จีเสสรายงานพบ“โอมิครอน BA.2.X” ในแอฟริกาใต้กลายพันธุ์กว่า 100 ตำแหน่ง
ศูนย์จีโนมเผย พบโอมิครอนกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ “BA.2.X” ในแอฟริกาใต้มีการกลายพันธุ์ทั้งจีโนมต่างจากบรรพบุรุษโอมิครอนดั้งเดิม BA.2 กว่า 100 ตำแหน่ง และคาดว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ไปมากที่สุด (divergence lineage) ในปี 2567 และเป็นไปได้ว่าจะมีการระบาดเข้ามาแข่งกับโอมิครอน JN.1 ยังไม่มีข้อมูลความรุนแรง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ก็ได้ โพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID) ได้เผยแพร่รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของโอมิครอนกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน BA.2.X” (ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) จากผู้ติดเชื้อโควิดที่ประเทศแอฟริกาใต้จำนวน 8 รายตัวอย่างถูกจัดเก็บจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จากเมืองกัวเต็ง มปูมาลังกา และ ลิมโปโป (Gauteng, Mpumalanga & Limpopo)
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ไทยยอดผู้ติดเชื้อลดลงแต่ปอดอักเสบสูงถึง 231 คน
เทียบอาการลองโควิด 6 สายพันธุ์ พบกระทบสมองและภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ
ประเทศแอฟริกาใต้ระบบคอมพิวเตอร์ของ เน็กซ์เคลด (NextClade) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโอเพนซอร์สสำหรับการวิเคราะห์ลำดับพันธุกรรมของไวรัสกำหนดให้อยู่ในสายตระกูล (clade) 21L ระบบเว็บแอปพลิเคชัน “Pangolin” ที่ใช้ในการกำหนดสายวิวัฒนาการของไวรัส SARS-CoV-2 ได้กำหนดให้ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่นี้อยู่ในกลุ่มสายตระกูล “BA.2” จีโนมส่วนที่สร้างหนามมีลำดับเบสขาดหายไป 2 ช่วงยาว คือ del_15-27 และ del_136-146 ส่วนหนามบริเวนที่เข้ายึดเกาะกับผิวเซลล์ (Receptor-Binding Domain ของไวรัสโควิด-19: RBD) มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโอมิครอนสายพันธุ์อื่นคือ Spike:K417T, Spike:K444N, Spike:V445G และ spike :L452M
รหัสพันธุกรรมของโอมิครอนกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ “BA.2.X” แตกแขนงออกมาจากโอมิครอน(บรรพบุรุษ) ดั้งเดิม BA.2 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับโอมิครอนดั้งเดิม BA.2 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามต่างไปมากกว่า 30 ตำแหน่ง มีบางส่วนของจีโนมขาดหายไป 7 ตำแหน่ง อยู่ในส่วนหนาม 3 ตำแหน่ง
- โอมิครอน BA.2.X กลายพันธุ์ทั้งจีโนมต่างไปจาก โอมิครอน BA.2 มากกว่า 100 ตำแหน่ง
- โอมิครอน BA.2.X กลายพันธุ์บริเวณหนามต่างไปจากโอมิครอน BA.2 มากกว่า 30 ตำแหน่ง
สายวิวัฒนาการของโอมิครอนของ BA.2.X แตกกิ่งวิวัฒนาการโดยตรงมาจาก BA.2 ดั้งเดิมไม่ได้กลายพันธุ์มาจากโอมิครอน BA.2.86 หรือ JN.1ยังไม่มีข้อมูลว่าหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและจับกับผิวเซลล์ได้ดีหรือแย่กว่าโอมิครอน JN.1 ยังไม่ทราบอาการทางคลินิก
โควิดไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน JN.1 แล้ว 40 ราย ยังไม่พบชนิดกลายพันธุ์
หมอยงสรุป 10 ข้อวัคซีนโควิด19 กาลเวลาพิสูจน์วัคซีนสูตรไขว้
เด็กรับวัคซีนขั้นพื้นฐานน้อยลง จากการระบาดโควิด 19 เสี่ยงโรคหัด-ไอกรน