ผู้ป่วยสมองเสื่อมเพิ่มรับสังคมสูงวัย คาดปี 2593 ไทยป่วยสูง 2.4 ล้านคน
ในงานประชุมวิชาการ BDMS Academic Annual Meeting 2023 ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด A Road to Lifelong Well-Being หรือเส้นทางสู่การมีสุขภาพดีอย่างยืนยาว ซึ่งมีบุคลากรทางการแพทย์มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายเรื่องด้วยกัน รวมไปถึงโรคที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสังคมสูงวัย อย่างโรคสมองเสื่อม โรคหัวใจและโรคกระดูกสันหลัง
ภายในงานประชุมวิชาการ BDMS Academic Annual Meeting 2023 ศ.นพ.ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผยว่า ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามสังคมสูงวัยที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นช่วงวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยในแต่ละปีจะมีคนอายุ 60% ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม 1% และเมื่ออายุมากขึ้น สัดส่วนผู้ป่วยสมองเสื่อมจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งอายุถึง 80 ปี จะมีผู้ป่วยสมองเสื่อมกว่า 20%
BDMS เปิดงานประชุมวิชาการ 2566 แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและความรู้ด้านสุขภาพระดับนานาชาติ
BDMS เห็นความสำคัญสังคมผู้สูงอายุหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ โครงการอนามัยโลก ประมาณการว่าในปี 2593 หรือ 28 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 2,400,000 คน เลยทีเดียวดังนั้นเราควรป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อย คือดูแลสุขภาพ ป้องกันไม่ให้เป็นโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน และความดันโลหิตสูง เพราะโรคเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมด้วย
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า การมีปัญหาทางการได้ยิน ฝุ่นมลพิษ PM2.5 การสูบบุหรี่ ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย การนอนน้อยเกินไปหรือมากเกินไป ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคสมองเสื่อมเช่นกัน
ขณะเดียวกัน การเข้าสู่สังคมสูงวัยยังทำให้มีผู้ป่วยกระดูกสันหลังมากขึ้นด้วย โดยน.อ. นพ. ทายาท บูรณกาล ศัลยแพทย์โรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า แนวโน้มผู้ป่วยกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก ผู้สูงอายุมักมีปัญหากระดูกพรุน กระดูกยุบ หักง่าย รวมถึงในกลุ่มคนที่ยังอายุไม่มากมีความนิยมทำกิจกรรมแอดเวนเจอร์ ผาดโผนมากขึ้น ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดอันตรายต่อกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกปลิ้น กระดูกแตกเป็น 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ป่วยกระดูกสันหลังมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยมีความก้าวหน้าไปมาก ในเครือโรงพยาบาล BDMS เองก็มีการใช้เทคโนโลยี ใช้วัสดุที่ช่วยให้การผ่าตัดประสบผลสำเร็จมากขึ้น แผลเล็กลง พักฟื้นน้อยลง เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้นด้วย
เทคโนโลยีดังกล่าวมีชื่อว่า มีชื่อเรียกว่ามิสแคปเป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดวิธีใหม่ ที่ช่วยทำให้สามารถผ่าตัดแผลเล็ก ในผู้ป่วยที่สูงอายุ และมีกระดูกพรุน กระดูกบาง เพื่อลดการถอนของสกรูออกมา และเพื่อให้เกิดการผ่าตัดแผลเล็ก ผู้ป่วยไม่ต้องนอน ICU นาน กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น อันนี้เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาโดยเครือ BDMS เอง
น.อ. นพ. ทายาท ยังบอกว่า เครือ BDMS ถือเป็นเครือข่ายของการรักษาด้านกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีโรงพยาบาลในเครือข่ายที่สามารถผ่าตัดกระดูกสันหลังได้มากกว่า 50 แห่ง มีการใช้ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ BDMS ยังเดินหน้าพัฒนาการรักษาผู้ป่วยโรคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ life long well-being หรือเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยืนยาว ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาศูนย์รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือ PCI center
แพทย์เตือน มะเร็งภัยร้ายใกล้ตัว แนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ ดำรัส ตรีสุโกศล อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพกล่าวว่า ปัจจุบันมี BDMS PCI center ทั้งหมด 23 แห่งภายใต้แผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการรักษาที่มีคุณภาพ ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีที่ดีที่สุด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
นพ.ดำรัส ระบุว่า เราจะพิจารณาตั้งแต่ต้นน้ำ ต้นน้ำต้องถูกต้อง เหมาะสมที่จะต้องทำ กลางน้ำคือทักษะของหมอที่มาทำ เทคนิค เครื่องไม้เครื่องมือ และสุดท้ายปลายน้ำคือการดูแล การส่งต่อ การส่งมอบคนไข้ไปให้กับแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรามีอีกหลายแผนกที่มาร่วมดูคนไข้ หลังจากที่คนไข้ออกจากห้องศูนย์หัวใจ และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดคือการส่งคนไข้ มอบให้กับครอบครัวของเขา
สำหรับงานประชุม BDMS Academic Annual Meeting ปีนี้จะมีบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ความรู้อีกมากมาย ต่อเนื่องไปจนถึงวันศุกร์นี้ (3 พฤศจิกายน)
อัลไซเมอร์คืออะไร? ทำไมถึงถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามในสังคมผู้สูงอายุ
8 วิธีลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ แก่ไปความจำยังดี สุขภาพแข็งแรง!