เตือน!คนไทยเป็นโรคอ้วนอันดับต้นอาเซียน เสียชีวิตด้วยโรคNCDs 44 คนต่อชั่วโมง
แพทย์เตือนคนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนอันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน แนะออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ชี้คนไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน เฉลี่ย 44 คนใน 1 ชั่วโมง พบประชากรในกรุงเทพมหานครและภาคกลาง มีภาวะน้ำหนักเกินมากที่สุด
นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก กล่าวในงานประชุมวิชาการ BDMS Academic Annual Meeting 2023 ว่า ตัวเลขผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs (เอ็นซีดี) หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมัน โรคอ้วน โรคหัวใจขาดเลือด มะเร็ง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 74% โดยในปีที่แล้ว มีผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ทั่วโลกเสียชีวิตรวมทั้งสิ้นถึง 45 ล้านคน
BDMS เปิดงานประชุมวิชาการ 2566 แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและความรู้ด้านสุขภาพระดับนานาชาติ
BDMS เห็นความสำคัญสังคมผู้สูงอายุหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ขณะที่ในประเทศไทยก็น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกัน โดยมีคนไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ประมาณ 380,400 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 44 คนใน 1 ชั่วโมง และในปีที่แล้วผู้ป่วย NCDs ในประเทศไทยเสียชีวิตสูงถึง 77% โดยหนึ่งในโรคที่น่ากลัวคือ โรคอ้วน เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยอันดับต้น ๆ ของกลุ่มโรค NCDs ขณะที่คนไทยเป็นโรคอ้วนมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยประชากรในกรุงเทพมหานครและภาคกลาง มีภาวะน้ำหนักเกินมากที่สุด
ขณะที่แพทย์หญิง กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี ผู้อำนวยการ ศูนย์พรีเมียร์ไลฟ์เซ็นเตอร์ รพ.พญาไท 2 เตือนว่า การเลือกทานอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรลดหรือเลี่ยงน้ำตาลเพราะเปรียบเสมือนยาพิษ เนื่องจากน้ำตาลที่มากเกินไปจะไปเกาะโปรตีนในร่างกาย และส่งผลเสียตามมาอีกมาก
แพทย์เตือน มะเร็งภัยร้ายใกล้ตัว แนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี
BDMS มองไทยมีศักยภาพรุกตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพรับเทรนด์คนยุคใหม่
แพทย์หญิงกอบกุลยา ยังบอกว่า โครโมโซมของเรามีส่วนที่เรียกว่า เทโลเมียร์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เส้นความยาวชีวิต เนื่องจากหากเทโลเมียร์ถูกทำลายจะมีผลต่อโครโมโซม ทำให้ร่างกายเสื่อมถอย / และมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เส้นความยาวชีวิตของเราสั้นลงมากที่สุด คือ ภาวะน้ำหนักเกิน การสูบบุหรี่ และความเครียด
แพทย์หญิงกอบกุลยา แนะนำเคล็ดลับดูแลสุขภาพ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลาย ลดความเครียด ออกกำลังกาย ลดการทานน้ำตาล ทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงผัก ผลไม้
ทั้งนี้ แพทย์หญิงกอบกุลยา ชี้ว่า การสร้างสมดุลสุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่ลำไส้ เพราะลำไส้ไม่ได้ควบคุมการย่อยอาหารเท่านั้น แต่จุลินทรีย์ในลำไส้ยังสามารถสร้างวิตามินให้กับร่างกายของเราได้ เช่น วิตามินบี12 วิตามินเค และกรดโฟลิก / ภูมิคุ้มกัน 70% ในร่างกายของเราก็สร้างมาจากลำไส้ / นอกจากนี้ ลำไส้ยังสร้างฮอร์โมนความหิวอิ่ม ทำหน้าที่ส่งสารไปควบคุมสมองให้เกิดความหิวหรือความอิ่มด้วย ดังนั้นคำว่างามไส้จึงเป็นสิ่งดีตามหลักวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยสมองเสื่อมเพิ่มรับสังคมสูงวัย คาดปี 2593 ไทยป่วยสูง 2.4 ล้านคนแพทย์เตือนกระดูกพรุนฆาตรกรเงียบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นหญิงสูงอายุ