหมาย
- รพ.สมุทรปราการ 14,900 คน ร้อยละ 66 ของเป้าหมาย
- รพ.อุดรธานี 13,792 คน ร้อยละ 59 ของกลุ่มเป้าหมาย
- รพ.สมุทรสาคร 12,484 คน ร้อยละ 67 ของเป้าหมาย
- รพ.สงขลา 9,395 คน ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย
ส่วน 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้ให้บริการฉีดวัคซีนฯ มากที่สุด
- กรุงเทพมหานคร 148,461 คน หรือร้อยละ 48 ของเป้าหมาย
- นครราชสีมา 82,210 คน ร้อยละ 44 ของเป้าหมาย
- สงขลา 61,678 คน ร้อยละ 68 ของเป้าหมาย
- เชียงใหม่ 57,199 คน ร้อยละ 56 ของเป้าหมาย
- ะอุบลราชธานี 55,284 คน ร้อยละ 52 ของกลุ่มเป้าหมาย
วันนี้ สปสช. ขอเชิญชวนคนไทย 7 กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษาพยาบาล ให้รีบเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่โดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้ได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝนแล้วทีเป็นช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และจากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีรายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 8 กรกฎาคม 2566 มีผู้ป่วยแล้วจำนวน 67,460 ราย อัตราป่วยอยู่ที่ 101.95 ต่อประชากรแสนคน ดังนั้นจึงอยากให้ร่วมกันดูแลสุขภาพ โดยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันไว้ก่อน ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 หรือจนกว่าวัคซีนจะหมดลง ขอย้ำว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีจำนวนจำกัด ใครเข้ารับบริการก่อนมีสิทธิก่อน
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม ที่ได้รับสิทธิในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
- หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
- ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน
- บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
- โรคอ้วน (น้ำหนัก > 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
- ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ทั้งนี้กรณีหญิงตั้งครรภ์นั้นมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้บริการตลอดทั้งปี
4 วิธีการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล “บัตรทอง” ด้วยตนเอง
ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงสามารถติดต่อขอรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ที่ หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลในระบบบัตรทอง ได้ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐ รพ.สต. ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ หรือสถานพยาบาลตามสิทธิที่ท่านไปรักษาเป็นประจำ โดยดูรายชื่อหน่วยบริการที่เข้าร่วมได้ที่แอปพลิเคชันเป๋าตัง เมนูกระเป๋าสุขภาพ เลือกสิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค
นอกจากนี้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับบริการวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีแอปเป๋าตังจะได้รับการแจ้งเตือนว่า ท่านมีสิทธิได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไปใช้บริการ โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สปสช. ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย เปิดให้ประชาชนผู้ใช้สิทธิบัตรทอง จองสิทธิการฉีดวัคซีนฯ ล่วงหน้าผ่าน “กระเป๋าสุขภาพ” บนแอปพลิเคชัน เป๋าตัง ได้ ขณะที่ผู้ที่อยู่ใน กทม. แต่ไม่สะดวกจองผ่านแอปเป๋าตัง ให้ โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 8 เพื่อจองคิวฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน
ส่วนผู้ที่อยู่ในต่างจังหวัดนอกพื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่สามารถจองผ่านแอปเป๋าตังได้ในขณะนี้ แต่ท่านสามารถโทรนัดรับบริการล่วงหน้าก่อน เพื่อลดความแออัดในการเข้ารับบริการวัคซีนได้เช่นกัน ทั้งนี้การจองนัดหมายเข้ารับบริการขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละหน่วยบริการ กรุณาติดต่อสอบถามการเข้ารับบริการกับหน่วยบริการได้โดยตรง
เปิดเกณฑ์เยียวยา “สิทธิบัตรทอง”กรณีได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล รับสูงสุด 4 แสน
รวมสิทธิประโยชน์ บัตรทอง 30 บาท ด้านทันตกรรม เช็กก่อนไม่พลาดสิทธิ